Page 151 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 151

ที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย ตลอดจนความปลอดภัยในการด�าเนินชีวิตของคน
        ในพื้นที่ รวมถึงผลกระทบต่อภาวะความเชื่อมั่น ขวัญและก�าลังใจของประชาชนในพื้นที่ ผู้หญิงจ�านวน ๒,๖๕๓ คนกลายเป็นหม้าย

        และเด็กจ�านวน ๙,๘๐๖ คน กลายเป็นเด็กก�าพร้า ๒๗๗


                 จากสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น รัฐบาลได้
        พยายามแก้ไขปัญหาสถานการณ์ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การใช้
        ก�าลังเจ้าหน้าที่ในการปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบ

        การสร้างมวลชนสัมพันธ์เพื่อท�าความเข้าใจระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ
        กับประชาชน การส่งเสริมให้คนในพื้นที่และชุมชนมี
        ความเข้มแข็ง การสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ

        เพื่อหาทางออกในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนการด�าเนิน
        กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขกับกลุ่มที่มีอิทธิพล
        ในการก่อเหตุความรุนแรง เป็นต้น โดยในระยะหลัง
        กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขเป็นแนวทางที่ถูกน�ามาใช้ในการร่วมกันแก้ไขปัญหาเพิ่มมากขึ้น กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข
        เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ โดยรัฐบาลไทยในสมัยนั้นได้มีการลงนามในหนังสือแสดงเจตจ�านงริเริ่มเข้าสู่

                                                                                          ๒๗๘
        กระบวนการพูดคุยสันติภาพกับบุคคลที่ถูกระบุว่าเป็นแกนน�ากลุ่มที่มีอิทธิพลในการก่อเหตุความรุนแรง  “กระบวนการพูดคุย
        สันติภาพ” ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข” ด�าเนินการเรื่อยมา โดยที่สถานการณ์ความไม่สงบ
        ก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

        (คสช.) ได้ลงนามในค�าสั่งที่ ๒๓๐/๒๕๕๗ จัดตั้งกลไกขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้
        ประกอบด้วย คณะกรรมการ ๓ ระดับ คือ (๑) คณะกรรมการอ�านวยการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (The Steering
        Committee for Peace Dialogue) โดยมี นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ (๒) คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดน
        ภาคใต้ (The Peace Dialogue Panel) โดยผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นหัวหน้าคณะพูดคุย และ (๓) คณะประสานงาน
        ระดับพื้นที่ (The Area-based Inter-agency Coordination Working Group) โดยมี กอ.รมน.ภาค ๔ เป็นหัวหน้าคณะ

        ประสานงาน กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ก�าหนดเป้าหมายและทิศทางเป็น ๓ ระยะ
        โดยจะเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติของนานาประเทศ ระยะแรกคือ การพูดคุยเพื่อเสริมสร้างความไว้วางใจ ระยะที่สองคือ
        การบรรลุข้อตกลงแนวปฏิบัติสองฝ่าย (Code of Conduct) ที่น�าไปสู่การลดการเผชิญหน้าและยุติการใช้ความรุนแรง

        และระยะที่สามคือ การบรรลุฉันทามติของทางออก (Road Map) จากความขัดแย้งด้วยสันติวิธี
                                                                                      ๒๗๙

                 ในมิติด้านสิทธิมนุษยชน ผลกระทบจากการเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ส่งผลให้สิทธิของประชาชนถูกละเมิด
        เช่น สิทธิในชีวิตและร่างกาย สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิเด็ก และสิทธิสตรี เป็นต้น นอกจากนี้ การอยู่ภายใต้การบังคับใช้กฎหมายพิเศษ
        ด้านความมั่นคงเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้สิทธิและเสรีภาพบางประการของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

        ต้องถูกจ�ากัด เช่น สิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิในการเดินทาง เป็นต้น


                 จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นคณะกรรมการประจ�ากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

        (ICCPR) ได้มีข้อห่วงกังวลเกี่ยวกับรายงานว่ามีการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย รวมถึงการบังคับให้สูญหายในพื้นที่
        จังหวัดชายแดนภาคใต้ และความกังวลต่อการใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่ เช่นเดียวกับคณะกรรมการประจ�าอนุสัญญาต่อต้าน
        การทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย�่ายีศักดิ์ศรี (CAT) ซึ่งได้มีข้อสังเกตโดยสรุป

                 ๒๗๗  จาก ศวชต.เปิดข้อมูลเด็กก�าพร้าจากไฟใต้กว่า ๙ พัน พบเงินเยียวยาถึงเด็กน้อย ต้องดูแลด้านจิตใจ, โดย โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก
        http://deepsouthwatch.org/node/8414
                 ๒๗๘  เจาะไทม์ไลน์”พูดคุยดับไฟใต้” กับ ๒ เงื่อนไข “ลดบึ้ม-หยุดฆ่าเป้าหมายอ่อนแอ, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก https://www.isranews.org
                 ๒๗๙  จาก เปิดโครงสร้าง’เจรจาสันติสุข’ดึงทุกกลุ่มเข้าพูดคุย, ๒๕๕๗, สืบค้นเมื่อ http://www.komchadluek.net/news/politic/197567


                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  150  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156