Page 164 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 164
ภายหลังการรัฐประหารในปี พ.ศ.๒๕๕๗ รัฐบาลและ คสช. มีนโยบายส่งเสริมการค้าและการลงทุนของประเทศ
ตามนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยได้มีค�าสั่ง คสช. ที่ ๗๒/๒๕๕๗ แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนา
เศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) เพื่อท�าหน้าที่ในการก�าหนดนโยบายและขับเคลื่อนการจัดตั้งและด�าเนินการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
การก�ากับดูแล ติดตามและประเมินผลการด�าเนินงาน ตลอดจนให้ค�าแนะน�าหรือข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไข้ปัญหาอุปสรรคในการ
ด�าเนินการ นอกจากนี้ ได้มีค�าสั่ง คสช. ที่ ๑๗/๒๕๕๘ เพื่อจัดหาที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ประกอบด้วย
ที่ดินในพื้นที่ต�าบลท่าสายลวด อ�าเภอแม่สอด จังหวัดตาก ต�าบลค�าอาฮวน อ�าเภอเมืองมุกดาหาร และต�าบลป่าไร่ อ�าเภอ
อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ต�าบลไม้รูด อ�าเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ต�าบลสระใคร อ�าเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย
และต�าบลส�านักขาม อ�าเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ทั้งนี้ ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ภาครัฐจะให้สิทธิพิเศษแก่เอกชนผู้ลงทุนในด้านต่าง ๆ เช่น การลดหย่อนภาษีเงินได้
นิติบุคคลเป็นเวลา ๘ ปี ยกเว้นอากรขาเข้าส�าหรับวัตถุดิบและวัสดุจ�าเป็นส�าหรับการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นระยะเวลา ๕ ปี
เป็นต้น นอกจากนี้ คสช. ยังได้ออกค�าสั่ง คสช. ที่ ๓/๒๕๕๙ เรื่อง การยกเว้นการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองและ
กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และค�าสั่ง คสช. ที่ ๔/๒๕๕๙ เรื่อง การยกเว้นการใช้บังคับ
กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมส�าหรับการประกอบกิจกรรมบางประเภท เพื่อเปิดทางให้ผู้ลงทุนด�าเนินการก่อสร้าง
โรงงาน อาคาร โดยไม่ผิดกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองและการควบคุมอาคาร
๔.๑) ผลกระทบจากนโยบาย สถานการณ์สิทธิมนุษยชนกรณีเฉพาะ
ภายใต้นโยบายดังกล่าว มีประชาชนและชุมชนได้รับผลกระทบและไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการด�าเนินการ
จากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องตามนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของรัฐบาลในหลายพื้นที่ในด้านต่าง ๆ ที่ส�าคัญ ได้แก่
การสูญเสียที่ดินส�าหรับอยู่อาศัยและที่ดินท�ากิน การไม่ได้รับความเป็นธรรมจากค่าชดเชย ผลกระทบในด้านสิทธิชุมชน
ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การก�าหนดที่สาธารณะประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน(ป่าชุมชน) ให้เป็นเขต
เศรษฐกิจพิเศษ เป็นต้น อันเป็นสาเหตุให้ราษฎรที่ได้รับผลกระทบออกมาคัดค้านการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษในหลายพื้นที่
ส่งผลกระทบท�าให้การด�าเนินนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นไปด้วยความล่าช้า และนักลงทุนขาดความเชื่อมั่น บทที่
๕
ในการลงทุนในเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
๔.๒) ค�าสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓/๒๕๕๙ เรื่อง การยกเว้นการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการ
ผังเมืองและกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และค�าสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๔/๒๕๕๙ เรื่อง การยกเว้นการใช้บังคับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมส�าหรับการประกอบกิจกรรมบางประเภท
คสช. ได้ออกค�าสั่ง ที่ ๓/๒๕๕๙ ยกเว้นการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองและกฎหมายว่าด้วยการ
ควบคุมอาคารในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ เนื่องจากข้อก�าหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายผังเมืองและข้อก�าหนด
ตามกฎหมายควบคุมอาคารที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่สอดคล้องและเป็นอุปสรรคต่อการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ดังนั้น
เพื่อให้สามารถด�าเนินการจัดตั้งและบริหารจัดการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษได้อย่างเป็นรูปธรรมและรวดเร็วจึงออกค�าสั่งดังกล่าว นอกจากนั้น
ยังได้ออกค�าสั่ง คสช. ที่ ๔/๒๕๕๙ โดยระงับและแก้ไขข้อขัดข้องทางกฎหมายบางประการ ที่เป็นอุปสรรคต่อความพยายามของรัฐ
ในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเรื่องความมั่นคงในการจัดหาพลังงานของประเทศไทย และปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการจัดการปัญหาขยะล้นเมือง
และเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งส่งผลให้การประกอบกิจการบางประเภทไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของ
กฎหมายว่าด้วยผังเมือง ได้แก่
(๑) คลังน�้ามันตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน�้ามันเชื้อเพลิง
(๒) กิจการโรงงานล�าดับที่ ๘๘: โรงงานผลิต ส่ง หรือจ�าหน่ายพลังงานไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและสถานีส่งไฟฟ้า)
(๓) กิจการที่เป็นส่วนหนึ่งของการผลิต ขนส่ง และระบบจ�าหน่ายพลังงานของกิจการตาม (๑) และ (๒) (เช่น
ท่อส่งน�้ามัน สายส่งไฟฟ้า)
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 163 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙