Page 149 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 149

ดังนั้น แม้ว่าหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนจะเริ่มตระหนักถึงความเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
        แล้วก็ตาม แต่ยังคงจ�าเป็นที่จะต้องด�าเนินการอย่างจริงจังและเป็นระบบอีกหลายประการ อาทิ

                 - การมีมาตรการเพื่อให้การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจากการประกอบธุรกิจมีประสิทธิผลมากขึ้น
        โดยเฉพาะการน�าหลักการ UNGP ซึ่งเป็นหลักการที่ก�าหนดบทบาทของภาครัฐและภาคธุรกิจในการด�าเนินการที่เกี่ยวข้อง
        กับเรื่องธุรกิจและสิทธิมนุษยชน
                 - การส่งเสริมให้มีการน�าหลักการชี้แนะ UNGP ไปใช้ในภาคธุรกิจ รวมถึงกิจการที่รัฐเป็นเจ้าของหรือรัฐเป็นผู้ก�ากับ
        ดูแล เช่น รัฐวิสาหกิจ เป็นต้น

                 - การจัดท�าแผนปฏิบัติการชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (NAP) โดยการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังจากทุกฝ่าย ทั้งจาก
        หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานก�ากับดูแลภาคธุรกิจ ผู้ได้รับผลกระทบ และน�าไปใช้ในการปฏิบัติจริงให้เกิดผล
                 - การสร้างความตระหนักและเผยแพร่ความรู้หลักการ UNGP แก่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาครัฐ ธุรกิจ ประชาสังคม

        วิชาการ สมาคมวิชาชีพรวมถึงภาคประชาสังคม เป็นต้น
                 - การให้ความช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางหรือเล็กในการน�าหลักการชี้แนะ UNGP ไปใช้ โดยไม่สร้างภาระด้านต้นทุนเพิ่ม
                 - การก�าหนดประเด็น “สิทธิมนุษยชน” ในยุทธศาสตร์การลงทุน และสร้างแรงจูงใจในการด�าเนินธุรกิจบนหลักการสิทธิมนุษยชน
                 - การสนับสนุนให้มีกลไกติดตามตรวจสอบการด�าเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน ผ่านหน่วยงานผู้ก�ากับดูแล เช่น
        ก.ล.ต. กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงาน เป็นต้น

                 - การน�าประเด็น “สิทธิมนุษยชน” สอดแทรกอยู่ในเรื่องที่รัฐต้องด�าเนินการ อาทิ การขับเคลื่อนการพัฒนาภายใต้
        กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)


         ๕.๓  สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้



        ๕.๓.๑ หลักการสิทธิมนุษยชน
                 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political
        Rights: ICCPR) ให้การรับรองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เช่น สิทธิในการมีชีวิตอยู่ เสรีภาพจากการถูกทรมาน

        การห้ามบุคคลมิให้ตกอยู่ในภาวะเยี่ยงทาส การห้ามบุคคลมิให้ถูกจับกุมโดยตามอ�าเภอใจ การปฏิบัติต่อผู้ถูกลิดรอนเสรีภาพอย่าง
        มีมนุษยธรรม ความเสมอภาคของบุคคลภายใต้กฎหมาย การห้ามมิให้มีการบังคับใช้กฎหมายอาญาย้อนหลัง สิทธิการได้รับรอง
        เป็นบุคคลตามกฎหมาย การห้ามแทรกแซงความเป็นส่วนตัว การคุ้มครองเสรีภาพทางความคิด เสรีภาพในการแสดง

        ความคิดเห็นและการแสดงออก เป็นต้น ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทาง
        การเมือง โดยการภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ และมีผลใช้บังคับกับประเทศไทย เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม
        พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยได้ท�าค�าแถลงตีความไว้ ๔ ประเด็น ได้แก่ (๑) ข้อบทที่ ๑ วรรค ๑ เรื่องการใช้สิทธิในการก�าหนดเจตจ�านง
        ของตนเอง การก�าหนดสถานะทางการเมือง การด�าเนินการทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอย่างเสรี (๒) ข้อบทที่ ๖
        วรรค ๕ การพิพากษาประหารชีวิตบุคคลอายุต�่ากว่า ๑๘ ปี (๓) ข้อบทที่ ๙ วรรค ๓ ระยะเวลาในการน�าผู้ถูกจับกุมไปศาล

        และ (๔) ข้อบทที่ ๒๐ วรรค ๑ การห้ามโฆษณาชวนเชื่อเพื่อสงคราม โดยต่อมา ประเทศไทยได้ถอนค�าแถลงตีความ
        ข้อบทที่ ๖ วรรค ๕ และข้อบทที่ ๙ วรรค ๓ มีผลตั้งแต่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๕



                 อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย�่ายีศักดิ์ศรี
        (Convention Against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment: CAT) ซึ่งประเทศไทย
        ได้เข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๐ และมีผลใช้บังคับกับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน
        ๒๕๕๐ มีวัตถุประสงค์ในการระงับและยับยั้งการกระท�าการทรมานและทารุณกรรมในทุกรูปแบบและทุกสถานการณ์
        และให้รัฐภาคีออกมาตรการทางกฎหมายหรือมาตรการต่าง ๆ ที่จ�าเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้มีการกระท�าการทรมานในประเทศตน





                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  148  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154