Page 155 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 155
๒.๒) การพูดคุยสันติสุข
นโยบายการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยแนวทางสันติวิธี ในเดือนกันยายน
๒๕๕๙ รัฐได้ด�าเนินการพูดคุยสันติสุขกับกลุ่มที่มีอิทธิพลในการก่อเหตุความรุนแรง โดยเป็นการท�าความเข้าใจข้อตกลง
ร่วมด้านธุรการและการสนับสนุน หรือ TOR ซึ่งมี ๓ ด้าน ได้แก่ โครงสร้างองค์กรแต่ละฝ่าย จ�านวนสมาชิกของคณะกรรมการ
พูดคุยแต่ละฝ่าย และภาษาที่ใช้ในการพูดคุย รวมถึงพิจารณาการจัดตั้งพื้นที่ปลอดภัย (Safety Zone) หรือ “เขตหยุดยิง”
เฉพาะในบางพื้นที่ โดยจะมีการพูดคุยครั้งต่อไปเพื่อร่วมก�าหนดข้อตกลงต่าง ๆ ให้เป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย
๒.๓) สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
๒.๓.๑) สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
การบังคับใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงจ�านวน ๓ ฉบับในพื้นที่ส่งผลให้มีการควบคุมตัวประชาชน
ที่ถูกสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบไปซักถาม โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับ และน�าตัวผู้ต้องสงสัยไปควบคุม
ไว้ที่ค่ายทหารหรือสถานที่เฉพาะต่าง ๆ ในพื้นที่ ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการถูกกล่าวหาหรือร้องเรียนว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
จากข้อมูลเรื่องร้องเรียนที่ กสม. ได้รับในปี ๒๕๕๙ พบว่าเรื่องร้องเรียนด้านสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ส่วนใหญ่เกิดขึ้น
ในระหว่างขั้นตอนของการจับกุมตัวและการควบคุมตัว หลายกรณีมีการกล่าวอ้างว่าเจ้าหน้าที่เข้าท�าการปิดล้อม ตรวจค้นและ
จับกุมในยามวิกาล และไม่มีการแสดงตนว่ามาจากหน่วยงานใด รวมถึงในบางกรณีกล่าวอ้างว่ามีการท�าร้ายร่างกายเพื่อต้องการ
ทราบข้อมูล หรือบังคับให้ยอมรับสารภาพว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่
ในขั้นตอนของการควบคุมตัวหลายกรณีกล่าวอ้างว่าผู้เสียหาย
ไม่ได้รับการเยี่ยมญาติอย่างอิสระ โดยในช่วง ๓ วันแรกของการควบคุมตัว
ได้รับอนุญาตเพียงพบเห็นหน้ากัน และให้จับมือ (สลาม) กันเท่านั้นไม่อนุญาต
ให้พูดคุยกับญาติ ซึ่งท�าให้ญาติเกิดความห่วงกังวลในความปลอดภัยของผู้ที่ถูก
ควบคุมตัว ตลอดจนหลายกรณีกล่าวอ้างว่ากระบวนการซักถามมีการด�าเนิน
การอันเป็นลักษณะท�าให้เกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานอย่างสาหัส
ทั้งต่อร่างกายและจิตใจ รวมทั้งการบังคับขู่เข็ญ เช่น การท�าร้ายร่างกาย
ด้วยการตบตี เตะ การปล่อยให้อยู่ในห้องอุณหภูมิต�่านาน ๆ การกดหัวลงในบ่อน�้า
การข่มขู่ถึงสวัสดิภาพของญาติหรือครอบครัว เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเรื่องร้องเรียนในส่วนของการซ้อมทรมานในระหว่างการ
ควบคุมตัว และการบังคับบุคคลซึ่งเคยติดต่อและให้ข้อมูลต่อเจ้าหน้าที่รัฐในเรื่องของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ให้สูญหาย
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 154 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙