Page 127 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 127
คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ (มาตรา ๑๖๓) (๘) ให้รัฐบาลยกสถานะส�านักความปลอดภัยแรงงานเป็นกรมความปลอดภัยแรงงาน
และ (๙) ให้รัฐบาลประกาศรับรองคณะท�างานติดตามและประสานงานข้อเรียกร้องวันแรงงานแรงชาติของแต่ละปี
๕) แรงงานนอกระบบ ๒๑๙
ที่ผ่านมารัฐได้มีแนวนโยบายหลัก ๆ ในการบริหารจัดการ
แรงงานนอกระบบในการลดปัญหาความไม่มั่นคงด้านปัจจัยพื้นฐาน และ
ความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับแรงงานนอกระบบ ได้แก่
นโยบายการประกันรายได้หรือค่าจ้างขั้นต�่า นโยบายสร้างหลักประกัน
สุขภาพถ้วนหน้า นโยบายการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อลดภาระการกู้ยืมเงิน
นอกระบบ นโยบายการพัฒนาฝีมือแรงงาน นโยบายการขยายสิทธิประโยชน์
ทดแทนประกันสังคม มาตรา ๔๐ นโยบายการสร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ รวมถึงการก�าหนดให้มียุทธศาสตร์
๒๒๐
เพื่อการจัดการแรงงานนอกระบบส�าหรับแรงงานนอกระบบ พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙ เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติ
งานด้านแรงงานนอกระบบของภาคส่วนต่าง ๆ
๒๒๑
อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากกระทรวงแรงงาน ระบุว่า สภาพปัญหาแรงงานนอกระบบที่ส�าคัญ อาทิ การมีเงื่อนไข
การจ้างงาน การได้รับค่าตอบแทนที่ไม่เป็นธรรม ไม่แน่นอน งานที่ไม่ต่อเนื่องและไม่สม�่าเสมอ การไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย
คุ้มครองแรงงาน ปัญหาสุขภาพและสภาพการท�างานที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งสอดคล้องกับผลการส�ารวจแรงงานนอกระบบต่อปัญหาต่าง ๆ
จากการท�างานของส�านักงานสถิติแห่งชาติที่ระบุว่า ปัญหาที่แรงงานนอกระบบต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือมากที่สุดคือ ปัญหาค่าตอบแทน
ร้อยละ ๕๒.๘ ปัญหาการท�างานหนัก ร้อยละ ๑๗.๑ ปัญหางานที่ท�าไม่ได้รับการจ้างอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ ๑๖.๖ ที่เหลือเป็นอื่น ๆ
เช่น ไม่มีสวัสดิการ ไม่มีวันหยุด ท�างานไม่ตรงเวลาปกติ ชั่วโมงท�างานมากเกินไป และลาพักผ่อนไม่ได้ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังระบุว่า
ในปี ๒๕๕๙ อัตราแรงงานนอกระบบที่มีหลักประกันทางสังคมร้อยละ ๑๐.๕๓ ซึ่งมีอัตราการเปลี่ยนแปลงขยายตัวจากปีที่แล้ว
ร้อยละ ๒.๔๓
๔.๓.๓ สถานการณ์ปี ๒๕๕๙
๑) การด�าเนินการที่ส�าคัญของรัฐ
รัฐบาลได้ด�าเนินการเพื่อให้การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของแรงงานไทยมีมากขึ้นหลายประการ อาทิ
รัฐบาลได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) จ�านวน ๒ ฉบับ ได้แก่ (๑)
อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๑๘๗ ว่าด้วยกรอบเชิงส่งเสริมการด�าเนินงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
ค.ศ. ๒๐๐๖ โดยอนุสัญญาฉบับนี้ เป็นหนึ่งในตราสารที่ส�าคัญของ ILO ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการท�างาน
๒๒๒
มีผลผูกพันให้ประเทศสมาชิกที่เป็นภาคีต้องก�าหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยและอาชีวอนามัยระดับชาติ รวมทั้งออกแบบ
พัฒนา และน�าระบบเพี่อส่งเสริมความปลอดภัยและอาชีวอนามัยไปบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และ (๒) อนุสัญญาว่าด้วยแรงงาน
๒๒๓
๒๒๔
ทางทะเล ค.ศ. ๒๐๐๖ โดยอนุสัญญาฉบับนี้เป็นหนึ่งในตราสารที่ส�าคัญของ ILO ที่ก�าหนดมาตรฐานขั้นต�่าของการท�างานและ
ความเป็นอยู่ของคนท�างานบนเรือที่ชักธงประเทศสมาชิกที่เป็นภาคี และมีความเชื่อมโยงกับอนุสัญญาขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ
เกี่ยวกับความปลอดภัยของเรือ และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล อนุสัญญาฉบับนี้มีผลผูกพันให้ประเทศสมาชิก
ที่เป็นภาคีต้องออกกฎหมายเพื่อก�าหนดมาตรฐานการท�างานของลูกจ้าง และคนประจ�าเรือ การคุ้มครองสิทธิแรงงาน การจ้างงาน
๒๑๙ ส�านักงานสถิติแห่งชาติให้นิยามแรงงานนอกระบบคือ ผู้มีงานท�าที่ไม่ได้รับความคุ้มครองหรือไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการท�างานเช่นเดียวกับแรงงานในระบบ
๒๒๐ จาก รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙, โดย กระทรวงแรงงานร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา
ประเทศไทย, ๒๕๕๔, กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงาน.
๒๒๑ แหล่งเดิม.
๒๒๒ อนุสัญญาฉบับนี้เป็นอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๑๖ ที่ไทยให้สัตยาบัน และจะมีผลบังคับใช้ในอีก ๑๒ เดือนถัดไปนับจากวันที่ให้สัตยาบัน คือวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐
๒๒๓ จาก ไทยยื่นสัตยาบันสารอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๑๘๗ ว่าด้วยกรอบเชิงส่งเสริมการด�าเนินงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ค.ศ.
๒๐๐๖ อย่างเป็นทางการ, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://humanrights.mfa.go.th/th/news/119/
๒๒๔ อนุสัญญาฉบับนี้เป็นอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๑๗ ที่ไทยให้สัตยาบัน และจะมีผลบังคับใช้ในอีก ๑๒ เดือนถัดไปนับจากวันที่ให้สัตยาบัน คือในวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๐
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 126 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙