Page 158 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 158
ความไม่สงบ โดยการฟื้นฟูเยียวยาต้องค�านึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเด็ก และพึงหลีกเลี่ยงมิให้มีการเลือกปฏิบัติต่อเด็กที่เป็นบุตร
หรือมีความเกี่ยวข้องกับผู้ต้องสงสัยในเหตุการณ์ความไม่สงบแตกต่างไปจากผู้อื่น
ในด้านของสุขภาพและการรับบริการสาธารณสุข รัฐควรหามาตรการและ/หรือแนวทางในการสนับสนุน เพื่อให้ผู้ปกครอง
และเด็กในพื้นที่สามารถเข้าถึงสวัสดิการด้านสุขภาพได้อย่างเท่าเทียม ตลอดจนการสร้างความรู้และความตระหนักในการ
ให้ความส�าคัญด้านสุขอนามัยของแม่และเด็ก
๔) สถานการณ์ด้านสิทธิสตรี
จากกรณีที่รัฐได้เห็นชอบร่าง “มาตรการและแนวปฏิบัติด้านสตรีกับการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง”
นับว่าเป็นสัญญาณเชิงบวกในการปกป้อง คุ้มครองและเยียวยาฟื้นฟูสตรีที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ที่แสดง
ให้เห็นว่า รัฐได้ให้ความส�าคัญและเห็นถึงปัญหาต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสตรีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งในอนาคต
รัฐจ�าเป็นต้องด�าเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้มาตรการและแนวปฏิบัติฯ ดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิด
ประสิทธิผล อย่างไรก็ดี จากข้อเรียกร้องด้านการยุติความรุนแรงต่อสตรีและกลุ่มเป้าหมายที่มีความเปราะบางและผลักดัน
ให้เกิดพื้นที่สาธารณะที่ปลอดภัยนั้น นับว่าเป็นสิ่งท้าทายที่รัฐจะต้องหามาตรการที่เหมาะสมต่อไป
๕.๔ สิทธิชุมชนด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สถานการณ์สิทธิมนุษยชนกรณีเฉพาะ
๕.๔.๑ หลักการสิทธิมนุษยชน
กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศทั้งใน ICCPR และ
ICESCR ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม
ไม่ได้รับรองสิทธิชุมชนไว้ในกฎหมายแต่เป็นการรับรองเฉพาะ
สิทธิของปัจเจกชน (Individual Rights) ซึ่งเอื้อให้ปัจเจกชนที่อยู่รวมกัน
เป็นชุมชนสามารถเรียกร้องสิทธิบางประการได้ ส่วนตราสารอื่นที่ บทที่
๕
เป็นปฏิญญาเป็น Soft Law ที่ไม่สร้างพันธะกรณีทางกฎหมายให้รัฐ
ต้องปฏิบัติตาม อาทิ ปฏิญญาสิทธิในการพัฒนา ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิ
ของประชาชาติท้องถิ่นดั้งเดิมแห่งสหประชาชาติ ปฏิญญาริโอ แต่การที่
ประเทศไทยเป็นภาคี ICCPR และ ICESCR ได้บัญญัติรับรองสิทธิของ
ปัจเจกชนที่มีความเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดินและป่าไม้ เช่น สิทธิในการแสดงความคิดเห็น สิทธิในการ
ชุมนุมโดยสงบ สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร สิทธิในการมีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายสาธารณะ เป็นต้น
ในส่วนของกฎหมายของไทยได้รับรองสิทธิชุมชนไว้อย่างชัดเจน โดยบัญญัติไว้ตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๔๐ จนถึงพุทธศักราช ๒๕๕๐ โดยได้รับรอง “สิทธิชุมชน” ในฐานะ “สิทธิเชิงกลุ่ม (Collective Rights)”
โดยเป็นการให้สิทธิแก่ชุมชนในการมีส่วนร่วมกับรัฐในการจัดการ บ�ารุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุล
และยั่งยืน โดยบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖๖ ระบุว่า “บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน
ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
และของชาติและมีส่วนร่วมในการจัดการ การบ�ารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความ
หลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน” และมาตรา ๖๗ วรรคหนึ่ง ระบุว่า “บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือ
ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและ
ของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบ�ารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง
ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน” นอกจากนี้ ยังปรากฏบทบัญญัติอื่นที่เป็นการยอมรับความมีอยู่
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 157 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙