Page 133 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 133
สถานการณ์สิทธิมนุษยชนกรณีเฉพาะที่น�าเสนอในรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
กสม. ได้พิจารณาจากสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่มีผลกระทบต่อประชาชนและประเทศในภาพรวม ตลอดจนเป็นกรณีที่สาธารณชนให้ความสนใจ
ต่อการแก้ไขปัญหาเฉพาะของรัฐ โดยกรณีที่น�าเสนอในบทนี้ ประกอบด้วย สถานการณ์สิทธิมนุษยชนกรณีเฉพาะ ๔ กรณี ได้แก่ (๑) การค้ามนุษย์
(๒) ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (๓) สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ (๔) สิทธิชุมชน เนื้อหาของแต่ละกรณีจะแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์
ของปัญหา การด�าเนินการของรัฐ เพื่อสะท้อนความก้าวหน้าและถดถอยในมิติสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับกรณีนั้น ๆ
๕.๑ การค้ามนุษย์
๕.๑.๑ หลักการสิทธิมนุษยชน
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
(International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) ให้การ
รับรองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เช่น สิทธิในการมีชีวิตอยู่ การห้ามบุคคล
มิให้ถูกกระท�าทรมาน การห้ามบุคคลมิให้ตกอยู่ในภาวะเยี่ยงทาส การห้ามบุคคล
มิให้ถูกจับกุมโดยตามอ�าเภอใจ การห้ามบุคคลมิให้ถูกเกณฑ์แรงงานหรือ
บังคับใช้แรงงาน การปฏิบัติต่อผู้ถูกลิดรอนเสรีภาพอย่างมีมนุษยธรรม เป็นต้น
ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง โดยการภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ ๒๙
ตุลาคม ๒๕๓๙ และมีผลใช้บังคับกับประเทศไทย เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๔๐ โดยไม่มีการตั้งข้อสงวน แต่ได้ท�าค�าแถลง
ตีความไว้ ๔ ประเด็น ได้แก่ (๑) ข้อบทที่ ๑ วรรค ๑ เรื่องการใช้สิทธิในการก�าหนดเจตจ�านงของตนเอง การก�าหนดสถานะ
ทางการเมือง การด�าเนินการทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอย่างเสรี (๒) ข้อบทที่ ๖ วรรค ๕ การพิพากษาประหารชีวิต
บุคคลอายุต�่ากว่า ๑๘ ปี (๓) ข้อบทที่ ๙ วรรค ๓ ระยะเวลาในการน�าผู้ถูกจับกุมไปศาล และ (๔) ข้อบทที่ ๒๐ วรรค ๑ การห้าม
โฆษณาชวนเชื่อเพื่อสงคราม ซึ่งต่อมาประเทศไทยได้ถอนค�าแถลงตีความข้อบทที่ ๖ วรรค ๕ และข้อบทที่ ๙ วรรค ๓
มีผลตั้งแต่วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๕
อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือย�่ายีศักดิ์ศรี (Convention
against Torture and Other Cruel,Inhuman or Degrading Treatment or Punishment – CAT) ที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคี
และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ได้ก�าหนดนิยามความหมายของการทรมานว่า หมายถึง การกระท�าใด ๆ
โดยเจตนาให้เกิดความเจ็บปวดทุกข์ทรมานอย่างสาหัส ไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจต่อบุคคลเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสนเทศ หรือ
เป็นการลงโทษ หรือเป็นการข่มขู่ให้กลัว บังคับขู่เข็ญ อันเป็นการเลือกปฏิบัติ โดยการรู้เห็นของเจ้าหน้าที่รัฐ
อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ตลอดจนพิธีสารของ
อนุสัญญาฯ ว่าด้วยการค้าเด็ก การค้าประเวณีเด็กและสื่อลากมกเกี่ยวกับเด็ก ได้ให้การคุ้มครองบุคคลจากการถูกแสวงหา
ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและทางเพศ
อนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร (United Nations Convention
against Transnational Organized Crime – UNTOC) ซึ่งประเทศไทยได้ลงนามเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๓ และพิธีสาร
เพื่อป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก เสริมอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อการต่อต้าน
อาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร (Protocol to Prevent, Suppress and Punish Trafficking in Persons,
Especially Women and Children, supplementing the United Nations Convention against Transnational
Organization Crime) เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๔ และได้ยื่นสัตยาบันสารพร้อมกันทั้ง ๒ ฉบับ เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
ส่งผลให้อนุสัญญาฯ และพิธีสารฯ เรื่องการค้ามนุษย์ เริ่มมีผลใช้บังคับกับประเทศไทย ในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เป็นต้นมา
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 132 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙