Page 159 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 159

ของ “ชุมชน” โดยจะเห็นได้ว่ามีบทบัญญัติอื่น ซึ่งมีสาระของสิทธิของ
                                                    บุคคลที่รวมกันเป็นชุมชน ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองไว้หลายประการ

                                                    เช่น สิทธิในการมีส่วนร่วมที่จะส่งเสริม บ�ารุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพ
                                                    สิ่งแวดล้อม (มาตรา ๘๕ (๕)) และสิทธิที่จะได้รับข้อมูล ค�าชี้แจง และ
                                                    เหตุผลจากรัฐก่อนการอนุญาตหรือการด�าเนินโครงการหรือกิจกรรมใด
                                                    ที่อาจมีผลกระทบส�าคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับชุมชนท้องถิ่น (มาตรา ๕๗ วรรคแรก)
                                                    เป็นต้น และร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ  ก็ได้กล่าวถึงสิทธิ
                                                                                           ๒๘๙
                                                    ของชุมชนไว้เช่นกัน


        ๕.๔.๒ สถานการณ์ทั่วไป

                 สถานการณ์ปัญหาด้านสิทธิชุมชนที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ มักเป็นผลมาจากนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐ ที่มุ่งเน้น
        การขยายตัวตามแนวของระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม มุ่งเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน
        ของประเทศ แต่ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล�้าในด้านต่าง ๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนการเข้าถึงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
        เทคโนโลยี และวัฒนธรรม ส่วนหนึ่งของปัญหามาจากการที่รัฐจัดให้การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐ
        การด�าเนินโครงการพัฒนาต่าง ๆ โดยขาดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างจริงจัง ขาดความเข้าใจในบริบทของชุมชน

        ตลอดจนการค�านึงถึงผลกระทบด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชน เช่น ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อาชีพท�ากินของคน
        ในพื้นที่ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งกับประชาชน ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการด�าเนินโครงการ ตัวอย่างเช่น กรณี
        โครงการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ที่เริ่มก่อตั้งในปี ๒๕๓๒ และด�าเนินการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา ๒๖ ปี

        ซึ่งโครงการดังกล่าวส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพของประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนที่มีมาแต่เดิม
        จนท�าให้เกิดปัญหาทางสังคมต่าง ๆ  กรณีกิจการเหมืองแร่ทองค�าในจังหวัดเลย และกรณีโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่
                                     ๒๙๐
        ของภาคใต้ เป็นต้น จนเกิดปรากฏการณ์ของกระบวนการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิขึ้นในหลายรูปแบบ อาทิ การยื่นข้อร้องเรียนต่อหน่วยงานรัฐ
        การออกแถลงการณ์ทั้งในนามของชุมชนหรือร่วมกับนักวิชาการและเครือข่ายภาคประชาสังคม เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการเรียก
        ร้องสิทธิตามที่กฎหมายให้การรับรอง ไปจนถึงการรวมตัวกันฟ้องร้องด�าเนินคดีต่อหน่วยงานรัฐและ/หรือผู้ประกอบการ เพื่อให้

                                                           ๒๙๑
        องค์กรฝ่ายตุลาการพิพากษาชี้ขาดกรณีปัญหาข้อพิพาทที่เกิดขึ้น  โดยตั้งแต่ปี ๒๕๕๖-๒๕๕๙ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
        แห่งชาติได้รับเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเด็นเกี่ยวกับสิทธิชุมชน จ�านวน ๓๓๗ ค�าร้อง คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๘๕
        จากเรื่องร้องเรียนทั้งหมด ซึ่งมากเป็นอันดับ ๓ รองจากสิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในทรัพย์สิน ๒๙๒



        ๕.๔.๓ สถานการณ์ปี ๒๕๕๙
                 สถานการณ์ด้านสิทธิชุมชนยังคงเป็นสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกับปีที่ผ่านมา โดยรัฐพยายามที่จะด�าเนินโครงการต่าง ๆ
        เพื่อพัฒนาประเทศ ซึ่งในการด�าเนินการของรัฐนั้นย่อมมีผลกระทบต่อประชาชน และชุมชน จึงได้เกิดปัญหาความขัดแย้ง
        ระหว่างรัฐกับประชาชนและชุมชน ซึ่งมีสถานการณ์ส�าคัญ ๆ ดังนี้

        ๑) การบริหารจัดการพลังงาน : โรงงานไฟฟ้า
                 รัฐบาลได้มีนโยบายด้านพลังงาน กล่าวคือ การให้มีการส�ารวจและผลิตก๊าซธรรมชาติและน�้ามันดิบรอบใหม่ทั้งใน
        ทะเลและบนบก และด�าเนินการให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นโดยหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน ทั้งจากการใช้ฟอสซิลเป็น

                                                                                                      ๒๙๓
        เชื้อเพลิงและจากพลังงานทดแทนทุกชนิด ด้วยวิธีการที่เปิดเผย โปร่งใส เป็นธรรม และเป็นมิตรต่อสภาวะแวดล้อม  เพื่อ
        ให้ประเทศมีความมั่นคงทางด้านพลังงาน ซึ่งในปี ๒๕๕๙ รัฐบาลได้มีการผลักดันให้มีการสร้างโรงงานไฟฟ้าหลายแห่งด้วยกัน
                 ๒๘๙  ปัจจุบันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐
                 ๒๙๐  จาก ชุมชนกับสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, โดย นิตยา โพธิ์นอก, ๒๕๕๗, กรุงเทพฯ:  สถาบันพระปกเกล้า
                 ๒๙๑  รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘, คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
                 ๒๙๒  จาก ระบบสารสนเทศเพื่อการรวบรวมและบริการสารสนเทศด้านสิทธิมนุษยชน: ฐานข้อมูลเรื่องร้องเรียน, งานเดิม.
                 ๒๙๓  จาก ส�านักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://www.eppo.go.th/index.php/th/plan policy/policy?orders[publishUp]=
        publishUp&issearch=1


                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  158  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164