Page 135 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 135
ประเทศทางผ่านส�าหรับเหยื่อค้ามนุษย์จากประเทศจีน เกาหลีเหนือ เวียดนาม บังกลาเทศ อินเดียและพม่า ซึ่งตกเป็นเหยื่อ
ค้ามนุษย์เพื่อธุรกิจทางเพศหรือเป็นแรงงานบังคับใช้ในประเทศที่สาม เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ รัสเซีย เกาหลีใต้
สหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันตก เป็นต้น
เหยื่อการค้ามนุษย์จ�านวนมากอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยอย่างเต็มใจ
เพื่อหางานท�าโดยมักได้รับความช่วยเหลือจากญาติ เพื่อนจากชุมชนเดียวกัน
หรือผ่านเครือข่ายจัดหาแรงงานอย่างไม่เป็นทางการ โดยส่วนใหญ่อพยพผ่านช่องทางผิด
กฎหมายโดยไม่มีเอกสารระบุอัตลักษณ์บุคคลหรือเอกสารเดินทางจากประเทศต้นก�าเนิด
การที่ผู้อพยพเดินทางไปมาระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ท�าให้มีการค้ามนุษย์
การลักลอบน�าบุคคลต่างด้าวเข้าประเทศ การลักพาตัว และการขู่กรรโชกผู้อพยพ
นักค้ามนุษย์ ซึ่งรวมถึงนายหน้าจัดหาแรงงาน ทั้งที่ลงทะเบียนและที่ไม่ได้ลงทะเบียน
และมีทั้งชาวไทยและต่างด้าวน�าเหยื่อต่างชาติเข้าประเทศ โดยใช้ทั้งเส้นทางอพยพ
อย่างเป็นทางการและเส้นทางการลักลอบน�าชาวต่างด้าวเข้าประเทศ พร้อมทั้ง
ท�าหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างแรงงานที่หางานกับนายจ้าง นายหน้าจัดหาแรงงานบางรายเรียกค่าธรรมเนียมสูงหรือร่วมมือ
กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบังคับใช้กฎหมายที่ทุจริต และแรงงานอพยพบางคนต้องกู้หนี้จ�านวนมาก เพื่อให้ได้งานท�าและเสี่ยงที่จะอยู่
ในสภาพพันธนาการหนี้ มีนายหน้าจัดหาแรงงานและนายจ้างจ�านวนหนึ่งยังคงยึดเอกสารแสดงอัตลักษณ์บุคคล นอกจากนี้
ชายและหญิงไทยที่เดินทางไปในต่างประเทศยังคงพึ่งพานายหน้าจัดหาแรงงานทั้งที่ลงทะเบียนและที่ไม่ได้ลงทะเบียนเพื่อช่วย
หางานที่ใช้ทักษะต�่าและงานในภาคเกษตร และบางครั้งต้องเผชิญกับการถูกบังคับใช้แรงงานและมีสภาพเป็นแรงงานขัดหนี้
๑.๒) การบังคับค้าประเวณี ๒๔๑
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๗ จอห์น แครี่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา แถลงรายงานประจ�าปี เรื่อง “สถานการณ์
การค้ามนุษย์ประจ�าปี ๒๕๕๗” (Trafficking in Persons Report 2014 :
TIP Report) ลดอันดับประเทศไทย จากบัญชีกลุ่มที่ ๒ ซึ่งต้องจับตามอง
(Tier 2 Watch List) ต่อเนื่องจากการลดอันดับครั้งก่อน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๓
จากบัญชีกลุ่มที่ ๒ (Tier 2) (Department of State, United States of
America, 2010) ลงมาอยู่ในบัญชีกลุ่มที่ ๓ (Tier 3) รายงานฉบับนี้ยังระบุ
อย่างชัดแจ้งเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ทวีความรุนแรงและสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น สอดคล้องกับวันชัย รุจนวงศ์ (๒๐๑๒) อธิบดีอัยการ
ส�านักงานต่างประเทศ ว่าประเทศไทยยกระดับจากประเทศที่เคยส่งออกมนุษย์ โดยเฉพาะผู้หญิงเข้าสู่ธุรกิจการค้าประเวณี
มาเป็นทั้งประเทศต้นทาง ทางผ่าน และปลายทาง ส�าหรับการค้าผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก เพื่อการบังคับใช้แรงงานและการบังคับ
ค้าประเวณี เหยื่อจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งได้แก่ จีน เวียดนาม รัสเซีย อุซเบกิสถาน อินเดีย และฟิจิ เต็มใจอพยพเข้ามา
อยู่ในประเทศไทย บ่อยครั้งได้รับความช่วยเหลือจากญาติหรือคนในชุมชน หรือผ่านเครือข่ายแบบไม่เป็นทางการที่ท�าหน้าที่
จัดหาหรือลักลอบ น�าพาบุคคล เหยื่อค้ามนุษย์เพื่อการค้าประเวณีโดยทั่วไปเป็นผู้หญิงและเด็กหญิง การท่องเที่ยวเพื่อซื้อบริการ
ทางเพศยังคงเป็นปัญหาในประเทศไทย และอุปสงค์ดังกล่าวน่าจะเป็นสิ่งผลักดันให้มีการค้ามนุษย์เพื่อธุรกิจค้าประเวณี
นอกจากการเป็นประเทศต้นทาง ไปยังไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น ยุโรปตะวันตก สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย กระทั่ง
ตะวันออกกลาง ประเทศไทยยังเป็นประเทศทางผ่านส�าหรับเหยื่อค้ามนุษย์จากเกาหลีเหนือ จีน เวียดนาม ปากีสถาน บังคลาเทศ
และพม่า ซึ่งจะถูกส่งไปค้าในประเทศที่สาม อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ รัสเซีย เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และ ประเทศต่าง ๆ
ในยุโรปตะวันตก ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ของเหยื่อการค้ามนุษย์ชาวไทยในปีที่ผ่านมายังพบเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ทางเพศ เป็นผู้หญิง
๒๔๑ จาก รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยเรื่อง การค้าประเวณีหญิงจากประเทศในแถบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น�้าโขงในประเทศไทย (น. ๑ – ๒), โดย สมาคม
รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, พ.ศ.๒๕๕๘, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 134 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙