Page 121 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 121
ในส่วนของสิทธิในการเข้าถึงการบริการจิตเวช ผลการศึกษาวิจัยของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวง
สาธารณสุข ร่วมกับส�านักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ พบว่า กลุ่มคนยากจน กลุ่มคนมีการศึกษาต�่า กลุ่มแรงงานนอกระบบ
และกลุ่มคนย้ายถิ่นยังขาดโอกาสในการเข้าถึงสิทธิในการรับบริการจิตเวชเนื่องจากปัญหาค่าใช้จ่าย และผู้ป่วยจิตเวชส่วนใหญ่
มักจะเป็นผู้ที่ไม่มีรายได้หรือรายได้น้อย และกว่าร้อยละ ๘๐ ที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรง มักไม่เคยเข้ารับการรักษาใด ๆ
รวมถึงนโยบายการจัดล�าดับความส�าคัญของปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยที่ให้ความส�าคัญเกี่ยวกับสุขภาพจิตยังน้อยกว่าเรื่อง
อื่น ๆ ท�าให้ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณและการพัฒนาระบบให้บริการน้อยกว่าด้านอื่น ๆ และผลการศึกษาวิจัย
ได้เสนอแนะรัฐบาลให้เพิ่มงบประมาณในการดูแลรักษาผู้ป่วยจิตเวช ผลิตจิตแพทย์และบุคลากรด้านสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น
สนับสนุนสิ่งจูงใจให้กับจิตแพทย์ที่จบใหม่ได้ท�างานในพื้นที่ต่างจังหวัด พัฒนารูปแบบการให้บริการโดยเชื่อมต่อการดูแล
อย่างต่อเนื่องกับครอบครัวและชุมชน ตลอดจนให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องกับสังคมในการปรับเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับ
การรับบริการจิตเวช ๒๐๔
๔.๒.๔ การประเมินสถานการณ์
สถานการณ์สิทธิด้านสุขภาพโดยภาพรวม
อาจกล่าวได้ว่า รัฐได้มีนโยบายและมาตรการต่าง ๆ
ในการประกันสิทธิในสุขภาพ และมีความ
พยายามอย่างต่อเนื่องที่จะด�าเนินการเพื่อ
บรรลุมาตรฐานสูงสุดที่เป็นไปได้ (the highest
attainable standard of health) ในการจัด
บริการด้านสาธารณสุขอย่างเพียงพอกับความ
ต้องการของประชาชน และสอดคล้องกับข้อ ๑๒
ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ
สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant
on Economics, Social and Cultural Rights - ICESCR) ซึ่งในปี ๒๕๕๙ รัฐได้มีการด�าเนินการให้เกิดความก้าวหน้า
ในสิทธิด้านสุขภาพหลายประการ อาทิ
ส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาวะและสุขภาพที่ดีตลอดช่วงชีวิต ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
(Sustainable Development Goals –SDGs) ในการมีสุขภาพที่ดีในทุกช่วงอายุ (good health and well-being) ภายใต้วาระ
การพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๓๐ (The 2030 Agenda for Sustainable Development) ที่ประเทศภาคีสมาชิกขององค์การ
สหประชาชาติได้ร่วมกันตระหนักถึงการบรรลุผลในสิทธิด้านสุขภาพภายในปี ๒๕๗๓ และกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี
(พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ประกอบกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๕)
ประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๙ ภายใต้พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐
การบริหารจัดการระบบสุขภาพโดยจัดตั้งเขตสุขภาพ (health area) จ�านวน ๑๓ เขตครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศไทย
การจัดท�าแผนยุทธศาสตร์เทคโนโลยีด้านสุขภาพระยะ ๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๓) โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพ
การท�าร่างแผนยุทธศาสตร์ระบบสุขภาพเขตเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๓ รวมถึงการน�ากระบวนการรับรองคุณภาพของโรงพยาบาล
(Hospital Accreditation) มาใช้ในการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการบริการให้ดีขึ้น ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาการเข้าถึงสิทธิ
และคุณภาพของสิทธิให้ดีขึ้นโดยล�าดับ นอกจากนี้ รัฐยังยอมรับสิทธิด้านสุขภาพให้หมายรวมถึง ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ
(health determinant) จากข้อมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๙ และการผลักดันการตราพระราชบัญญัติควบคุม
การส่งเสริมการตลาดอาหารส�าหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. .... เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงสิทธิทาง
ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ น�าไปสู่สิทธิในอาหารเพื่อเกิดทางเลือกอย่างเหมาะสม
๒๐๔ จาก จิตเวช ความเจ็บป่วยที่ถูกลืม วิจัยสะท้อนช่องว่างการเข้าถึง พร้อมเสนอพัฒนาระบบบริการ แก้ปัญหาผู้ป่วยจิตเวช ลดผลกระทบสังคม, โดย สถาบันวิจัย
ระบบสาธารณสุข, ๒๕๖๐, สืบค้นจาก https://www.hsri.or.th/researcher/media/news/detail/7860
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 120 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙