Page 136 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 136
และเด็กหญิงจากประเทศในแถบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น�้าโขง (Greater Mekong Sub-Region: GMS) ได้แก่ ลาว เวียดนาม และ
พม่า รวมทั้งผู้ที่ตั้งใจมาท�างานในประเทศไทย ทั้งหมดนี้ตกเป็นเป้าหมายของการค้าประเวณี โดยเฉพาะการค้าประเวณีเด็ก
และยังมีรายงานขององค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศรายงานด้วยว่า มีการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อจัดหาผู้หญิงและเด็กเข้าสู่การ
ค้ามนุษย์ทางเพศ ซึ่งรายงานดังกล่าวยังระบุว่าเหยื่อเหล่านี้เป็นเป้าหมายของการค้ามนุษย์ทางเพศ โดยเป็นการจัดหาตาม
ความต้องการในท้องถิ่น รวมทั้งในเชิงธุรกิจอย่างในกรุงเทพมหานครและเชียงใหม่ ซึ่งมีการจัดหาให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ที่มีความต้องการซื้อบริการทางเพศ
๑.๓) การบังคับขอทาน
๒๔๒
จากสถิติการรับแจ้งเบาะแสการน�าเด็กมาเป็น
เครื่องมือในการขอทานหรือแสวงหาผลประโยชน์ในรูปแบบอื่น ๆ
ของโครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงา ตลอดปี
๒๕๕๙ พบว่าตัวเลขการรับแจ้งเบาะแสยังคงอยู่ในระดับ ๓๐๐ ราย
ใกล้เคียงกับปี ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยหลายประการ
เช่น ค่านิยมของคนในสังคมไทยนิยมการให้เงินกับเด็กขอทาน ท�าให้
รายได้จากการขอทานในแต่ละวันไม่ลดลงเท่าที่ควร มาตรการใน
การป้องกันกลุ่มขอทานข้ามชาติที่ลักลอบเข้าสู่ประเทศไทยยังเป็น สถานการณ์สิทธิมนุษยชนกรณีเฉพาะ
ปัญหา ท�าให้มีกลุ่มขอทานข้ามชาติในลักษณะหน้าซ�้า หน้าเดิม โดยแม้ว่าจะที่ได้รับการช่วยเหลือและส่งกลับประเทศ
ต้นทางไปแล้ว แต่ก็กลับมาขอทานในประเทศไทยอีก เป็นต้น นอกจากปัญหาเรื่องการน�าเด็กมาเป็นเครื่องมือในการขอทาน
แล้ว ปัญหาการน�าเด็กมาแสวงหาผลประโยชน์ในรูปแบบอื่น ๆ เช่น การขายพวงมาลัยหรือสินค้าต้นทุนต�่าอื่น ๆ เนื่องจาก
นโยบายการจัดระเบียบคนขอทานมุ่งเน้นเอาผิดกับผู้ที่มาขอทานโดยประจักษ์ จึงท�าให้คนขอทานบางรายใช้การขายสินค้า
ต้นทุนต�่า เพื่ออ�าพรางพฤติกรรม แต่มีลักษณะของการแฝงขอทานควบคู่กันไปด้วย โดยรายที่เป็นเด็กจะถูกพามาขายสินค้า
ในช่วงเวลาหรือสถานที่ที่ไม่เหมาะสม เช่น ในช่วงกลางดึก ในร้านหรือสถานบันเทิงยามค�่าคืน หรือบนพื้นผิวการจราจร และ
เด็กบางรายยังมีอายุที่น้อยมาก เป็นต้น บทที่
๕
๑.๔) การค้าอวัยวะ ๒๔๓
การค้าอวัยวะข้ามชาติผิดกฎหมายระหว่างกัมพูชา-ไทย อาจกลายเป็นตลาดใหม่ต่อจากอินเดียและเนปาล โดย
การลักลอบค้าไตข้ามแดนไทย-กัมพูชา ก�าลังสร้างความวิตกกังวลว่า จะเกิดตลาดค้าอวัยวะแห่งใหม่ เช่น กรณีของชายหนุ่มชาว
กัมพูชาวัย ๑๘ ปี ซึ่งบอกว่าขายไตเพื่อแลกกับการล้างหนี้ให้ครอบครัว ชายหนุ่มผู้นี้ขายไตของตัวเองไปในราคา ๓,๐๐๐ ดอลลาร์
หรือประมาณ ๙๗,๐๐๐ บาท ท�าให้เขาย้ายจากบ้านโทรม ๆ และมีเพียงห้องเดียวอยู่ชานกรุงพนมเปญไปยังโรงพยาบาลหรู
ในศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในไทย ซึ่งการลักลอบเดินทางมาไทยของเขาเมื่อ ๒ ปีก่อน กลายเป็นคดีแรกของการลักลอบ
ค้าอวัยวะของกัมพูชา และมีนายหน้าถูกจับกุมไป ๒ คน ทั้งยังก่อให้เกิดความวิตกว่า ยังจะมีเหยื่อคนอื่น ๆ ที่ตรวจไม่พบอีกนับไม่ถ้วน
๒) ข้อสังเกตโดยสรุปของคณะกรรมการประจ�ากติกาและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติต่อรายงานครั้งที่สองของ
ประเทศไทยในส่วนที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์และการบังคับใช้แรงงาน (น�าเสนอในปี พ.ศ. ๒๕๕๙)(Concluding observations
on the second periodic report of Thailand) ๒๔๔
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้ให้ความเห็นต่อรายงานครั้งที่สองของประเทศไทย ในส่วนที่เกี่ยวกับ
การค้ามนุษย์และการบังคับใช้แรงงานว่า แม้ว่าประเทศไทยจะมีความพยายามในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์และการบังคับใช้แรงงาน
๒๔๒ จาก รายงานสถานการณ์ปัญหาเด็กขอทานรอบปี ๒๕๕๙, ๒๕๖๐, สืบค้นจากhttp://www.notforsale.in.th/autopagev4/show_page.php?topic_id=1777&auto_id=7&TopicPk
๒๔๓ จาก ไทยจ่อตลาดใหม่ค้าอวัยวะข้ามชาติ, ๒๕๕๗, สืบค้นจากhttp://www.bangkokbiznews.com/news/detail/613692
๒๔๔ From The concluding observations of the Human Rights Committee’s review of Thailand’s human rights record under the ICCPR are now
available, by United Nations’ human rights, 2017, retrieved from http://bangkok.ohchr.org/news/press/ThailandICCPR.aspx
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 135 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙