Page 157 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 157
๕.๓.๔ การประเมินสถานการณ์
๑) การด�าเนินการของรัฐ
แม้ว่ารัฐได้พยายามแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ด้วยแนวทางสันติวิธี ผ่านกระบวนการพูดคุยสันติสุข
แต่ผลของการด�าเนินการยังไม่แสดงให้เห็นเป็นรูปธรรมหรือมีความก้าวหน้า
มากนัก เนื่องจากยังคงมีการก่อเหตุการณ์ความไม่สงบอย่างต่อเนื่อง
โดยที่หลายกรณีเป็นเหตุการณ์ที่มีความรุนแรงและท�าลายขวัญก�าลังใจ
ของประชาชนในพื้นที่ เช่น การลอบยิงกลุ่มเป้าหมายที่มีความ
เปราะบาง การลอบวางระเบิดในพื้นที่สาธารณะ เป็นต้น สะท้อนให้เห็นว่า
รัฐยังไม่สามารถยับยั้งมิให้มีการก่อเหตุได้ ดังนั้น รัฐพึงต้องให้ความส�าคัญต่อการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรม
และมีประสิทธิภาพ โดยนอกจากการเยียวยาในรูปของเงิน รัฐต้องค�านึงถึงการเยียวยาด้านจิตใจของผู้ได้รับผลกระทบด้วย
๒) สถานการณ์ด้านสิทธิในกระบวนการยุติธรรม
จากกรณีที่มีการกล่าวอ้างว่า เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงได้กระท�าการอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ในขั้นตอนของการจับกุมและควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยในคดีความมั่นคงนั้น รัฐควรมีมาตรการในเรื่องดังกล่าวเพื่อลดข้อกล่าวหา
ลดความหวาดระแวงของญาติผู้ต้องสงสัย และสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของประชาชน อาทิ
• การเชิญตัว/จับกุม ผู้ต้องสงสัยเพื่อไปซักถามควรด�าเนินการตามแนวทางการปฏิบัติตามกฎหมายตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เช่น การแจ้งข้อมูลให้ผู้ถูกเชิญตัวหรือญาติทราบ หากมีหมายจับก็ให้แจ้งด้วย การแสดงชื่อ
และต�าแหน่งของเจ้าหน้าที่ผู้เข้าตรวจค้นจับกุม การค้นจะต้องกระท�าโดยสุภาพ ถ้าผู้ต้องสงสัยไม่ได้ต่อสู้ขัดขืน เจ้าหน้าที่
ก็ไม่ควรใช้ความรุนแรงในการเข้าจับกุม และหากมีสิ่งของที่ยึดไว้เมื่อได้ด�าเนินการเสร็จแล้วให้เร่งส่งคืนเจ้าของโดยเร็ว เป็นต้น
• ในการส่งตัวเข้าควบคุมควรให้มีการตรวจร่างกายตั้งแต่วันแรกโดยแพทย์ของโรงพยาบาลทุกครั้ง และให้การ
ดูแลรักษาอย่างเหมาะสมหากผู้ถูกควบคุมได้รับบาดเจ็บ
• การให้โอกาสติดต่อเยี่ยมญาติอย่างอิสระ ตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดการควบคุมตัว เพื่อลดความกังวลของญาติและ
สร้างความตระหนักของเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติต่อผู้ถูกควบคุมตัวบนหลักการของกฎหมายและเคารพต่อสิทธิมนุษยชนของผู้ถูก
ควบคุมตัว ซึ่งต้องถูกสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ตราบใดที่ศาลยังไม่มีค�าพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระท�าความผิด
• ในห้วงระยะเวลา ๓๐ วันในการควบคุมตัวตามพระราชก�าหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งจะต้องมีการขออนุญาตศาลในการควบคุมตัวทุก ๆ ๗ วัน เจ้าหน้าที่ควรน�าตัวผู้ที่ถูกควบคุมไปรายงานตัวที่ศาล
และควรให้มีการตรวจร่างกายด้วยทุกครั้งที่มีการขอขยายระยะเวลาการควบคุมตัว เพื่อความโปร่งใสและป้องกันการซ้อมทรมาน
๓) สถานการณ์ด้านสิทธิเด็ก
จากจ�านวนการเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บของเด็กที่เพิ่มมากขึ้น
สาเหตุหนึ่งมาจากการเลือกใช้พื้นที่สาธารณะเป็นที่ก่อเหตุของ
ผู้ก่อความไม่สงบ รัฐจ�าเป็นต้องเพิ่มความเข้มข้นของมาตรการในการ
คุ้มครองเด็กที่ต้องใช้พื้นที่สาธารณะในชีวิตประจ�าวันให้มีความ
ปลอดภัย รวมถึงมาตรการหรือแนวทางในการฟื้นฟูเยียวยาเด็กที่ได้รับ
ผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
อย่างเป็นรูปธรรม และเข้าถึงเด็กที่ได้รับผลกระทบให้มากที่สุด ทั้งในส่วน
ของเด็กที่ได้รับผลกระทบทางร่างกายส่งผลให้กลายเป็นเด็กพิการ เด็กที่ได้รับ
ผลกระทบทางด้านจิตใจ และเด็กก�าพร้าที่พ่อแม่เสียชีวิตจากเหตุการณ์
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 156 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙