Page 134 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 134

โดยที่ประเทศไทยได้มีพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖ และ
            พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นกฎหมายอนุวัติการส�าหรับอนุสัญญาฯ และพิธีสารฯ ดังกล่าว ๒๓๘



                     อนุสัญญาอาเซียนต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (ASEAN Convention against Trafficking, Especially
                                                                          ๒๓๙
            Women and Children) ซึ่งประเทศไทยลงนามเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๘  มีวัตถุประสงค์ส�าคัญ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ
            ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ในการป้องกันและต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเน้นการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ที่ต้นเหตุ เช่น
            การขจัดความยากจน การลดปัจจัยเกื้อหนุนและป้องกันการตกเป็นเหยื่อซ�้า เป็นต้น และการส่งเสริมความร่วมมือข้ามแดน

            โดยเฉพาะการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารคนเข้าเมือง การคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และการส่งกลับ
            การบังคับใช้กฎหมาย อาทิ การยึดทรัพย์ การให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญา การส่งผู้ร้ายข้ามแดน และ
            ความร่วมมือระหว่างประเทศอื่น ๆ



            นิยามการค้ามนุษย์
                     ตามพิธีสารเพื่อป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (Protocol to Prevent,
            Suppress and Punish Trafficking in Persons, Especially Women and Children) ได้ก�าหนดนิยาม “การค้ามนุษย์.”
            ไว้ในมาตรา ๓ ย่อหน้า (ก) ว่าหมายถึง การจัดหา การขนส่ง การส่งตอ การจัดให้อยู่อาศัย หรือการรับไว้ซึ่งบุคคลด้วยวิธีการ

            ขู่เข็ญ หรือด้วยการใช้ก�าลัง หรือด้วยการบีบบังคับในรูปแบบอื่นใด ด้วยการลักพาตัว ด้วยการฉ้อโกง ด้วยการหลอกลวง   สถานการณ์สิทธิมนุษยชนกรณีเฉพาะ
            ด้วยการใช้อ�านาจโดยมิชอบ หรือด้วยการใช้สถานะความเสี่ยงภัยจากการค้ามนุษย์โดยมิชอบ หรือมีการให้ หรือรับเงิน หรือ
            ผลประโยชน์ การแสวงผลประโยชน์ เพื่อให้ได้มาซึ่งความยินยอมของบุคคลผู้มีอ�านาจควบคุมบุคคลอื่น เพื่อความมุ่งประสงค์

            ในการแสวงประโยชน์ การแสวงประโยชน์อย่างน้อยที่สุดให้รวมถึงการแสวงประโยชน์จากการค้าประเวณีของบุคคลอื่นหรือ
            การแสวงประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ การเอาคนลงเป็นทาสหรือการกระท�าอื่นเสมือน
            การเอาคนลงเป็นทาส การท�าให้ตกอยูใต้บังคับ หรือการตัดอวัยวะออกจากร่างกาย


                     รูปแบบของการค้ามนุษย์ในปัจจุบันมีลักษณะของการเคลื่อนย้าย หรืออพยพเหยื่อ หรือ ผู้เสียหายจากประเทศหนึ่ง   บทที่
                                                                                                                    ๕
            ไปสู่อีกประเทศหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นการเคลื่อนย้ายจากประเทศยากจนไปสู่ประเทศร�่ารวย กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ มีการเคลื่อนย้าย
            เหยื่อหรือผู้เสียหายออกจากประเทศต้นทาง หรือประเทศต้นก�าเนิด (ประเทศที่เป็นแหล่งในการส่งเหยื่อค้ามนุษย์) และอาจน�ามาพักไว้
            ที่ประเทศทางผ่าน (ประเทศที่ถูกใช้เป็นเส้นทางผ่านการเดินทางของเหยื่อค้ามนุษย์) เพื่อน�าไปสู่ประเทศปลายทาง (ประเทศ

            ที่เหยื่อหรือผู้เสียหายจะถูกน�าไปใช้ประโยชน์ หรือแสวงหาผลประโยชน์) ส�าหรับกรณีของประเทศไทยนั้น อยู่ทั้งในสถานะ
            ประเทศต้นทาง ทางผ่าน และปลายทางของการค้ามนุษย์ การแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากการค้ามนุษย์ ส่วนใหญ่
            ผู้เสียหายมักถูกน�าตัวไปใช้ หรือแสวงหาประโยชน์ใน ๔ ลักษณะ คือ (๑) การค้าประเวณีหรือขายบริการทางเพศ (๒) การบังคับ
            ใช้แรงงาน (๓) การบังคับเป็นขอทาน และ (๔) การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ


            ๕.๑.๒ สถานการณ์ทั่วไป

            ๑) สภาพปัญหา
                     ๑.๑) การบังคับใช้แรงงาน ๒๔๐

                          เหยื่อการค้ามนุษย์เพื่อการบังคับใช้แรงงานในไทยจ�านวนหนึ่งถูกแสวงประโยชน์ในอุตสาหกรรมประมงและ
            อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการประมง โรงงานต่าง ๆ ภาคการเกษตรและงานรับใช้ตามบ้าน แรงงานอพยพที่เป็นเหยื่อ
            การค้ามนุษย์อาจถูกส่งกลับประเทศโดยขาดการคัดกรองที่มีประสิทธิผลในการหาปัจจัยที่บ่งชี้ถึงการค้ามนุษย์ ประเทศไทยยังเป็น

                     ๒๓๘  กระทรวงการต่างประเทศ, “การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร และพิธีสารเพื่อป้องกัน
            ปราบปรามและลงโทษ การค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็กเสริมอนุสัญญาฯ
                     ๒๓๙  ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็กเมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๙  ในช่วงการประชุม
            รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ ๔๙ ณ เวียงจันทน์
                     ๒๔๐  ข้อมูลจากสถานทูตอเมริกาประจ�าประเทศไทย สถานการณ์ด้านการค้ามนุษย์ในประเทศไทย ประจ�าปี ๒๕๕๙

                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  133  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139