Page 139 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 139
ความผิดค้ามนุษย์ รวมทั้งผู้แจ้งจะได้รับการคุ้มครองไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา รัฐบาลได้ออกพระราชก�าหนดการ
ประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อไม่ให้มีการบังคับใช้แรงงานในเรือประมงและอุตสาหกรรมประมง ส�าหรับผู้กระท�าผิดจะได้รับโทษที่
สูงขึ้น และแก้ไขพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน โดยการเพิ่มค�าจ�ากัดความเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ก�าหนด
ให้ความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์มีความหมายที่ชัดเจนขึ้น และสามารถใช้ยึดทรัพย์ขององค์กรและให้รางวัลแก่ผู้แจ้งเบาะแส
ส�านักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้ยึดทรัพย์คดีเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นคดีค้ามนุษย์ที่ผู้เสียหายเป็น
ชาวโรฮีนจา นายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องด้านกระบวนการยุติธรรมในคดีค้ามนุษย์
มีอ�านาจหน้าที่ในการจัดท�าร่างกฎหมายและให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย
เพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ความคืบหน้าส�าคัญ คือ ได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. .... เพื่อ
ใช้ในการด�าเนินคดีค้ามนุษย์ โดยมีกระบวนการลดภาระความรับผิดชอบของผู้เสียหาย ให้มีการสืบพยานผ่านวีดิทัศน์ทางไกล
เพิ่มมาตรการคุ้มครองพยานและให้การคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายมากขึ้น ได้ก�าหนดความเข้มงวดในการปล่อยชั่วคราว
เพื่อลดปัญหาการหลบหนีของผู้ต้องหาหรือจ�าเลยจากการปล่อยชั่วคราว คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่างกฎหมายดังกล่าว และ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้รับหลักการวาระแรก เมื่อต้นปี ๒๕๕๙ ตลอดจนได้เสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการ
ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยเสนอให้การใช้แรงงานเด็กอายุต�่ากว่า ๑๕ ปี ในรูปแบบที่เลวร้าย เป็นความผิดฐาน
ค้ามนุษย์ ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ได้ริเริ่มกฎหมายดังกล่าว โดยก�าหนดว่า การแสวงประโยชน์ โดยมิชอบ
จากการใช้แรงงานเด็กอายุต�่ากว่า ๑๕ ปี ในสภาพการจ้างงานที่อันตรายหรืออาจจะเป็นอันตรายต่อร่างกายและ/หรือจิตใจ
ของเด็ก รวมทั้งการท�างานในอุตสาหกรรมประมงหรือแปรรูปอาหารทะเล เป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ด้วย การแก้ไขเพิ่มเติม
กฎหมายตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งประกาศใช้
เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บังคับใช้กฎหมายสามารถบ่งชี้ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
ที่เป็นแรงงานเด็กได้ชัดเจนขึ้น และท�าให้เข้าใจถึงวิธีการที่จะเข้าไปช่วยเหลือหรือด�าเนินคดีตามกฎหมาย นอกจากนี้ มีการแก้ไขกฎหมาย
เกี่ยวกับแรงงาน เช่น ค�าจ�ากัดความของค�าว่า “แรงงานบังคับ” และ “แรงงานขัดหนี้” เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจ
สามารถตีความได้อย่างชัดเจนและตรงกัน ระหว่างการค้ามนุษย์ด้านแรงงานและความผิดตามกฎหมายแรงงาน ปัจจุบัน
กระทรวงแรงงานได้เผยแพร่แนวทางปฏิบัติท�าความเข้าใจค�าจ�ากัดความในทางกฎหมายของค�าดังกล่าว และฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่
ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นไปตามข้อก�าหนดขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์
โดยเฉพาะเด็กและสตรี และกฎหมายระหว่างประเทศอื่น ๆ
๔.๒) แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๗ - ๒๕๖๑) ๒๔๗
รัฐบาลไทยโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ได้จัดท�าแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อเป็นกรอบ
การด�าเนินการด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่หน่วยงานภาครัฐในประเทศไทย โดยในแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ
แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๗ - ๒๕๖๑) มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ปรากฏอยู่ในแผนสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติของกลุ่มสตรี ซึ่งมีข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ ดังนี้
๔.๒.๑) ส่งเสริมบทบาทของชุมชนในระดับพื้นที่ซึ่งเข้าถึงข้อมูล ให้แจ้งเบาะแสแก่เจ้าหน้าที่ในกระบวนการ
ยุติธรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อปราบปรามการค้ามนุษย์ได้อย่างเคร่งครัด
๔.๒.๔) ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในการจัดสวัสดิการสังคมขั้นพื้นฐานแก่สตรี
ที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้และกลับคืนสู่สังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี อาทิ การประกอบอาชีพ
๔.๒.๓) เร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ชนบทและพื้นที่ประสบปัญหาความยากจนอย่างรุนแรง เพื่อลด
ความเหลื่อมล�้าทางรายได้ระหว่างพื้นที่ รวมทั้งให้สตรีมีฐานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคง เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจและความยากจน
เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาการค้ามนุษย์
๔.๒.๔) เสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับสิทธิสตรีอย่างทั่วถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบสามารถใช้
สิทธิตามกฎหมายได้มากขึ้น
๒๔๗ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ “แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ.๒๕๕๗ - ๒๕๖๑)”
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 138 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙