Page 146 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 146
๕.๒.๒ สถานการณ์ทั่วไป
ที่ผ่านมาการด�าเนินกิจการของภาคธุรกิจส่งผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนหลายด้าน ซึ่งส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับ
๒๖๐
แรงงาน แรงงานข้ามชาติ ชุมชน และกลุ่มเปราะบาง อาทิ
กรณีผลกระทบกับแรงงาน เช่น กรณีที่คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกค�าประกาศแจ้งเตือน หรือให้ “ใบเหลือง” กับประเทศไทย
และอาจห้ามน�าเข้าอาหารทะเลของไทย หากไทยล้มเหลวในการบังคับใช้มาตรการอย่างเพียงพอในการจัดการกับปัญหาแรงงาน
การบังคับใช้แรงงานและปัญหาการท�าประมงผิดกฎหมาย ไม่รายงานและไร้การควบคุม หรือไร้กฎระเบียบ (Illegal, Unreported
and Unregulated Fishing: IUU) หรือกรณีที่กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาได้จัดอันดับสถานการณ์การค้ามนุษย์
๒๖๑
(Trafficking In Persons (TIP) Report) ประจ�าปี ๒๕๕๘ โดยประเทศไทยถูกลดระดับลงให้อยู่ในระดับต�่าสุด คือ Tier 3 จากปัญหา
การค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง การผลิตเสื้อผ้า และงานบ้าน ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมประมง อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง
๒๖๒
และอุตสาหกรรมกุ้ง เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกหลักของสินค้ากุ้งและทูน่าจากไทย เป็นต้น
กรณีผลกระทบกับชุมชน เช่น กรณีการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองค�าของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งได้รับ
ประทานบัตรการท�าเหมืองแร่ทองค�าส�าหรับส�ารวจและท�าเหมืองแร่ทองค�า จังหวัดเลย ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของ
ประชาชนในพื้นที่ และมีการแพร่กระจายของสารพิษส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
นอกจากนี้ ปัญหาของการด�าเนินธุรกิจที่ไม่เคารพสิทธิมนุษยชนยังรวมไปถึงการด�าเนินธุรกิจในลักษณะ สถานการณ์สิทธิมนุษยชนกรณีเฉพาะ
“ข้ามพรมแดน” ด้วย เช่น กรณีบริษัทเอกชนไทยแห่งหนึ่งได้รับสัมปทานที่ดิน เพื่อการปลูกอ้อยและจัดตั้งโรงงานน�้าตาลในประเทศ
๒๖๓
กัมพูชาก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนชาวกัมพูชา ซึ่งเรื่องนี้ กสม. ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและมีความเห็นว่า
กรณีมีการกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและแม้บริษัทดังกล่าวไม่ได้เป็นผู้ลงมือกระท�าการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นถือเป็น
ความรับผิดชอบโดยตรงของบริษัทฯ ในบางส่วน โดยมีข้อเสนอแนะนโยบายให้บริษัทฯ พิจารณาเยียวยาการสูญเสีย
ที่เกิดขึ้นและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดตั้งกลไกหรือก�าหนดภารกิจการก�ากับดูแลการลงทุนในต่างประเทศของ
ผู้ลงทุนสัญชาติไทยให้เคารพต่อหลักการพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชน โดยน�าหลักการชี้แนะ UNGP มาเป็นกรอบในการด�าเนินการ บทที่
๕
หรือกรณีที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงกับการท่าเรือของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา) ด�าเนินโครงการ
ท่าเรือน�้าลึกในโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายในประเทศเมียนมา ซึ่งเรื่องนี้ กสม. ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและมีความเห็นว่า
การด�าเนินการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนเมียนมา โดยมีข้อเสนอแนะ
นโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดตั้งกลไกหรือก�าหนดภารกิจการก�ากับดูแลการลงทุนในต่างประเทศของผู้ลงทุน
สัญชาติไทยให้เคารพต่อหลักการพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชน โดยน�าหลักการชี้แนะ UNGP มาเป็นกรอบในการด�าเนินการ ๒๖๔
อนึ่ง เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ รัฐบาลไทยได้แถลงที่จะรับข้อเสนอแนะจากการประชุมทบทวนสถานการณ์
สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยในกระบวนการ Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๓)
จากประเทศต่าง ๆ จ�านวน ๒๔๙ ข้อ รัฐได้พิจารณาตอบรับทันที ๑๘๗ ข้อ โดยข้อ ๔๘ ประเทศสวีเดนเสนอให้ไทยพัฒนา
รับรอง และบังคับใช้แผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (National Action Planon Business and
Human Rights: NAP) เพื่อปฏิบัติตามหลักการชี้แนะเรื่องสิทธิมนุษยชนส�าหรับธุรกิจของสหประชาชาติ (UNGP) และ
๒๖๕
ให้ค�ามั่นโดยสมัครใจที่จะส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจ
๒๖๐ จาก รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๒, โดย มูลนิธิสถาบันวิจัย
เพื่อการพัฒนาประเทศไทย, ๒๕๖๐, กรุงเทพฯ: ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
๒๖๑ จาก ‘เทียร์ ๓’ อาวุธมะกันทุบไทย ประมงส่งออก เป้าหลัก เสี่ยงหายนะ ๔ แสนล้าน, ,โดย ไทยรัฐออนไลน์, ๒๕๕๘, สืบค้นจาก http://www.thairath.co.th/content/515228
๒๖๒ จาก ไม่รอด TIER 3 “ไทย” ค้ามนุษย์ระดับโลก ทหารเปิดไพ่กวาดล้าง นายหน้า, ๒๕๕๗, สืบค้นจาก https://www.hfocus.org/content/2014/06/7462
๒๖๓ รายงานการตรวจสอบ ที่ ๑๑๕/๒๕๕๘
๒๖๔ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๙ ให้กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงานหลักในการพิจารณาหลัก UNGP ในโครงการท่าเรือ
น�้าลึกและเขตเศรษฐกิจทวายประเทศเมียนมา ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
๒๖๕ Report of the Working Group on the Universal Periodic Review, A/HRC/33/16, (15 July 2016) ข้อ ๑๕๘.๔๙
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 145 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙