Page 142 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 142

นอกจากนี้ รัฐบาลไทยได้เพิ่มความพยายามจัดการกับปัญหา
                                                        เจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมการค้ามนุษย์ รัฐบาลไทย

                                                        ได้จัดตั้งส�านักงานคดีค้ามนุษย์ในส�านักงานอัยการสูงสุด และแผนกคดี
                                                        ค้ามนุษย์ในศาลอาญา พร้อมเพิ่มการฝึกอบรมเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ให้แก่
                                                        เจ้าหน้าที่ต�ารวจ ผู้พิพากษา ผู้ตรวจสอบแรงงาน นักสังคมสงเคราะห์ และ
                                                        ข้าราชการกองทัพเรือ คณะท�างานผู้เชี่ยวชาญพหุวิทยาการด�าเนินการ
                                                        ตรวจสอบเรือประมงและโรงงานแปรรูปอาหารทะเลที่อยู่บนฝั่ง รัฐบาล

                                                        ด�าเนินการขอรับค�าแนะน�าจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากกลุ่มต่าง ๆ
                                                        เพื่อปรับปรุงค�าถามและกระบวนการระบุอัตลักษณ์เหยื่อค้ามนุษย์
            พร้อมกับว่าจ้างล่ามเพิ่มขึ้น รัฐบาลไม่ได้เสนอทางเลือกอื่นที่ถูกกฎหมายให้แก่เหยื่อค้ามนุษย์ที่ต้องเผชิญกับการถูกแก้แค้น

            หรือเผชิญกับชีวิตที่ยากล�าบากเมื่อถูกส่งกลับประเทศต้นทาง ศาลยกฟ้องคดีหมิ่นประมาทต่อผู้สื่อข่าวสองคนที่รายงานเรื่อง
            การค้ามนุษย์และการสมรู้ร่วมคิดของเจ้าหน้าที่รัฐ ในส่วนของศาลยุติธรรมได้ออกข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยวิธีการ
            ด�าเนินคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๙ เพื่อให้การด�าเนินคดีที่เกี่ยวกับความผิดฐานค้ามนุษย์เป็นไปด้วยความรวดเร็ว สอดคล้อง
            กับข้อเท็จจริง และคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายหรือเหยื่อมากยิ่งขึ้น



                     ในช่วงต้นปี ๒๕๕๙ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ยังคงเดินหน้านโยบายการจัดระเบียบ  สถานการณ์สิทธิมนุษยชนกรณีเฉพาะ
            คนขอทานทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีกิจกรรมการรณรงค์สร้างความตระหนักให้คนในสังคมและนักท่องเที่ยว
            ชาวต่างชาติได้เข้าใจต่อปัญหาเด็กขอทานมากยิ่งขึ้น ภายใต้สโลแกน “ให้ทานอย่างถูกวิธี ลดวิธีการขอทาน” โดยเน้นไปใน

            จังหวัดที่เป็นเมืองเศรษฐกิจ เช่น กรุงเทพมหานคร ชลบุรี ภูเก็ต เป็นต้น


                     นอกจากนี้ ประเทศไทยได้เริ่มมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. ๒๕๕๙ ซึ่งเป็นกฎหมาย
            ที่ได้รับการแก้ไขมาจากพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. ๒๔๘๔ โดยมีบทบัญญัติที่ส�าคัญ คือ พฤติกรรมการขอทาน
            ถือว่ามีความผิดและมีอัตราโทษจ�าคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจ�าทั้งปรับ และผู้แสดงดนตรี  บทที่
                                                                                                                    ๕
            หรือความสามารถอื่นใดไม่ถือเป็นการขอทาน แต่ต้องมีการขึ้นทะเบียน รวมถึงการขออนุญาตจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
            ก่อนท�าการแสดง ซึ่งถือเป็นเรื่องดีของกฎหมายฉบับดังกล่าวที่แยกกลุ่มผู้แสดงดนตรีหรือความสามารถออกจากกลุ่มขอทาน
            เพราะที่ผ่านมาผู้แสดงดนตรีหรือความสามารถมักได้รับผลกระทบจากการกวาดล้างหรือจัดระเบียบคนขอทานมาโดยตลอด

            อีกทั้งการขึ้นทะเบียนผู้แสดงความสามารถนั้น ก็จะช่วยลดปัญหาการน�าเด็กมาแสวงหาผลประโยชน์หรือกลุ่มมิจฉาชีพที่แฝง
            มาท�าการแสดง เพื่อน�ารายได้ไปใช้ในทางมิชอบได้อีกด้วย และกฎหมายฉบับนี้จะช่วยอุดช่องว่างของกฎหมายฉบับอื่น ๆ
            ที่บัญญัติถึงปัญหาการน�าเด็กมาขอทาน อาทิ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ และพระราชบัญญัติป้องกันและ
            ปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นอีกด้วย


            ๕.๑.๔ การประเมินสถานการณ์

                     แม้รัฐบาลไทยยังไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต�่าอย่างเต็มที่ในการขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ อย่างไรก็ดี รัฐบาลไทย
            ได้พยายามอย่างมีนัยส�าคัญในการด�าเนินการดังกล่าว มีความก้าวหน้าอย่างมากในเรื่องเกี่ยวกับการออกกฎหมายหรือแก้ไข

            กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ หรือมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ตลอดจนมาตรการในการ
            ด�าเนินการต่อผู้กระท�าความผิดทั้งในส่วนของผู้ค้าและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยมีความร่วมมือก�าหนดแนวทางด�าเนินการ
            เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ตั้งแต่เจ้าหน้าที่ต�ารวจ เจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
            ของมนุษย์ ส�านักงานอัยการสูงสุด และศาลยุติธรรม โดยเฉพาะในเรื่องของการบังคับใช้แรงงานและการบังคับค้าประเวณี
            หรือเพื่อป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ในส่วนของความเห็นจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา และคณะกรรมการ

            สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเห็นว่า การด�าเนินการของประเทศไทยควรเติมเต็มในส่วนของการบังคับใช้กฎหมายให้มี


                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  141  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147