Page 143 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 143
ประสิทธิภาพ และเพิ่มความพยายามคัดกรองเหยื่อค้ามนุษย์เชิงรุก และระบุกรณีการค้ามนุษย์ที่ไม่มีการขู่เข็ญบังคับโดยก�าลัง
หรือสภาพขัดหนี้ และรัฐบาลควรพยายามเสนอทางเลือกอื่นที่ถูกกฎหมายให้แก่เหยื่อค้ามนุษย์ที่ต้องเผชิญกับการถูกแก้แค้น
หรือเผชิญกับชีวิตที่ยากล�าบากเมื่อถูกส่งกลับประเทศต้นทาง ดังนั้น การที่ประเทศไทยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุม
การขอทาน พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยมีบทบัญญัติให้การขอทานถือว่ามีความผิดและมีอัตราโทษจ�าคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน
๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจ�าทั้งปรับ และผู้แสดงดนตรีหรือความสามารถอื่นใดไม่ถือเป็นการขอทาน แต่ต้องมีการขึ้นทะเบียน
รวมถึงการขออนุญาตจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อนท�าการแสดง ซึ่งการขึ้นทะเบียนผู้แสดงความสามารถนั้น
จะช่วยลดปัญหาการน�าเด็กมาแสวงหาผลประโยชน์ลงได้
ส่วนกลไกการช่วยเหลือเด็กขอทานที่ยังขาดการบูรณาการและประสิทธิภาพนั้น จะมีผลกระทบต่อการแก้ไขปัญหา
เด็กขอทานในระยะยาว โดยอาจท�าให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นกับหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งอาจท�าให้การรณรงค์ให้คนในสังคม
หยุดการให้เงินกับเด็กขอทานไม่ได้ผลบรรลุตามเป้าหมาย เนื่องจากพลเมืองดีมองไม่เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของคุณภาพ
ชีวิตเด็ก ภายหลังการแจ้งเบาะแสไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ปัจจัยนี้ถือเป็นโจทย์ที่ท้าทายของกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ เพราะเป็นปัญหาที่ติดขัดและถูกกล่าวถึงตลอดหลายปีที่ผ่านมา และยังคงไม่ได้รับการแก้ไขอย่าง
เป็นรูปธรรมนัก ดังนั้น ปัญหาเด็กขอทานตามข้างถนน หน่วยงานภาครัฐจึงไม่ควรละเลยหรือมองว่าเป็นปัญหาที่เล็กน้อย
เพราะเด็กเหล่านี้ล้วนขาดโอกาสทางการศึกษาและใช้ชีวิตแบบปกติ จึงมีความเสี่ยงที่จะถูกชักจูงหรือก้าวเข้าสู่ปัญหา
การค้ามนุษย์อื่น ๆ ได้ เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ รวมทั้งนโยบายการจัดระเบียบคนขอทานทั่วประเทศของกระทรวงการพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ควรเดินหน้าต่อไป และมีความชัดเจนในเรื่องของแนวทางการปฏิบัติหรือด�าเนินคดี
กับผู้ที่พาเด็กมาขอทานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งการขึ้นทะเบียนกลุ่มผู้แสดงดนตรีหรือแสดงความ
สามารถต่าง ๆ โดยอาจต้องมีการประเมินผลของมาตรการว่าเป็นไปอย่างราบรื่นหรือไม่ อย่างไร
จากสถานการณ์โดยรวมของปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทย เห็นได้ว่ามีความพยายามในการแก้ไขปัญหาทั้งในภาครัฐ
และองค์กรเอกชน และมีการประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งในส่วนของการออกกฎหมาย มาตรการต่าง ๆ การเร่งรัด
กระบวนการด�าเนินการ โดยน�าข้อเสนอแนะและข้อสังเกตต่าง ๆ ของคณะกรรมการประจ�ากติกาและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งสหประชาชาติมาเป็นกรอบในการด�าเนินการ ท�าให้สถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศไทยในปี ๒๕๕๙ คลี่คลายขึ้น น�ามา
ซึ่งการพิจารณาเปลี่ยนสถานะของประเทศไทยจากการถูกก�าหนดสถานะอยู่ในระดับ Tier ๓ (กลุ่มประเทศที่สถานการณ์
การค้ามนุษย์ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต�่าของ TVPA และรัฐบาลประเทศนั้นไม่ด�าเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง) ในปี ๒๕๕๘
มาเป็นสถานะ Tier ๒ (กลุ่มประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ) ซึ่งหากประเทศไทยมีการด�าเนินนโยบายและมาตรการที่ได้
จัดให้มีขึ้นแล้วอย่างต่อเนื่องและจริงจังต่อไป ก็จะท�าให้สถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศไทยคลี่คลายเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน
๕.๒ ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
๕.๒.๑ หลักการสิทธิมนุษยชน
การด�าเนินธุรกิจสามารถก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนทั้งทางบวก เช่น การจ้างงาน การสร้างนวัตกรรม
และบริการต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน แต่ธุรกิจก็สามารถส่งผลกระทบทางลบ รวมถึงการละเมิดสิทธิ
ของบุคคลและชุมชนได้ ทั้งในรูปของผลกระทบต่อการด�ารงชีวิตของชุมชน การก่อมลภาวะ การโยกย้ายที่อยู่ การเอาเปรียบ
แรงงาน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนไม่ได้ก�าหนดพันธะผูกพันทางกฎหมายต่อ
ภาคธุรกิจเช่นบริษัทธุรกิจไว้โดยตรง แต่ได้ก�าหนดให้รัฐเป็นผู้รับผิดชอบ มีพันธกรณีระหว่างประเทศโดยการตรากฎหมาย
๒๕๕
และบังคับใช้กฎหมายภายในประเทศที่มีบทบัญญัติให้บริษัทธุรกิจต้องเคารพต่อสิทธิมนุษยชน หลายกรณีพบว่า แม้ธุรกิจ
๒๕๕ Frequently Asked Questions about the Guiding Principles on Business and Human Rights, United Nations Human Rights Office of the
High Commissioner
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 142 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙