Page 156 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 156
๒.๓.๒) สิทธิเด็ก
ในปี ๒๕๕๙ มีรายงานจ�านวนเยาวชน
อายุต�่ากว่า ๑๘ ปีเสียชีวิตจากสถานการณ์ความไม่สงบจ�านวน ๙ ราย
และได้รับบาดเจ็บ ๕๐ ราย เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๘ ซึ่งมีเด็กเสียชีวิต
๕ ราย ได้รับบาดเจ็บ ๒๐ ราย โดยตัวเลขความสูญเสียที่เพิ่ม
มากขึ้น ปัจจัยหนึ่งมาจากลักษณะการก่อเหตุที่ผู้ก่อความไม่สงบ
เลือกใช้ คือ การวางระเบิดในที่สาธารณะ เช่น สถานีรถไฟ ตลาด
เขตชุมชน และโรงเรียน โดยในปี ๒๕๕๙ มีเหตุการณ์ระเบิดเกิด
ขึ้นทั้งสิ้นจ�านวน ๑๙๗ เหตุการณ์ ซึ่งหนึ่งในนั้นมีการก่อเหตุที่
บริเวณหน้าโรงเรียน และส่งผลให้มีเด็กเสียชีวิต ๑ ราย นอกจากนี้
เด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจจากการสูญเสียบุคคลในครอบครัวจากเหตุการณ์
ความไม่สงบ การหวาดกลัวและรู้สึกไม่ปลอดภัยเนื่องจากโรงเรียนตกเป็นเป้าหมายในการก่อเหตุ รวมถึงต้องเผชิญ
กับเหตุการณ์ที่บุคคลใกล้ชิด เช่น เพื่อน และครู เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบ นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มของเด็กก�าพร้า
จากครอบครัวของผู้ก่อความไม่สงบ ซึ่งไม่มีข้อมูลในระบบการเยียวยาภาครัฐ และไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ ๒๘๔
ในมิติด้านสุขภาพ เด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จังหวัดปัตตานี นราธิวาส และยะลา มีอัตราเด็กแรกเกิด สถานการณ์สิทธิมนุษยชนกรณีเฉพาะ
ถึง ๑๒ ปี ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคครบตามตารางสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค สูงเป็นสามอันดับแรกของประเทศไทย ซึ่งส่งผล
ให้มีเด็กเจ็บป่วย และบางรายเสียชีวิตจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น โรคคอตีบ โรคหัด เป็นต้น นอกจากนี้
ยังพบว่าพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีจ�านวนเด็กพิเศษ (ออทิสติก-Autism Spectrum Disorder) กว่า ๕,๐๐๐ คน ซึ่งสาเหตุ
๒๘๕
หลัก ๆ ที่ท�าให้มีจ�านวนเด็กกลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้น คือ การแต่งงานก่อนวัย การมีลูกช่วงที่พ่อแม่มีอายุมาก สภาพแวดล้อม
สภาพครอบครัว ตลอดจนสภาพจิตใจของผู้เป็นแม่ ๒๘๖
๒.๓.๓) สิทธิสตรี บทที่
๕
ในปี ๒๕๕๙ มีผู้หญิงเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบจ�านวน ๒๔ ราย ได้รับบาดเจ็บ ๑๒๘ ราย
โดยในช่วง ๑๒ ปีที่ผ่านมา มีผู้หญิงเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบไปแล้วกว่า ๕๐๐ คน ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจาก
๒๘๗
การถูกลูกหลงจากการก่อเหตุในที่สาธารณะ จากผลกระทบที่เกิดขึ้นส่งผลให้สตรีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้รวมตัวกัน
เพื่อเรียกร้องให้ยุติความรุนแรง ละเว้นต่อกลุ่มเป้าหมายที่มีความเปราะบาง เช่น เด็ก สตรี นักบวช ผู้สูงอายุ เป็นต้น และผลักดันให้เกิด
พื้นที่สาธารณะที่ปลอดภัย ตลอดจนการเรียกร้องขอให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
จากการเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ทั้งนี้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๙ คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์
การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ (กยส.) ได้เห็นชอบร่าง “มาตรการและแนวปฏิบัติด้านสตรีกับการส่งเสริมสันติภาพ
และความมั่นคง” โดยมาตรการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ส�าคัญคือ เพื่อให้สตรีได้รับการปกป้องและคุ้มครองสิทธิจาก
ปัญหาความขัดแย้งอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม ส่งเสริมบทบาทของสตรีในการสร้างสันติภาพและความมั่นคง ให้ภาคประชาสังคม
ผู้น�าศาสนา ประชาชน และผู้น�าในพื้นที่ รวมทั้งสื่อมวลชน มีบทบาทปกป้อง คุ้มครองสิทธิสตรีและฟื้นฟูเยียวยาสตรีที่ได้รับ
ผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้ง และให้มีกลไกในการจัดการความขัดแย้งและกระบวนการสร้างสันติภาพและความมั่นคง
ทั้งในและต่างประเทศ ๒๘๘
๒๘๔ จาก สถานการณ์เด็กก�าพร้าจะพลิกความรุนแรงชายแดนใต้, โดย ฐิตินบ โกมลนิมิ, ๒๕๕๙, สืบค้นเมื่อ http://www.deepsouthwatch.org/ms/node/8414
๒๘๕ จาก เด็กสามจังหวัดชายแดนใต้กว่าหมื่นราย เผชิญโชคชะตาที่โหดร้าย, ๒๕๖๐, สืบค้นจาก http://www.benarnews.org/thai/news/TH-children-deepsouth-01132017181209.html
๒๘๖ จาก วันเด็กฯของ “เด็กพิเศษ” ครึ่งหมื่น และ “เด็กก�าพร้า” กว่า ๖,๓๐๐ ชีวิตที่ปลายขวาน, โดย คนใต้.คอม, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก https://www.facebook.
com/khontai.com2016/posts/1784394475154289:0
๒๘๗ จาก เผย ๑๒ ปี มีผู้หญิงเสียชีวิตจากเหตุไม่สงบภาคใต้กว่า ๕๐๐ คน, โดย บีบีซี ไทย, ๒๕๕๙, สืบค้นจากhttp://www.bbc.com/thai/thailand-38135638
(สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๖๐)
๒๘๘ จาก กยส.เห็นชอบแผนผู้หญิงกับสันติภาพ ผู้หญิงชายแดนใต้ชี้ยาเสพติดท�าให้ครัวเรือนขาดความมั่นคง, โดย มูลนิธิฮิลาลอะห์มัร, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://www.hilalahmar.org/305
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 155 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙