Page 163 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 163

ขณะเดียวกัน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้เห็นชอบรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะ
        นโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. …. ตามที่คณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร

        ใน กสม. เสนอ โดยมีมติให้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาถอนร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. …. ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณา
        ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ออกไปก่อน โดยจากการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการและ
        ประชาชน คณะอนุกรรมการฯ มีความเห็นว่า ร่างกฎหมายแร่ฉบับดังกล่าว ยังมีปัญหาความไม่ชัดเจนและช่องว่างหลายประการ
        ทั้งในเรื่องกลไกการบริหารจัดการแร่ แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ การก�าหนดเขตแหล่งแร่ทับซ้อนพื้นที่เขตอนุรักษ์
        การใช้ระบบประมูลเขตแหล่งแร่ การแบ่งประเภทเหมืองแร่ กองทุนฟื้นฟูและประกันความเสี่ยง รวมถึงกระบวนการมีส่วนร่วม

        ของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย จึงสมควรพิจารณาเรื่องดังกล่าวอย่างรอบคอบโดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องน�ากลับไปพิจารณา
        ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และนโยบายของรัฐบาลในเรื่องดังกล่าวด้วย



        ๓) การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดินและป่าไม้
                                                      ในปี ๒๕๕๙ สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนอันเกี่ยวกับการบริหาร
                                              จัดการทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดินและป่าไม้ ถือว่ายังคงปรากฏขึ้นอย่างต่อเนื่อง
                                              เรื่อยมาตั้งแต่ ปี ๒๕๕๗ ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการทวงคืนผืนป่าตามค�าสั่ง
                                              คสช. ที่ ๖๔/๒๕๕๗ และ ๖๖/๒๕๕๗ ท�าให้มีการด�าเนินการปราบปรามการ

                                              บุกรุกท�าลายทรัพยากรป่าไม้อย่างเข้มงวด ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า ค�าสั่ง คสช.
                                              ที่ ๖๖/๒๕๕๗  ข้อ ๒.๑ ก�าหนดให้การด�าเนินการใด ๆ ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อ
                                              ประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินท�ากินซึ่งได้อาศัยอยู่ในพื้นที่

        เดิมนั้นก่อนค�าสั่งนี้มีผลบังคับใช้ แต่อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติพบว่า มีการด�าเนินการขับไล่ บุกยึด และรื้อท�าลายทรัพย์สิน
        ของประชาชนที่อาศัยและท�ากินในพื้นที่ป่าโดยมุ่งเน้นการบรรลุเป้าหมายของค�าสั่งดังกล่าวเป็นส�าคัญ ขาดกระบวนการและ
        ขั้นตอนการด�าเนินการที่ละเอียดรอบคอบมากพอ และยังมิได้ค�านึงถึงความแตกต่างของพื้นที่ซึ่งมีบริบทความเป็นมาของ
        ปัญหา รวมทั้งวัฒนธรรมและวิถีการด�ารงชีวิตที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสิทธิในการจัดการ
                             ๓๐๒
        ที่ดิน จ�านวน ๘๗ ค�าร้อง  ซึ่งในจ�านวนค�าร้องดังกล่าวนี้มีกรณีที่ส�าคัญ เช่น ชาวบ้านแม่จอน หมู่ที่ ๑๑ อ�าเภอเชียงดาว
        จังหวัดเชียงใหม่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐกว่า ๑๐๐ นาย สนธิก�าลังเข้าไปในหมู่บ้านและเรียกประชุมชาวบ้าน เรื่องการทวงคืน
        ผืนป่า และการขอให้ชาวบ้านคืนที่ท�ากินให้กับรัฐในส่วนที่บุกรุกเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งส่งผลให้ชาวบ้านบางส่วนได้รับ
        ผลกระทบไม่มีที่ดินท�ากิน หรือเหลือที่ดินเพียงเล็กน้อยซึ่งไม่เพียงพอต่อการท�าการเกษตรเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว เป็นต้น



        ๔) นโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ๓๐๓
                 ประเทศไทยได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการเชื่อมโยง
        เศรษฐกิจบริเวณชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านมานับตั้งแต่
        ยุคทศวรรษที่ ๒๕๔๐ อันเป็นผลจากการร่วมมือภายใต้กรอบข้อตกลง

        ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแม่น�้าโขงและอาเซียนที่ส�าคัญ คือโครงการ
        พัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น�้าโขง (Greater
        Mekong Sub-region: GMS) ในปี ๒๕๓๕ แผนงานการพัฒนา

        เขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ในปี
        ๒๕๓๖ และกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS: Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong
        Economic Cooperation Strategy) ในปี ๒๕๔๕ อย่างไรก็ตาม ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่สามารถจัดตั้ง
        เขตเศรษฐกิจพิเศษได้ เนื่องจากมีปัญหาและอุปสรรคในหลายด้าน

                 ๓๐๒  จาก ระบบสารสนเทศเพื่อการรวบรวมและบริการสารสนเทศด้านสิทธิมนุษยชน: ฐานข้อมูลเรื่องร้องเรียน, งานเดิม.
                 ๓๐๓  ประทีป มีคติธรรม เอกสารสรุปการประชุมเพื่อจัดท�ารายงานประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากรและผลการด�าเนินงานของคณะอนุกรรมการ
        ด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร ประจ�าปี ๒๕๕๙

                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  162  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168