Page 145 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 145
ในช่วงปี ค.ศ. ๒๐๑๐ องค์การสหประชาชาติ โดย Mr. Kofi Annan (เลขาธิการสหประชาชาติในขณะนั้น) ได้
ประกาศข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (The United Nations Global Compact: UNGC) ซึ่งพัฒนามาจากปฏิญญาสากล
ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ (the Universal Declaration of Human Rights: UDHR) ค�าประกาศ
ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ว่าด้วยหลักการและสิทธิพื้นฐานในการ
ท�างาน ปฏิญญาริโอว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (Rio Declaration on Environment and Development) และ
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการคอรัปชั่น (United Nations Convention against Corruption) ประกอบด้วย
หลักการทั้งสิ้น ๑๐ ข้อ แบ่งออกเป็น ๔ หลักการใหญ่ ได้แก่ เรื่อง สิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการ
คอรัปชั่น อย่างไรก็ตาม ประกาศข้อตกลงโลกดังกล่าวเป็นมาตรการโดยความสมัครใจของภาคธุรกิจเท่านั้น
นอกจากนี้ องค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ ได้จัดท�ามาตรฐานด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ อีก เช่น มาตรฐาน
ISO26000 หลักการดูแลก�ากับกิจการขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD Principles of
Corporate Governance) มาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลเฉพาะประเด็นสิทธิมนุษยชน (Global Reporting Initiatives: GRI)
มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ยั่งยืน (Standards on Environmental and Social Sustainability) หลักเกณฑ์ของ
บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation: IFC) เป็นต้น ๒๕๗
ในส่วนของรัฐวิสาหกิจซึ่งถือเป็นการประกอบธุรกิจที่มีรัฐเป็นเจ้าของ นอกจากรัฐวิสาหกิจจะมีบทบาทในการ
เคารพสิทธิมนุษยชนเช่นเดียวกับภาคธุรกิจอื่นแล้ว รัฐในฐานะที่เป็นเจ้าของและเป็นผู้ก�ากับดูแลยังถูกคาดหวังให้มีบทบาท
หน้าที่เพิ่มเติมด้วย อาทิ หลักการชี้แนะฯ ได้ระบุถึงบทบาทของรัฐในการใช้ขั้นตอนหรือกระบวนการเพิ่มเติม (take additional step)
เพื่อป้องกันมิให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยองค์กรธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของหรือควบคุมโดยตรง
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ได้ให้การรับรองสิทธิและเสรีภาพของ
๒๕๘
บรรดาชนชาวไทยไว้ตามบทบัญญัติมาตรา ๔ โดยแม้จะไม่มีบทบัญญัติที่กล่าวถึงภาคธุรกิจโดยตรง เว้นแต่เรื่องเสรีภาพ
ในการน�าเสนอข่าวและการแสดงความคิดเห็นของพนักงานหรือลูกจ้างเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง
วิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอื่น แต่เรื่องธุรกิจและสิทธิมนุษยชนก็มีความเกี่ยวข้องกับสาระแห่งสิทธิที่รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทยได้ให้การรับรองไว้หลายประการ ทั้งภาคธุรกิจเองและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการด�าเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นกิจการ
ของภาคธุรกิจเองหรือกิจการของรัฐที่ภาคธุรกิจเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น เสรีภาพในการประกอบอาชีพ สิทธิในการได้รับ
หลักประกันความปลอดภัยและสวัสดิภาพในการท�างาน สิทธิที่จะได้รับทราบหรือเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะ สิทธิของ
บุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการบ�ารุงรักษา และการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลาย
ทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นต้น อีกทั้งร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ฉบับผ่านการลงประชามติเมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ ก็มีบทบัญญัติที่สาระส�าคัญแห่งสิทธิมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องธุรกิจ
๒๕๙
และสิทธิมนุษยชนในลักษณะที่ใกล้เคียงกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ กล่าวคือ
การประกันสิทธิและเสรีภาพของบุคคลและชุมชนในด้านต่าง ๆ การก�าหนดหน้าที่ของรัฐ แต่ไม่ได้ระบุถึงสิทธิบางเรื่อง
เป็นการเฉพาะส�าหรับภาคธุรกิจ เช่น สิทธิในการได้รับหลักประกันความปลอดภัยและสวัสดิภาพในการท�างาน เป็นต้น
๒๕๗ จาก มาตรฐานสากลในการด�าเนินธุรกิจเพื่อการเคารพสิทธิมนุษยชน, โดย ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ๒๕๕๙, กรุงเทพฯ: ส�านักงาน
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
๒๕๘ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔ บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและ
ตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้”
๒๕๙ ปัจจุบันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 144 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙