Page 137 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 137

คณะกรรมการยังคงเห็นว่า การค้ามนุษย์ยังคงเป็นปัญหาส�าคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องของการบังคับ
        ค้าประเวณี ในกิจการประมง การเกษตรและการท�างานในบ้าน นอกจากนี้ คณะกรรมการยังกังวลต่อรายงานเกี่ยวกับการใช้

        แรงงานเด็ก และการหาประโยชน์จากคนพิการที่เป็นผู้อพยพและชาติพันธุ์ และยังให้ความกังวลเกี่ยวกับการส่งกลับ
        เหยื่อการค้ามนุษย์โดยปราศจากการคัดกรองที่มีประสิทธิภาพในประเด็นการให้ความคุ้มครองที่จ�าเป็นและการเก็บรวบรวมพยานหลักฐาน
        ก่อนการส่งกลับ และประเทศไทยควรเพิ่มความเข้มแข็งในความพยายามต่อสู้กับการค้ามนุษย์และการบังคับใช้แรงงานให้มากขึ้น
        โดยเพิ่มมาตรการด้านการป้องกันเพิ่มเติม การระบุอัตลักษณ์ของเหยื่อ วางระบบการสอบสวน การฟ้องและการด�าเนินคดี
        โดยต้องมีการด�าเนินการและลงโทษผู้มีส่วนในการรับผิดชอบต้องจัดให้มีการคุ้มครองที่มีประสิทธิภาพ ความช่วยเหลือและ

        ให้การเยียวยากับเหยื่อ ตลอดจนพัฒนากระบวนการคัดกรองและเก็บรวบรวมหลักฐาน


        ๓) การประเมินระดับการค้ามนุษย์โดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา (TVPA)

                                                                 สถานการณ์ปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย
                                                         ที่ส�าคัญและอยู่ในความสนใจของสังคมโลก คือ การค้ามนุษย์
                                                         โดยการแสวงหาประโยชน์จากการบังคับใช้แรงงาน โดยเฉพาะ
                                                         ในภาคอุตสาหกรรมการท�าประมง  โดยสืบเนื่องจาก
                                                         รายงาน TIP Report (Trafficking in Persons Report)

                                                         ซึ่งเป็นรายงานประจ�าปีที่กระทรวงการต่างประเทศของ
                                                         สหรัฐอเมริกาต้องจัดท�าตามกฎหมายคุ้มครองเหยื่อการค้ามนุษย์
                                                         (Trafficking  Victims  Protection  Act  -  TVPA)

        ค.ศ. ๒๐๐๐ เพื่อเสนอต่อรัฐสภา โดยเป็นการประเมินสถานการณ์และการด�าเนินการต่อต้านการค้ามนุษย์ของรัฐบาล
        ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ๑๘๖ ประเทศ และน�ามาจัดอันดับตามเกณฑ์ในกฎหมาย TVPA เป็น ๔ ระดับ โดยตั้งแต่ปี ๒๕๕๔
        - ๒๕๕๖ ประเทศไทยอยู่ในระดับ Tier 2 Watch List (ประเทศในกลุ่มที่ต้องจับตามอง) ต่อมาในปี ๒๕๕๗ ประเทศไทย
        ถูกกล่าวอ้างว่า มีการใช้แรงงานทาสและแรงงานที่ผิดกฎหมายในอุตสาหกรรมการท�าประมง ส่งผลให้ถูกลดอันดับ
        จากระดับ Tier 2 ซึ่งต้องจับตามองเป็นพิเศษ (Tier 2 Watch List) มาอยู่ในระดับ ๓ โดยรายงานระบุว่า ประเทศไทยไม่ได้

        แสดงความก้าวหน้าในการด�าเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์เท่าที่ควร โดยมีประเด็นส�าคัญ ๔ เรื่อง คือ
        (๑) การคัดแยกผู้เสียหายในประชากรกลุ่มเสี่ยงด�าเนินการได้ไม่เพียงพอ และไม่ได้ส่งตัวผู้เสียหายเข้ารับการคุ้มครอง
        (๒) ไม่พบว่ามีการด�าเนินคดีกับเจ้าของเรือที่บังคับใช้แรงงาน (๓) ไม่พบว่ามีการด�าเนินคดีกับผู้กระท�าความผิดในข้อหาการค้ามนุษย์

        และ (๔) ไม่มีการรายงานผลการสอบสวนและด�าเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีค้ามนุษย์


        ๔) นโยบาย กฎหมายและมาตรการของรัฐที่เกี่ยวข้อง
                 รัฐบาลไทยได้มีมาตรการในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่
        ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๖ เห็นชอบนโยบายและแผนระดับชาติ เรื่อง การป้องกัน ปราบปรามและแก้ปัญหาการค้าเด็กและผู้หญิง

        ภายในประเทศและข้ามชาติ (พ.ศ. ๒๕๔๖ - ๒๕๕๓) ใช้เป็นแผนแม่บทในการก�าหนดแนวทางการด�าเนินงานให้สอดคล้อง
        กับนโยบายและแผนงานป้องกัน ต่อมา รัฐบาลได้ประกาศเจตนารมณ์ในการต่อต้านการค้ามนุษย์และก�าหนดนโยบายเชิงป้องกัน
        และแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทยให้เป็นวาระแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๔๘ ณ ท�าเนียบรัฐบาล นอกจากนี้

        ประเทศไทยได้ลงนามในพิธีสารเพื่อป้องกันปราบปรามและลงโทษการค้ามนุษย์เฉพาะสตรีและเด็ก (Protocol to prevent
        Suppress and punish trafficking in Persons Especially Woman and children) เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๔ มีความ
        ร่วมมือระดับรัฐมนตรีระหว่างประเทศ เพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น�้าโขง (กัมพูชา จีน พม่า เวียดนามและ
        ไทย) และมีการลงนามเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๔๗ ตลอดจนมีการบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ๒๔๕


                 ๒๔๕  จาก รายงานผลการด�าเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ประจ�าปี ๒๕๕๘, โดย กองต่อต้านการค้ามนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคม
        และความมั่นคงของมนุษย์, ๒๕๕๙, กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.


                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  136  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142