Page 150 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 150

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
            ๒๕๕๐ และพุทธศักราช ๒๕๕๗ (ฉบับชั่วคราว) ตลอดจน

            ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
                                     ๒๗๐
            ๒๕๕๙ (ฉบับลงประชามติ)  ได้ให้ความคุ้มครอง
            ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค
            ของบุคคล โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
            พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้บัญญัติหลักการส�าคัญที่ให้การ

            คุ้มครองสิทธิของประชาชนไว้หลายประการและร่าง
            รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๙
            (ฉบับลงประชามติ) ได้บัญญัติหลักการส�าคัญ ๆ เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ไว้

            อาทิ  การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย  การห้ามการทรมาน  ทารุณกรรม  หรือการลงโทษ
                                            ๒๗๑
            ด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม  และการบัญญัติให้รัฐจัดระบบบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มี
            ประสิทธิภาพ เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติและให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และไม่เสีย
            ค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร ๒๗๒


            ๕.๓.๒ สถานการณ์ทั่วไป                                                                                    สถานการณ์สิทธิมนุษยชนกรณีเฉพาะ

                     สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาที่สะสมมาเป็นระยะเวลานาน ปัจจุบันยังคงมี
            เหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา (ในเขต ๔ อ�าเภอ ได้แก่ อ�าเภอจะนะ อ�าเภอ

            สะบ้าย้อย อ�าเภอเทพา และอ�าเภอนาทวี) เหตุการณ์ความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดจากความคิดเห็นของกลุ่มคน
                                                                         ๒๗๓
            ที่มีความแตกต่างกับระบอบการเมืองและมีทรรศนะในการมองที่ตรงข้ามกัน  โดยรัฐมองว่าการต่อต้านต่าง ๆ ของกลุ่มบุคคล
            ในพื้นที่นั้น กระท�าไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการแบ่งแยกดินแดน ในขณะที่ กลุ่มคนในพื้นที่กลับมองว่าการเคลื่อนไหวการประท้วง
            ต่อสู้ต่าง ๆ นั้น คือ การเรียกร้องความเป็นธรรมและสิทธิของพลเมืองที่รัฐจะต้องเคารพวัฒนธรรมความเชื่อของกลุ่มคน
            โดยที่การต่อต้านในลักษณะต่าง ๆ ด�าเนินไปเพื่อความถูกต้องและเป็นธรรมตามศรัทธาและความเชื่อของกลุ่ม เหตุการณ์ความ   บทที่
                                                                                                                    ๕
            ไม่สงบที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาที่ยาวนานนั้น รัฐบาลมองว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ และมีความเชื่อ
            ด้วยว่ากลุ่มท้องถิ่น คู่แข่งทางธุรกิจหรืออาชญากรรมมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในพื้นที่ดังกล่าว  เหตุการณ์ความ
                                                                                                ๒๗๔
            ไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดขึ้นต่อเนื่องเรื่อยมา จนกระทั่งในปี ๒๕๔๗ รัฐบาลได้ก�าหนดให้การแก้ไขปัญหา

            สถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นการท�าสงครามต่อต้านการก่อการร้ายในประเทศ ส่งผลให้ต่อจากนั้นมา รัฐมีการประกาศใช้
            กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงในพื้นที่  ท�าให้มีการโต้ตอบจากกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบรุนแรงขึ้น ผ่านการสร้างสถานการณ์
                                            ๒๗๕
            ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การท�าร้ายประชาชน การลอบยิง การวางระเบิด การโจมตีฐานปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ และการลอบ
            วางเพลิงสถานศึกษา เป็นต้น



                     ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๗ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ รวมระยะเวลากว่า ๑๓ ปี มีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิด
                                                                                           ๒๗๖
            ขึ้นทั้งสิ้น ๑๖,๑๘๒ ครั้ง มีผู้เสียชีวิตจ�านวน ๖,๘๕๐ ราย และผู้ได้รับบาดเจ็บจ�านวน ๑๒,๕๔๗ ราย  เหตุการณ์ความไม่สงบ
                     ๒๗๐  ปัจจุบันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐
                     ๒๗๑  มาตรา ๒๘ บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การจับและการคุมขังบุคคลจะกระท�ามิได้ เว้นแต่มีค�าสั่งหรือหมายของศาล หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมาย
            บัญญัติ การค้นตัวบุคคลหรือกระท�าใดอันกระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือเสรีภาพในชีวิต หรือร่างกายจะกระท�ามิได้ เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษ
            ด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระท�ามิได้
                     ๒๗๒  มาตรา ๖๘ รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้าน ให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติและให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้
            โดยสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร รัฐพึงมีมาตรการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรม ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยเคร่งครัด ปราศจากการแทรกแซงหรือ
            ครอบง�าใด ๆ รัฐพึงให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่จ�าเป็นและเหมาะสมแก่ผู้ยากไร้ หรือผู้ด้อยโอกาสในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม รวมตลอดถึงการจัดหาทนายความให้
                     ๒๗๓  จาก ความเป็นมาของทฤษฎีแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ไทย, โดย ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, ๒๕๔๙, สืบค้นจาก www.southwatch.org/books.php?id=6
                     ๒๗๔  จาก ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย, ๒๕๖๐, สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
                     ๒๗๕  กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ พระราชก�าหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
            และพระราชบัญญัติรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑
                     ๒๗๖  จาก สถิติเหตุการณ์ชายแดนใต้ในรอบปี ๒๕๕๙, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://www.deepsouthwatch.org/node/10008

                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  149  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155