Page 148 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 148
ส�าหรับภาคธุรกิจ ธุรกิจขนาดใหญ่หลายแห่งที่ได้รับผลกระทบจาก
การด�าเนินธุรกิจที่ไม่เคารพสิทธิมนุษยชน ประกอบกับผู้ลงทุนโดยเฉพาะ
บริษัทจากต่างประเทศได้ใช้เรื่อง “สิทธิมนุษยชน” เป็นเงื่อนไขในการเลือก
คู่ค้า ท�าให้ในช่วงระยะเวลา ๒ - ๓ ปีที่ผ่านมา ภาคธุรกิจมีความตื่นตัวและ
มีความพยายามในการด�าเนินธุรกิจบนการเคารพสิทธิมนุษยชนมากขึ้น
เช่น มีการรวมกลุ่มเพื่อจัดตั้ง Global Compact Network Thailand
(GCNT) มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนให้ภาคธุรกิจไทยเข้าใจความส�าคัญ
ของการด�าเนินธุรกิจตามหลักการความยั่งยืนภายใต้ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) มีการก�าหนดแผน
๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๗ -๒๕๕๙) ของศูนย์พัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในการผลักดัน
ให้บริษัทท�า CSR in process พัฒนาผู้ลงทุนให้เห็นความส�าคัญและลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ (Socially Responsible
Investment - SRI) หรือการก�าหนดประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนและรายงานประจ�าปีและ
แบบแสดงรายการข้อมูลประจ�าปี (๕๖-๑) ของบริษัทภายใต้การก�ากับดูแลของคณะกรรมการก�ากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ก.ล.ต.) การมอบรางวัลประกาศเกียรติคุณและยกย่องบริษัทจดทะเบียนที่มีความโดดเด่นในการด�าเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
เป็นต้น อย่างไรก็ดี การด�าเนินการดังกล่าวยังจ�ากัดอยู่ในภาคธุรกิจขนาดใหญ่และบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
๕.๒.๔ การประเมินสถานการณ์ สถานการณ์สิทธิมนุษยชนกรณีเฉพาะ
ผลจากปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากการประกอบธุรกิจ อาจกล่าวได้ว่า ท�าให้ภาครัฐและภาคธุรกิจเกิดความ
ตื่นตัวในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รัฐมีความก้าวหน้าในการด�าเนินการเพื่อให้ภาคธุรกิจเคารพสิทธิมนุษยชนมากขึ้น โดยรัฐได้มี
นโยบาย/มาตรการในการบริหารจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะด้านแรงงาน เช่น การออก
กฎหมายว่าด้วยการประมง การให้สัตยาบันในอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศที่ท�าให้ไทยต้องปฏิบัติ
ตามมาตรฐานแรงงานสากล การด�าเนินการเพื่อจัดท�าแผนปฏิบัติการชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ยังพบว่ารัฐบาลยังไม่พร้อมที่จะด�าเนินการอย่างเป็นรูปธรรมในทุกกรณี นอกเหนือจากกรณีที่มี บทที่
๕
ผลกระทบต่อผลประโยชน์ทางการค้าและการลงทุนอย่างรุนแรง ตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ คณะรัฐมนตรีได้
มีมติรับทราบผลการพิจารณาด�าเนินการตามรายงานผลการพิจารณาค�าร้องที่มีข้อเสนอแนะนโยบายเรื่องสิทธิชุมชน
กรณีการด�าเนินโครงการท่าเรือน�้าลึกและเขตเศรษฐกิจทวายในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ที่มีบริษัทมหาชนแห่งหนึ่ง
ของไทยได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงในการพัฒนาโครงการดังกล่าว ที่มีการกระท�าที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชาวทวาย
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ อาทิ การเผยแพร่ความรู้และสร้างความเข้าใจ
เกี่ยวกับหลักการ UNGP การผลักดันให้ภาคเอกชนมีมาตรการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน การมียุทธศาสตร์การลงทุนของประเทศ
ที่ระบุสาระส�าคัญเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยคณะรัฐมนตรีไม่ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปด�าเนินการตามข้อเสนอแต่อย่างใด
นอกจากนี้ การด�าเนินการตามหลักการ UNGP ทั้งในบทบาทหน้าที่ของรัฐในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (protect)
การที่ภาคธุรกิจต้องเคารพสิทธิมนุษยชน (respect) และการเยียวยา (remedy) ยังคงมีช่องว่างหลายประการ กล่าวคือ
หลายกรณีที่โครงการขนาดใหญ่ของรัฐ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ รวมถึงโครงการของภาคเอกชนที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ
ได้สร้างผลกระทบทางลบในด้านสิทธิมนุษยชนต่อบุคคลและชุมชนในพื้นที่ตั้งโครงการ ขาดกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างจริงจัง ขาดกระบวนการตรวจสอบผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (human rights
due diligence) นอกจากนี้ กฎหมายภายในประเทศที่บังคับใช้อาจไม่เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 147 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙