Page 147 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 147
๕.๒.๓ สถานการณ์ปี ๒๕๕๙
ในปี ๒๕๕๙ รัฐบาลได้ด�าเนินนโยบายและมาตรการส�าคัญ
หลายประการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบ
ที่เกิดจากการด�าเนินธุรกิจต่อสิทธิมนุษยชน อาทิ
กรณีการท�าประมงผิดกฎหมาย ไม่รายงานและไร้การควบคุม
หรือไร้กฎระเบียบ (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing: IUU)
รัฐได้ออกพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยมีวัตถุประสงค์หนึ่ง
เพื่อป้องกันการใช้แรงงานผิดกฎหมายในภาคการประมง และคุ้มครองสวัสดิภาพ
ในการท�างานของแรงงานในภาคประมง การใช้ระบบควบคุมการแจ้งเข้า-ออก
๒๖๖
เรือประมง (Port in-Port out) เพื่อเป็นข้อมูลใช้ในการตรวจสอบย้อนกลับ
การท�าประมงและการจ้างแรงงานที่ถูกต้อง
กรณีการจัดอันดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ รายงานการค้ามนุษย์ปี ๒๕๕๙ กระทรวงการต่างประเทศ
สหรัฐอเมริกาได้เลื่อนอันดับประเทศไทยจากบัญชีที่ ๓ สถานการณ์เลวร้าย (Tier 2) เป็นบัญชีที่ ๒ ซึ่งต้องจับตามอง
(Tier 2 Watch List) เนื่องจากรัฐบาลไทยได้ด�าเนินความพยายามอย่างมีนัยส�าคัญในการขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ในช่วงเวลา
การท�ารายงานจัดอันดับ อย่างไรก็ดี การด�าเนินงานนั้นยังไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานขั้นต�่าสุดอย่างครบถ้วน ๒๖๗
นอกจากนี้ ยังได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) จ�านวน ๒ ฉบับ ได้แก่ อนุสัญญาองค์การ
๒๖๘
แรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ ๑๘๗ ว่าด้วยกรอบเชิงส่งเสริมการด�าเนินงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ค.ศ. ๒๐๐๖
และอนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทางทะเล ค.ศ. ๒๐๐๖ ๒๖๙
นอกจากนี้ ที่ประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน ครั้งที่ ๒๔ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ได้ให้การรับรองเอกสารเกี่ยวกับ
แนวทางอาเซียนส�าหรับความรับผิดชอบทางสังคมด้านแรงงาน (ASEAN Guideline for Corporate Social Responsibility
(CSR) on Labour) ซึ่งจัดท�าโดย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โดยอ้างอิงจากมาตรฐานแรงงานไทย (มรท.) เป็นเอกสาร
ที่ก�าหนดแนวปฏิบัติด้าน CSR ส�าหรับภาคธุรกิจในประเทศสมาชิกอาเซียนตามความสมัครใจภายใต้กฎระเบียบภายในของ
ประเทศสมาชิกนั้น ๆ โดยมีประเด็นข้อก�าหนด ได้แก่ แรงงานบังคับและแรงงานเด็ก การจ้างงานและความสัมพันธ์ในการ
จ้างงาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการฝึกอบรม สภาพการท�างานและการด�ารงชีวิต อุตสาหกรรมสัมพันธ์ แรงงาน
โยกย้ายถิ่นฐาน และการพัฒนาที่ยั่งยืน
รัฐบาลไทย โดยกระทรวงยุติธรรมได้ด�าเนินการในการจัดให้มีแผนปฏิบัติการชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน
(NAP) โดยได้ออกค�าสั่งที่ ๕๕๗/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการก�าหนดแนวทางจัดท�า
ติดตาม และประเมินผลตามแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (National Action Plan on Business
and Human Rights - NAP) ให้แล้วเสร็จภายในปี ๒๕๖๑ ตามที่ได้รับข้อเสนอแนะจากประเทศสวีเดนในกระบวน UPR
รอบที่ ๒ โดยจะมีการส�ารวจและวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากการประกอบธุรกิจในพื้นที่ต่าง ๆ
ในช่วงปี ๒๕๖๐
๒๖๖ มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
๒๖๗ จาก รายงานค้ามนุษย์ปี ๕๙ สหรัฐอเมริกาเลื่อนอันดับไทยขึ้นบัญชี ๒ ต้องจับตา, โดย ประชาไท, ๒๕๕๙, สืบค้นจากhttps://prachatai.com/journal/2016/06/66624
๒๖๘ อนุสัญญาฉบับนี้เป็นอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๑๖ ที่ไทยให้สัตยาบัน และจะมีผลบังคับใช้ในอีก ๑๒ เดือนถัดไปนับจากวันที่ให้สัตยาบัน คือวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐
๒๖๙ อนุสัญญาฉบับนี้เป็นอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๑๗ ที่ไทยให้สัตยาบัน และจะมีผลบังคับใช้ในอีก ๑๒ เดือนถัดไปนับจากวันที่ให้สัตยาบัน คือในวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๐
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 146 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙