Page 138 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 138
๔.๑) ยุทธศาสตร์และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๔ - ๒๕๕๙ ๒๔๖
ประเทศไทยได้จัดท�ายุทธศาสตร์และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๔ - ๒๕๕๙
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทิศทางการป้องกัน การด�าเนินคดี การคุ้มครองช่วยเหลือ การพัฒนากลไกเชิงนโยบายและการขับ
เคลื่อน รวมถึงการพัฒนาและบริหารข้อมูลและเพื่อส่งเสริมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนนโยบาย ยุทธศาสตร์
และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ในส่วนของนโยบายการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ มี ๕ ข้อ
คือ (๑) เพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (๒) ให้ความส�าคัญและผลักดันมาตรการป้องกัน
การด�าเนินคดีการคุ้มครองช่วยเหลือและพัฒนากลไกเชิงนโยบายและขับเคลื่อนและการพัฒนาและบริหารข้อมูลอย่าง
มีประสิทธิผล (๓) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครอบครัวและชุมชนเป็นกลไกส�าคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์
(๔) ส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงบริการของรัฐอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง (๕) ผลักดันการด�าเนินการอย่างจริงจัง
เข้มงวดในการจัดการกับผู้กระท�าผิดฐานค้ามนุษย์และองค์การอาชญากรรมข้ามชาติ กลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ค้ามนุษย์
และผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
รัฐบาลไทยได้ประกาศนโยบาย “ขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้น (Zero Tolerance)” เป็นวาระแห่งชาติ
ตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ และได้จัดสรรงบประมาณเพื่อป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จากเดิมในปี ๒๕๕๗ จ�านวน ๑,๕๒๙.๖๘
ล้านบาท เป็น ๒,๕๙๐.๓๑ ล้านบาท ในปี ๒๕๕๘ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๖๙.๓๓ โดยงบประมาณจ�านวน ๕๐๘.๔๐ ล้านบาท
หรือร้อยละ ๑๙ ของงบประมาณทั้งหมด ได้จัดสรรเพื่อจัดระบบภาคการประมงของไทยให้ดีขึ้น และเพื่อขจัดการค้ามนุษย์ใน สถานการณ์สิทธิมนุษยชนกรณีเฉพาะ
อุตสาหกรรมประมงและกิจการต่อเนื่องประมงทะเล รัฐบาลได้ออกนโยบาย มาตรการ และกฎระเบียบ เพื่อแก้ไขต้นเหตุของ
ปัญหาการค้ามนุษย์ส�าหรับการแก้ไขปัญหาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระท�าความผิดค้ามนุษย์
นอกจากนี้ รัฐบาลได้ออกระเบียบส�านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับ
การค้ามนุษย์ เพื่อก�าหนดมาตรการในการควบคุมเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องหรือคบค้าสมาคมกับบุคคล
ซึ่งมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ โดยให้ผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ของรัฐในทุกระดับ มีหน้าที่สอดส่อง ดูแล และ
ป้องกันมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของตนกระท�าความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ หรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ บทที่
๕
รวมถึงการห้ามใช้หลักทรัพย์หรือสถานะของการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐประกันผู้ต้องหาหรือจ�าเลย มีการจัดตั้งหน่วยงาน
ในกระบวนการยุติธรรมทุกระดับ อาทิ ในปี ๒๕๕๘ ได้จัดตั้งแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญา ส�านักงานคดีค้ามนุษย์ในส�านักงาน
อัยการสูงสุด และในปี ๒๕๕๙ กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ยกระดับศูนย์ต่อต้านการค้ามนุษย์เป็นหน่วยงานระดับกอง ซึ่งเป็นการ
สร้างความเชี่ยวชาญในหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับคดีค้ามนุษย์ และได้เพิ่มงบประมาณส�าหรับด�าเนินคดีค้ามนุษย์
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสืบสวนสอบสวนและด�าเนินคดีกับ “ตัวการใหญ่” ในขบวนการค้ามนุษย์ นอกจากนี้ ในส่วนของ
ส�านักงานต�ารวจแห่งชาติมีกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์เป็นหน่วยเฉพาะที่มีอ�านาจสืบสวน สอบสวน และด�าเนินคดี
ค้ามนุษย์ในพื้นที่ทั่วประเทศ
นอกจากนี้ ยังได้แก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบ เพื่อเพิ่มบทลงโทษ
ผู้กระท�าความผิดและก�าหนดมาตรการคุ้มครองผู้เสียหายให้ดีขึ้น อาทิ พระราชบัญญัติ
ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้เพิ่มบทลงโทษสูง
ขึ้น กล่าวคือ กรณีผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส เพิ่มโทษเป็นจ�าคุก ๘ - ๒๐ ปี
กรณีผู้เสียหายถึงแก่ความตาย เพิ่มโทษเป็นจ�าคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต และ
เพิ่มค่าปรับจาก ๘๐,๐๐๐ - ๒๐๐,๐๐๐ บาท เป็น ๔๐๐,๐๐๐ บาท เพิ่มอ�านาจ
ทางปกครองแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการสั่งปิดพักใช้ใบอนุญาตสถานประกอบ
กิจการโรงงาน และห้ามใช้ยานพาหนะเป็นการชั่วคราวหากพบการกระท�า
๒๔๖ แหล่งเดิม.
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 137 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙