Page 152 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 152

(Concluding Observation) ว่ารัฐมีการคงสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลานานและมีข้อจ�ากัดการใช้สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน
            และมีความห่วงใยที่มีข้อกล่าวหาจ�านวนมากว่า มีการกระท�าทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายในระหว่างประกาศสถานการณ์

            ฉุกเฉินในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ข้อกังวลเกี่ยวกับกฎหมายพิเศษที่ให้อ�านาจเจ้าหน้าที่ในการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยในคดี
            ความมั่นคง ข้อกังวลต่อการได้รับการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกคุมขัง และข้อกังวลต่อการไม่ได้รับการคุ้มครองพื้นฐานทางกฎหมาย
            ของผู้ถูกจับกุมและผู้ที่ถูกกักตัว เป็นต้น ๒๘๐


                                                                        ในด้านสิทธิเด็กในจังหวัดชายแดนภาคใต้

                                                               คณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติได้มีข้อกังวลว่าเด็ก
                                                               ยังคงตกเป็นเหยื่อของการระเบิดและการโจมตีที่รุนแรง
                                                               อื่น ๆ โดยกลุ่มติดอาวุธที่ไม่ใช่รัฐ การมีกองทัพอยู่ในบริเวณ

                                                               สถานศึกษา และจ�านวนเด็กที่ได้รับผลกระทบทางจิตใจ
                                                               ทั้งทางตรงและทางอ้อม  ประกอบกับข้อเสนอแนะของ
                                                               คณะกรรมการฯ ต่อพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วย
                                                               สิทธิเด็ก เรื่อง ความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วย
                                                               อาวุธ ที่ยังเป็นห่วงเกี่ยวกับรายงาน การมีเด็กเข้าไปเกี่ยวข้อง

            แบบไม่เป็นทางการในภารกิจต่าง ๆ ของชุดรักษาความปลอดภัยประจ�าหมู่บ้าน (ชรบ.) ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยท�าหน้าที่เช่นเดียว  สถานการณ์สิทธิมนุษยชนกรณีเฉพาะ
            หรือมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับสมาชิกที่เป็นทางการของ ชรบ. ความชัดเจนของกฎระเบียบที่ใช้บังคับ และความตระหนักของเจ้าหน้าที่
            เกี่ยวกับกฎระเบียบดังกล่าว ตลอดจนการขาดการด�าเนินงานตามนโยบายและขั้นตอนที่ก�าหนดไว้ และการขาดการอ�านวยการและ

            การก�าหนดความรับผิดชอบที่มีประสิทธิภาพ อันจะท�าให้เกิดสถานการณ์ซึ่งเด็กอาจเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับ ชรบ. ทั้งอย่างเป็น
            ทางการหรือไม่เป็นทางการได้ รวมถึงข้อกังวลเกี่ยวกับรายงานการจับกุมและการกักขังเด็กภายใต้กฎอัยการศึกและพระราชก�าหนด
            ฉุกเฉินในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และคณะกรรมการฯ ยังได้แสดงความกังวลเป็นพิเศษว่า ภายใต้กฎหมายความมั่นคง
            ที่เกี่ยวข้องมิได้มีการห้ามกักขังเด็ก แต่กลับสามารถกักขังได้ถึง ๓๐ วัน ซึ่งเด็กเหล่านี้อาจตกเป็นเหยื่อของการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
            (ill-treatment) และการกักขังเดี่ยว หรือกักขังร่วมกับผู้ต้องขังที่เป็นผู้ใหญ่  เช่นเดียวกับคณะกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี    บทที่
                                                                    ๒๘๑
                                                                                                                    ๕
            (CEDAW) ที่มีความห่วงกังวลต่อสถานการณ์สิทธิสตรีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยคณะกรรมการฯ ได้ขอให้รัฐบาลไทย
            ให้ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการต่าง ๆ ที่ได้ด�าเนินการเพื่อป้องกันและคุ้มครองสตรีและเด็กหญิงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งและ
            ประกันการเข้าถึงความยุติธรรมของสตรีและเด็กหญิง และขอให้ระบุถึงมาตรการที่ได้ด�าเนินการเพื่อคุ้มครองโรงเรียน บุคลากรครู

            และนักเรียนจากการโจมตีทางอาวุธ รวมถึงขอให้รัฐบาลไทยให้ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของสตรีในกลไกต่าง ๆ ในจังหวัด
            ชายแดนภาคใต้และกลไกที่มีอยู่อื่น ๆ เกี่ยวกับการสร้างสันติภาพและความมั่นคงทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ตลอดจน


                     ๒๘๐  ข้อห่วงกังวลของคณะกรรมการประจ�าอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย�่ายีศักดิ์ศรี (CAT) ด้าน
            สิทธิในกระบวนการยุติธรรม ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในการประชุมครั้งที่ ๑๒๓๙ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๗ (CAT/C/SR.1239)
                           ๑. จ�านวนข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการใช้การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายต่อผู้ต้องสงสัยในคดีความมั่นคง โดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและเจ้าหน้าที่ทหาร
            ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้ได้มาซึ่งค�าสารภาพ
                            ๒. ข้อกังวลเกี่ยวกับกฎหมายพิเศษที่ให้อ�านาจเจ้าหน้าที่ในการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยในคดีความมั่นคง ตามกฎอัยการศึกมาตรา ๑๕ และพระราชก�าหนดการ
            บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินมาตรา ๑๒ ซึ่งผู้ต้องสงสัยสามารถถูกควบคุมตัวได้นานถึง ๓๗ วันโดยไม่มีหมาย หรือก�ากับดูแลจากกระบวนการยุติธรรมก่อนที่จะถูกน�าตัวไปที่ศาล
            นอกจากนี้ไม่ระบุว่า ต้องน�าตัวผู้คุมขังถูกมาปรากฏตัวต่อศาลในการควบคุมตัวขั้นตอนใด ๆและมักไม่มีการเปิดเผยที่ตั้งของสถานที่ควบคุมตัวเสมอไป
                            ๓. ข้อกังวลต่อค�ากล่าวอ้างว่า ผู้ถูกคุมขังมักจะได้รับการปฏิเสธสิทธิที่จะติดต่อสมาชิกครอบครัวและให้สมาชิกในครอบครัวเยี่ยมทันทีที่สูญเสียเสรีภาพ และ
            ขาดการคุ้มครองสิทธิที่จ�าเป็นบางอย่าง เช่น สิทธิที่จะติดต่อทนายความ และได้รับการตรวจร่างกายโดยแพทย์ที่เป็นอิสระทันทีที่สูญเสียเสรีภาพ เป็นต้น
                            ๔. ข้อกังวลต่อกฎหมายพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎอัยการศึกมาตรา ๗ และพระราชก�าหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินมาตรา ๑๗ ที่
            จ�ากัดความรับผิดของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้สถานการณ์ฉุกเฉินโดยให้ความคุ้มครองมิให้เจ้าหน้าที่ถูกฟ้องร้อง ในกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงรวมทั้งการกระท�าทรมาน
            ซึ่งเป็นการละเมิดบทบัญญัติของอนุสัญญาฯ
                           ๕. ข้อกังวลต่อการไม่ได้รับการคุ้มครองพื้นฐานทางกฎหมายของผู้ถูกจับกุมและผู้ที่ถูกกักตัวไว้ โดยการคุ้มครองพื้นฐานทางกฎหมายดังกล่าวรวมถึง การบันทึก
            ทะเบียนผู้ถูกควบคุมตัวอย่างเป็นทางการ สิทธิของผู้ถูกควบคุมตัวที่ได้รับการแจ้งให้ทราบถึงสิทธิของตน สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายที่เป็นอิสระโดยพลัน สิทธิที่จะได้รับ
            ความช่วยเหลือทางการแพทย์ที่เป็นอิสระ สิทธิที่จะติดต่อญาติ ความจ�าเป็นที่จะต้องสร้างกลไกการตรวจสอบและเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัวและสถานที่จองจ�าที่เป็นกลาง ความพร้อมที่
            ผู้ถูกควบคุมตัวและบุคคลที่มีความเสี่ยงว่าจะถูกกระท�าทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย จะได้รับการพิจารณาคดีและการเยียวยาอื่น ๆ ซึ่งช่วยให้มีการตรวจสอบข้อร้องเรียนของบุคคล
            ดังกล่าวโดยเร็วและ เป็นกลาง การตรวจสอบเพื่อปกป้องสิทธิของบุคคลดังกล่าวข้างต้นและการคัดค้านกฎหมายการควบคุมตัว หรือการปฏิบัติที่โหดร้าย นอกเหนือจากมาตรการอื่นๆ
            คณะกรรมการกังวลว่า ยังไม่ได้รับข้อมูลที่ได้ร้องขอเพื่อการตรวจสอบการป้องกัน รวมทั้ง ข้อมูลการใช้สิทธิในการขอให้ศาลสั่งให้น�าตัวผู้ถูกคุมขังมาปรากฏตัวต่อหน้าศาล ที่เป็นผลส�าเร็จด้วย
                     ๒๘๑  การประชุมคณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ ๑๖๘๒ และครั้งที่ ๑๖๘๓ วันที่ ๒๔ และ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๕


                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  151  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157