Page 169 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 169
ส่งผลกระทบต่อสิทธิของประชาชน ชุมชนในหลาย ๆ ประการ ซึ่งประชาชนมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การแสดง
ความคิดเห็น และสิทธิในการมีส่วนร่วม รัฐควรที่จะตระหนักถึงสิทธิดังกล่าว และมีความจริงใจในการที่จะให้ชุมชนเข้ามา
มีส่วนร่วม ในการด�าเนินโครงการของรัฐ เพื่อที่จะให้การด�าเนินโครงการของรัฐด�าเนินต่อไปได้โดยไม่มีความขัดแย้งและชุมชน
มีความพึงพอใจแม้ว่าอาจได้รับผลกระทบก็ตาม
๒) เหมืองแร่
ช่วงปี ๒๕๕๙ รัฐได้ด�าเนินการหาข้อยุติที่เกิดขึ้นระหว่างประชาชนกับผู้ประกอบธุรกิจ โดยค�านึงถึงวิถีชีวิต สุขภาพ
ของประชาชนและผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีบทเรียนจากค�าพิพากษากรณีเหมืองแร่ตะกั่ว
ในบริเวณชุมชนชาวบ้านคลิตี้ จังหวัดกาญจนบุรี เหมืองแร่สังกะสี อ�าเภอแม่สอด จังหวัดตาก และเหมืองถ่านหิน จังหวัดล�าปาง
ที่ต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูและชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ได้รับผลกระทบที่ยาวนาน ประกอบกับกฎหมายที่บังคับใช้อยู่
ขาดประสิทธิภาพและไม่สอดคล้องกับสภาวะสังคมในปัจจุบัน มีเนื้อหาเรื่องกลไกหลายอย่างที่ไม่ชัดเจน เช่น กรณีการบริหาร
จัดการแร่ การก�าหนดให้ส�ารวจแหล่งแร่ในพื้นที่เขตอนุรักษ์ พื้นที่เขตอุทยาน พื้นที่เขตป่าสงวนและการใช้ระบบประมูล
เขตแหล่งแร่ การแบ่งประเภทเหมืองแร่ กองทุนฟื้นฟูและประกันความเสี่ยงที่ยังไม่มีการระบุความรับผิดชอบ
โดยผู้สัมปทานอย่างชัดเจน รวมถึงกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขาดการติดตาม
และความเชื่อมโยงในมิติทุกด้าน เป็นต้น รัฐควรพิจารณาเรื่องดังกล่าวอย่างรอบคอบและจริงจัง
๓) การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดินและป่าไม้
สืบเนื่องจากการใช้ค�าสั่ง คสช. ที่ ๖๔/๒๕๕๗ และที่ ๖๖/๒๕๕๗ นั้น กสม. เห็นว่าการด�าเนินนโยบายพัฒนาต่าง ๆ ของรัฐ
ยังไม่ได้ค�านึงหรือใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนและชุมชน นอกจากนี้
การด�าเนินนโยบายพัฒนาที่กล่าวมาทั้งหมดยังขาดความสอดคล้องหรือขัดแย้งกับนโยบายอื่น ๆ รวมถึงแนวทางการพัฒนาซึ่งเป็นวาระ
ของชาติ อาทิ นโยบายการลดความเหลื่อมล�้าของสังคม ซึ่งรัฐบาลได้แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๗ เช่น
การที่รัฐออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้เอกชนลงทุนในพื้นที่ต่าง ๆ หรือการใช้อ�านาจตามค�าสั่ง คสช. ที่ ๖๔/๒๕๕๗ และ ๖๖/๒๕๕๗
อย่างไม่เป็นธรรมหรือเลือกปฏิบัติ เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยท�าให้ปัญหาความความขัดแย้งและความเหลื่อมล�้าในสังคมมากยิ่งขึ้น
๔) การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
โครงการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีผลกระทบต่อสิทธิของประชาชนอย่างน้อย
๒ ประการ คือ ค�าสั่ง คสช. ที่ ๓/๒๕๕๙ เรื่อง การยกเว้นการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองและ
กฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมอาคารในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และค�าสั่ง คสช. ที่ ๔/๒๕๕๙ เรื่อง
การยกเว้นการใช้บังคับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมส�าหรับการประกอบกิจกรรมบางประเภท
มีผลกระทบต่อสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชนตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ
สิทธิทางการเมือง และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๕๗ และมาตรา ๖๗
และสิทธิในการมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ตามปฏิญญาว่าด้วยสิทธิในการพัฒนา ค.ศ. ๑๙๘๖ ทั้งนี้
เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองและกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร เป็นกฎหมายที่มีเนื้อหา
และกระบวนการจัดท�ากฎหมายอยู่ภายใต้หลักการคุ้มครองสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชนและหลักสิทธิในการมีชีวิตอยู่ใน
สภาพแวดล้อมที่ดี เมื่อมีการยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายทั้งสองฉบับในพื้นที่จัดท�าโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ จึงท�าให้ประชาชน
ในพื้นที่ดังกล่าวได้รับผลกระทบและมีความเสี่ยงกับการได้รับผลจากการที่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป
ทั้งนี้ “ผังเมือง” เป็นมาตรการส�าคัญที่ใช้วางแผน ควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการพัฒนาพื้นที่ โดยเฉพาะในเขต
พื้นที่เมืองและชนบทให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ท�าให้ประชาชนสามารถอยู่อาศัยและท�างานในสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุด การใช้
ทรัพยากรต่าง ๆ อันมีอยู่อย่างจ�ากัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Maximize profit) สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะ (Character) ของแต่ละเมือง
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 168 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙