Page 162 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 162
๒) เหมืองแร่
ในปี ๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ คณะรัฐมนตรีได้พิจารณา
การต่อใบอนุญาตโลหะกรรมของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่ก�าลังจะหมดอายุลง
วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นควรให้ต่อ
ใบอนุญาตประกอบโลหะกรรมจนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ เพื่อให้น�าแร่ที่เหลืออยู่
ไปใช้ประโยชน์ และเข้าสู่แผนฟื้นฟูตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่ง
การยุติการท�าเหมืองแร่ทองค�าทั่วประเทศดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาจาก
๔ กระทรวง คือ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หลังการเก็บข้อมูลและผลการศึกษาทางด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสุขภาพ การรวบรวมข้อมูลผลกระทบดังกล่าว รวมถึงลงพื้นที่
ตรวจสอบรอบเหมืองและการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนแล้ว จึงจ�าเป็นต้องยุติการท�าเหมืองทั่วประเทศทั้งหมด เพื่อป้องกัน
ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนต่อไป
ต่อมา เครือข่ายผู้ป่วยจากการท�าเหมืองแร่ทองค�าพิจิตรและเพชรบูรณ์ และเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการท�าเหมืองทอง
ของบริษัทฯ ต่างรู้สึกดีใจและขอบคุณรัฐบาล แต่กลุ่มเครือข่ายยังมีความห่วงกังวลในเรื่องของการฟื้นฟูเยียวยา เรื่องสุขภาพ
ชาวบ้าน เรื่องสิ่งแวดล้อมว่า จะมีการดูแลอย่างไร ฟื้นฟูกันอย่างไร แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นว่า ตามที่ สถานการณ์สิทธิมนุษยชนกรณีเฉพาะ
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ เรื่อง รายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงและการแก้ไขปัญหาสุขภาพและ
สิ่งแวดล้อมจากการท�าเหมืองแร่ของบริษัทมหาชนแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นการรายงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
เกี่ยวกับผลการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและ
สุขภาพจากการท�าเหมืองแร่ทองค�าของบริษัทฯ ในรูปแบบวีดิทัศน์ โดยไม่มีเอกสารเสนอคณะรัฐมนตรี จึงให้ยกเลิกมติ
คณะรัฐมนตรีดังกล่าวและมีมติ ดังนี้
(๑) รับทราบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมรายงานในรูปแบบวีดีทัศน์ และให้กระทรวงอุตสาหกรรม
ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบเกี่ยวกับการด�าเนินการของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา บทที่
๕
ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการท�าเหมืองแร่ทองค�าของบริษัทฯ ให้เป็นที่เข้าใจอย่างถูกต้องตรงกัน
(๒) ให้กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด�าเนินการเรื่องนี้ให้เป็นไปตามข้อกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องต่อไป มีมติเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๙ ในส่วนของการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐
สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. .... โดยได้มีการประชุมตั้งแต่วันที่
๒๑ มีนาคม ๒๕๕๙ จนถึงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ก่อนที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ในระหว่างพิจารณา
กฎหมายดังกล่าว มีข้อกังวลต่อการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ เช่น กลุ่มประชาชนในพื้นที่รอบเหมือง
ได้มีการยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเลยเพื่อให้ส่งหนังสือของชาวบ้านยื่นต่อ สนช. เพื่อขอให้ถอนการพิจารณาร่าง
พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. .... และให้น�าร่างกฎหมายแร่ฉบับประชาชนที่คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ได้ร่างเอาไว้แล้วน�ามา
พิจารณาแทนเพื่อคัดค้านร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. .... ที่ก�าลังอยู่ในขั้นพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อยู่ในขณะนี้
โดยมีข้อเรียกร้องส�าคัญ ๔ ประการ ประกอบด้วย (๑) การกันเขต
ทรัพยากรแร่ หรือ Mining Zone ออกจากพื้นที่หวงห้ามตามกฎหมาย
อื่นให้ชัดเจน (๒) การลดขั้นตอนการขอสัมปทานส�ารวจและท�าเหมืองแร่
ให้สั้นที่สุดเท่าที่จะสั้นได้ (๓) ท�าให้หน่วยงานในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่
คือ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) เป็นหน่วยงานเดียว
และใช้กฎหมายฉบับเดียว (๔) จัดท�ารายงาน EIA/EHIA ส�าหรับพื้นที่ที่มีแร่
อุดมสมบูรณ์ล่วงหน้าไว้ก่อน แล้วน�าพื้นที่ที่มีแร่อุดมสมบูรณ์ที่ผ่านความเห็นชอบ
EIA/EHIA แล้วเปิดให้เอกชนประมูลเพื่อเข้ามาท�าเหมืองแร่
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 161 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙