Page 144 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 144
จะได้ปฏิบัติตามกฎหมายของแต่ละประเทศแล้ว แต่กฎหมายเหล่านั้นยัง
มีช่องว่างที่อาจจะไม่เป็นไปตามหลักการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
ซึ่งที่ผ่านมา มีการถกเถียงกันถึงบทบาทความรับผิดชอบของภาคธุรกิจ
ที่มีต่อเรื่องสิทธิมนุษยชน และผลักดันให้องค์การสหประชาชาติมีกฎหมาย
ระหว่างประเทศก�าหนดความรับผิดชอบส�าหรับบริษัทข้ามชาติเป็นการ
เฉพาะแต่ก็ยังไม่ได้มีการรับรองกฎหมายระหว่างประเทศในลักษณะ
ดังกล่าวจนถึงปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม องค์การสหประชาชาติได้แสวงหาแนวทางใหม่ในการสร้างความร่วมมือกับภาคธุรกิจด้วยการให้ธุรกิจ
สมัครใจแทน โดยในปี ค.ศ. ๒๐๐๕ ได้มอบหมายให้ศาสตราจารย์ John Ruggie ผู้แทนพิเศษเลขาธิการสหประชาชาติ ศึกษา
มาตรฐาน ความรับผิดชอบ (responsibility) และความรับผิด (accountability) ของภาคเอกชน รวมทั้งภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
และสิทธิมนุษยชน โดยด�าเนินการศึกษาวิจัยผ่านกระบวนการปรึกษาหารือทั้งจากภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม ชุมชน
ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก จนในปี ค.ศ. ๒๐๐๘ ได้ออกรายงานเกี่ยวกับหน้าที่ของภาครัฐและธุรกิจ เพื่อป้องกันมิให้เกิด
การละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคธุรกิจภายใต้กรอบ “protect, respect and remedy” กล่าวคือ
๑) “protect” รัฐมีหน้าที่ในการคุ้มครองทุกคนภายใต้เขตอ�านาจรัฐ (jurisdiction) มิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ที่เกี่ยวข้องกับการด�าเนินธุรกิจ รัฐจะต้องมีกระบวนการที่เหมาะสมในการปกป้อง สืบสวนสอบสวน ลงโทษ และเยียวยา สถานการณ์สิทธิมนุษยชนกรณีเฉพาะ
ผ่านนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่มีประสิทธิภาพ
๒) “respect” ธุรกิจมีความรับผิดชอบในการเคารพสิทธิมนุษยชน โดยบริษัทต้องรู้และแสดง (know and show)
ว่าตนได้เคารพสิทธิมนุษยชน บริษัทต้องรู้ผลกระทบ หลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุคคลต่าง ๆ ในทุกที่ที่มีการ
ประกอบกิจการ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใดหรือธุรกิจประเภทใด และระบุผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ถ้าบริษัทพบว่าเป็นสาเหตุ
หรือเป็นส่วนหนึ่งของผลกระทบทางลบต่อสิทธิมนุษยชน บริษัทต้องจัดให้มีหรือมีส่วนในกระบวนการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพ
๓) “remedy” เมื่อเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น รัฐต้องมี
กระบวนการที่ท�าให้แน่ใจได้ว่าเหยื่อ/ผู้เสียหายสามารถเข้าถึงการเยียวยา บทที่
๕
ที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นกลไกทางศาลหรือกลไกที่นอกเหนือจาก
ศาล หรือกระบวนการทางปกครอง และเมื่อปรากฏว่าธุรกิจกระท�าหรือ
มีส่วนท�าให้เกิดผลกระทบทางลบต่อสิทธิมนุษยชน บริษัทถูกคาดหวัง
ให้ริเริ่มหรือเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการบรรเทาผลกระทบต่อบุคคล/ชุมชน
ในระดับปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพ
ต่อมา ในปี ค.ศ. ๒๐๑๑ ศาสตราจารย์ John Ruggie ได้น�าเสนอร่างเอกสารหลักการ
ชี้แนะเรื่องสิทธิมนุษยชนส�าหรับธุรกิจของสหประชาชาติภายใต้กรอบ “คุ้มครอง-เคารพ-เยียวยา”
(Guiding Principles on Business and Human Rights: Implementing the United Nations
“Protect, Respect and Remedy” Framework) ซึ่งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนของ
สหประชาชาติได้ให้การรับรองเอกสารหลักการชี้แนะ UNGP เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๐๑๑ ๒๕๖
และมีการผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ น�าหลักการชี้แนะ UNGP ไปใช้ให้เกิดผลในประเทศของตน
๒๕๖ ประเทศไทยได้ร่วมรับรองหลักการ UN Guiding Principles on Business and Human Rights ในการประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
(Human Rights Council: HRC) ในปี ค.ศ. ๒๐๑๑
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 143 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙