Page 125 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 125
ที่ก�าหนดโดยรัฐไม่สามารถประกันให้แรงงานและครอบครัวมีสภาพการ
ด�ารงชีวิตอย่างเหมาะสมได้ และช่องว่างของค่าจ้าง ความแตกต่างด้าน
ค่าจ้างที่ยังเกิดขึ้นระหว่างแรงงานชายและหญิง สิทธิด้านสหภาพแรงงาน
ในเรื่องสิทธิก่อตั้งสหภาพแรงงาน สิทธิในการนัดหยุดงาน
ตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ รวมทั้งพนักงานของรัฐ
ซึ่งจะไม่มีสิทธิในการนัดหยุดงาน
รัฐบาลไทยได้รับข้อเสนอแนะจากการประชุมทบทวน
สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยในกระบวนการ Universal
Periodic Review (UPR) รอบที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๓) เมื่อวันที่
๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จากประเทศต่าง ๆ เพื่อด�าเนินการส่ง
เสริมและคุ้มครองสิทธิด้านการท�างานให้ได้มาตรฐาน อาทิ การลด
ช่องว่างทางรายได้ในสังคม การขยายการเข้าถึงสิทธิในการรักษา
พยาบาล การประกันสังคม และค่าแรงขั้นต�่า โดยไม่แบ่งแยก
ชาติพันธุ์หรืออุปสรรคทางภาษา การปราบปรามแรงงานผิดกฎหมาย
ในภาคประมง การปราบปรามการใช้แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ รวมถึงการมีมาตรการเพื่อส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิของชาวนาและคนที่ท�างานในชนบท นอกจากนี้ ยังได้ให้ค�ามั่นโดยสมัครใจ (Pledge) ต่อที่ประชุม UPR ในการ
ที่จะเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๑๘๘ ว่าด้วยการท�างานในภาคประมง และการศึกษา
ความเป็นไปได้ของการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกครอบครัว
ประเด็นส�าคัญเกี่ยวกับสถานการณ์ทั่วไปของแรงงานของไทย ปรากฏดังนี้
๑) การท�างานและมีเงื่อนไขการท�างานที่เหมาะสมเป็นธรรม
๒๑๒
ข้อมูลจากกระทรวงแรงงาน พบว่า มีอัตราการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยในการท�างานในปี ๒๕๕๘
ร้อยละ ๗.๗๙ และ ปี ๒๕๕๙ ลดลงเหลือร้อยละ ๖.๔๔ โดยอุตสาหกรรมที่มีอัตราการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย
ในการท�างาน ๕ อันดับแรก คือ (๑) อุตสาหกรรมก่อสร้าง (๒) อุตสาหกรรมการท�าเหมืองแร่และเหมืองหิน (๓) อุตสาหกรรม
การผลิต (๔) อุตสาหกรรมการขนส่ง สถานที่เก็บกักสินค้า และการคมนาคม และ (๕) อุตสาหกรรมการขนส่ง การขายปลีก
การซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือน
จากรายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง มาตรฐานสากลในการด�าเนินธุรกิจเพื่อการเคารพสิทธิมนุษยชน ระบุว่า ปัญหาด้าน
ความปลอดภัยในโรงงาน ส่วนใหญ่แล้วมักเกิดจากการที่บริษัทไม่ให้ความส�าคัญกับการฝึกอบรมแก่ลูกจ้าง หรือการมอบหมายงาน
ที่ลูกจ้างไม่มีความเชี่ยวชาญ จึงส่งผลให้ลูกจ้างได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในการท�างาน ตั้งแต่การได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย พิการ
ไปจนถึงเสียชีวิต อย่างไรก็ตาม ลูกจ้างมักเข้าใจว่าเป็นความผิดพลาดของตนเอง และตัดสินใจลาออกจากงาน ทั้งที่นายจ้างมีส่วน
ต้องรับผิดชอบ
๒) สิทธิในการรวมตัวและเสรีภาพในการสมาคม
การมีเสรีภาพในการสมาคมและการรับรองที่มีผลจริง ส�าหรับสิทธิในการต่อรองเป็นหนึ่งในหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐาน
ในการท�างาน (ILO Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work) ที่ก�าหนดให้ประเทศสมาชิกเคารพและ
ปฏิบัติตาม อย่างไรก็ดี ประเทศไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพ
ในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน ค.ศ. ๑๙๔๘ และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจา
๒๑๒ จาก สถานการณ์และการเตือนภัยด้านแรงงานปี ๒๕๕๙, โดยกระทรวงแรงงาน, (๕)๕ (มกราคม-ธันวาคม ๒๕๕๙).
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 124 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙