Page 141 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 141

ต่อศาลแขวงพระนครเหนือ ฐานความผิดเป็นคนต่างด้าวไม่ท�างานตามประเภทหรือลักษณะงานที่ได้รับอนุญาต และเข้าไปมั่วสุม
        ในสถานการค้าประเวณีเพื่อประโยชน์ในการค้าประเวณีของตนเองหรือผู้อื่น ศาลได้พิพากษาว่าหญิงทั้ง ๒๑ คน กระท�า

        ความผิดจริงและพิพากษาลงโทษปรับ ต่อมาเจ้าหน้าที่ต�ารวจได้กักตัวหญิงทั้ง ๒๑ คนไว้โดยเห็นว่าเป็นพยานส�าคัญในคดีค้ามนุษย์


                 รัฐบาลได้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ในมาตรา ๖ และมาตรา ๙
        ให้สอดรับกับพิธีสารต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะในหญิงและเด็ก ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีแล้ว ในเรื่องการนิยามค�าว่า
        “เหยื่อการค้ามนุษย์” ในส่วนของการค้าประเวณี ให้รวมถึงกรณีที่ผู้กระท�าการค้าประเวณีได้กระท�าด้วยความยินยอมหรือ

        สมัครใจด้วย โดยการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวได้ประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายเมื่อเดือนมกราคม ๒๕๖๐ ๒๕๒


        ๓) การบังคับขอทาน

                 จากสถิติการรับแจ้งเบาะแสการน�าเด็กมาเป็นเครื่องมือในการขอทานหรือแสวงหาผลประโยชน์ในรูปแบบอื่น ๆ ของ
        โครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงา ตลอดปี ๒๕๕๙ พบว่า ตัวเลขการรับแจ้งเบาะแส ยังคงอยู่ในระดับ ๓๐๐ ราย
        ใกล้เคียงกับปี ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา แม้ว่ากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จะมีการท�าบันทึกข้อตกลง
        ความร่วมมือ (MOU) กับ องค์กรเฟรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล ในการพัฒนารูปแบบการส่งกลับกลุ่มขอทานจากประเทศกัมพูชา โดย
        อาศัยเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศต้นทางให้ช่วยดูแลกลุ่มขอทานภายหลังการส่งกลับไปแล้วก็ตาม แต่เนื่องจาก

        รูปแบบดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนของการทดลองระบบ จึงอาจยังไม่มีกรณีศึกษาที่เป็นรูปธรรมมากนัก นอกจากนี้ กลไกการ
        ช่วยเหลือเด็กขอทานภายหลังการรับแจ้งเหตุจากพลเมืองดีนั้นยังคงมีความล่าช้าอยู่มาก นอกจากปัญหาเรื่องการน�าเด็กมา
        เป็นเครื่องมือในการขอทานแล้ว



                 ในปี ๒๕๕๙ ยังพบกรณีเด็กที่มาท�าการขอทานในช่วงเวลากลางคืน และมีความเสี่ยงที่จะถูกชาวต่างชาติ
        ซื้อบริการหรือละเมิดทางเพศอีกด้วย โดยในกรณีนี้จะมีชาวต่างชาติมาให้เงินกับเด็ก พาไปซื้อสินค้าต่าง ๆ เช่น ขนม เสื้อผ้า หรือ
        สมาร์ทโฟน เป็นต้น และสุดท้ายมีการชักชวนกลุ่มเด็กไปเที่ยวเล่นในพื้นที่ต่างจังหวัดหรือชักชวนไปยังที่พักของชาวต่างชาติ
        ซึ่งมีเด็กขอทานหลายรายที่ให้ข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน สะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มเด็กขอทานซึ่งวิถีชีวิตประจ�าวันส่วนใหญ่

        ต้องวนเวียนอยู่ข้างถนนนั้น มีความเสี่ยงที่จะก้าวเข้าสู่การเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ในรูปแบบอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน


        ๔) การถูกประเมินระดับการค้ามนุษย์ ๒๕๓

                 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ประกาศรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ประจ�าปี ๒๕๕๙ โดยปรับระดับให้ไทย
        อยู่ในกลุ่ม Tier 2 ซึ่งเป็นอันดับที่ดีขึ้น โดยได้เผยแพร่รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ หรือ Tip Report อย่างเป็นทางการ
        โดยได้ยกระดับไทยให้อยู่ใน Tier 2 ซึ่งรายงานระบุว่า แม้ไทยจะยังแก้ปัญหาไม่ได้มาตรฐานของสหรัฐฯ แต่ได้มีความพยายาม
        อย่างมีนัยส�าคัญจึงได้รับการปรับอันดับขึ้น โดยมีการแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มการด�าเนินคดี มีกฎหมายพิทักษ์พยาน และ
        สั่งปิดสถานประกอบการที่ค้ามนุษย์ ท�าให้สามารถเพิ่มจ�านวนคดีได้อย่างมาก รวมถึงศาลได้ยกฟ้องคดีหมิ่นประมาทผู้สื่อข่าว

        ที่รายงานข่าวการค้ามนุษย์ และมีการตั้งศาลอาญาแผนกคดีค้ามนุษย์เพื่อย่นระยะการด�าเนินคดี


        ๕) การออกกฎหมายและการด�าเนินการแก้ไขปัญหา ๒๕๔

                 รัฐบาลได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
        กับการบังคับใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมการประมงและอาหารทะเล โดยเพิ่มบทลงโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญาต่อนักค้ามนุษย์
        อนุญาตให้สั่งปิดธุรกิจที่มีการบังคับใช้แรงงาน และให้ความคุ้มครองแก่ผู้ที่พบเห็นเหตุการค้ามนุษย์และแจ้งข้อมูลต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ



                 ๒๕๒  ข้อมูลจากนางสาวศิริวรรณ ว่องเกียรติไพศาล ทนายความด้านการค้ามนุษย์ สัมภาษณ์เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๐
                 ๒๕๓  ส�านักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์
                 ๒๕๔  ข้อมูลจากสถานทูตอเมริกาประจ�าประเทศไทย สถานการณ์ด้านการค้ามนุษย์ในประเทศไทย ประจ�าปี ๒๕๕๙

                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  140  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146