Page 140 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 140
นอกจากนี้ แผนสิทธิมนุษยชนของกลุ่มเหยื่อ/ผู้เสียหาย ซึ่งมีข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการให้รัฐก�าหนดให้มีมาตรการ
บางประการในการคุ้มครองและช่วยเหลือเหยื่อของการค้ามนุษย์ ควรมีมาตรการแก้ไขปัญหากลุ่มเหยื่อจากการค้ามนุษย์ และ
ประกันว่าจะไม่มีการใช้มาตรการใด ๆ ที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนกับคนกลุ่มเหล่านี้
๕.๑.๓ สถานการณ์ปี ๒๕๕๙
๑) การบังคับใช้แรงงาน ๒๔๘
การค้ามนุษย์ในภาคอุตสาหกรรมการประมงยังเป็นประเด็นน่ากังวลที่ส�าคัญ ชายชาวไทย พม่า กัมพูชาและ
อินโดนีเซียตกเป็นเหยื่อบังคับใช้แรงงานตามเรือประมงของไทยและของต่างชาติ บางคนต้องอยู่บนเรือกลางทะเลนาน
หลายปี โดยได้รับค่าแรงเพียงเล็กน้อยหรือได้รับค่าจ้างอย่างไม่สม�่าเสมอ และถูกบังคับให้ท�างานวันละ ๑๘ - ๒๐ ชั่วโมง เป็นเวลา
เจ็ดวันต่อสัปดาห์ หรือถูกข่มขู่ ถูกทุบตี ถูกวางยาให้ท�างานนานมากขึ้น และแม้แต่ถูกฆ่าตายเมื่อล้มเจ็บ พยายามหนีหรือ
ขัดค�าสั่ง เหยื่อการค้ามนุษย์บางรายในอุตสาหกรรมการประมงประสบปัญหาการกลับบ้าน เนื่องจากที่ตั้งของสถานประกอบการ
อยู่ห่างไกลชุมชน ไม่ได้รับค่าจ้าง และไม่มีเอกสารแสดงอัตลักษณ์บุคคลที่ถูกกฎหมาย หรือไม่มีวิธีการเดินทางกลับบ้าน
ของตนได้อย่างปลอดภัย
แรงงานอพยพโดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีเอกสารจะไม่กล้าแจ้งความ สถานการณ์สิทธิมนุษยชนกรณีเฉพาะ
ถึงอาชญากรรมค้ามนุษย์และไม่กล้าเรียกร้องสิทธิของตนเอง เช่น ไม่กล้า
แจ้งความด�าเนินคดีกรณีถูกล่วงเกินทางเพศ หรือไม่ได้รับค่าแรง
๒๔๙
ตามกฎหมาย หรือไม่กล้าให้ความร่วมมือกับทางการ เนื่องจากไม่ค่อย
ได้รับความคุ้มครองทั้งในประเทศไทยและประเทศต้นก�าเนิด
อีกทั้งไม่มีความรู้เกี่ยวกับสิทธิของตน นอกจากนี้ ยังมีข้อเท็จจริง
เกี่ยวกับการขู่กรรโชกเงินจากแรงงานอพยพและการน�าแรงงานอพยพ
ไปขายให้นายหน้า แรงงานอพยพบางคนถูกลักพาตัวและถูกจับไปเรียกค่าไถ่ ซึ่งท�าให้แรงงานอพยพเหล่านี้มีความเสี่ยงมากขึ้น บทที่
๕
ต่อการถูกแสวงประโยชน์ในการบังคับให้บริการทางเพศ บังคับใช้แรงงาน หรือมีสภาพเป็นแรงงานขัดหนี้
ในส่วนของผู้ติดตามแรงงานต่างด้าว ยังไม่มีการขึ้นทะเบียนผู้ติดตามแรงงานต่างด้าว เนื่องจากระเบียบของ
กรมแรงงานก�าหนดให้นายจ้างเป็นผู้พาแรงงานต่างด้าวและผู้ติดตามไปขึ้นทะเบียน ดังนั้น หากนายจ้างมิได้ด�าเนินการ
ขึ้นทะเบียนให้แรงงานและผู้ติดตามท�าให้ไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น สิทธิในเรื่องการรักษาพยาบาล นอกจากนี้
๒๕๐
ยังไม่มีการขึ้นทะเบียนบุตรของแรงงานต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทย ท�าให้ไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานเช่นกัน เป็นต้น
๒) การบังคับค้าประเวณี
กรณีหญิงต่างด้าวที่ท�างานในสถานบริการนาตารีถูกจับกุม
๒๕๑
และกักตัว เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๙ เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษ
กรมการปกครองและสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน กระทรวงมหาดไทย
ได้จับกุมหญิงต่างด้าวและหญิงที่ถือบัตรประจ�าตัวบุคคลบนพื้นที่สูง
จ�านวน ๒๑ คน ที่ท�างานอยู่ในสถานบริการอาบอบนวดนาตารี
และต่อมาสถานีต�ารวจนครบาลห้วยขวางได้น�าหญิงทั้ง ๒๑ คน ส่งฟ้อง
๒๔๘ ข้อมูลจากสถานทูตอเมริกาประจ�าประเทศไทย สถานการณ์ด้านการค้ามนุษย์ในประเทศไทย ประจ�าปี ๒๕๕๙
๒๔๙ ข้อมูลจากที่ประชุมการรับฟังสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภาคประชาสังคม ณ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๐
๒๕๐ แหล่งเดิม.
๒๕๑ รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ ๗๓/๒๕๖๐ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 139 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙