Page 122 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 122
ประกันสิทธิในการเข้าถึงการบริการสาธารณสุขของรัฐให้กับประชากรกว่าร้อยละ ๙๙ ของประชากรทั้งหมด
ของประเทศ ภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage – UHC)
นอกจากนี้ รัฐควรพัฒนาระบบสุขภาพให้มีความยั่งยืนในระบบการเงินการคลังในระยะยาว โดยปรับปรุงแก้ไข
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ ทั้งในทางข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในระบบหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติ ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการข้าราชการ เพื่อให้เกิดสิทธิในการเข้าถึงอย่างเท่าเทียมกัน และควรจัดให้มีการ
บริการสาธารณสุขด้านสุขภาพจิตอย่างเพียงพอกับความต้องการ รวมทั้งให้ความส�าคัญในการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์
เพื่อรองรับการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพจิต ถึงแม้ว่ารัฐจะมีนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ในการประกันสิทธิด้านสุขภาพ แต่รัฐ
คงเผชิญกับสิ่งท้าทายในการด�าเนินการเพื่อให้คุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพอย่างเท่าเทียมกัน เช่น การคืนสิทธิ (ให้สิทธิ) ขั้นพื้นฐาน
ด้านสาธารณสุขกับกลุ่มเด็กนักเรียนไร้สัญชาติ และไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร การเข้าถึงหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ของกลุ่มคนเปราะบาง กลุ่มคนด้อยโอกาส กลุ่มคนชายขอบ กลุ่มคนที่อาศัยในเขตชนบท กลุ่มเด็กวัยรุ่น และผู้ใช้ยาเสพติด
การจัดการลดความเหลื่อมล�้าในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทั้ง ๓ ระบบ ให้มีการเข้าถึงสิทธิอย่างเท่าเทียมกัน การพัฒนา
คุณภาพของระบบสุขภาพที่มิได้จ�ากัดเพียงการให้บริการสาธารณสุขเท่านั้น แต่ต้องค�านึงถึงปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ ทั้งนี้
การบรรลุมาตรฐานสูงสุดที่เป็นไปได้ในสิทธิด้านสุขภาพต้องอาศัยเจตนารมณ์และการด�าเนินการอย่างมุ่งมั่นของรัฐ เป็นต้น
๔.๓ สิทธิในการประกอบอาชีพและการท�างาน
๒๐๕
๔.๓.๑ หลักการสิทธิมนุษยชน
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ
สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on สถานการณ์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
Economic, Social and Cultural Rights: ICESCR)
ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม
ได้ประกันสิทธิในการประกอบอาชีพและการท�างาน ไว้ในข้อ ๖ - ๘
ได้แก่ (๑) สิทธิในการท�างาน ซึ่งรวมถึงสิทธิของทุกคนที่จะมีโอกาสที่จะ
หาเลี้ยงชีพโดยงานซึ่งตนเลือกหรือรับอย่างเสรี และจะด�าเนินขั้นตอน
ที่เหมาะสมในการปกป้องสิทธินี้ (๒) สิทธิในการได้รับเงื่อนไข บทที่
การท�างานที่เหมาะสมเป็นธรรม ได้แก่ ค่าตอบแทนขั้นต�่าที่ให้แก่ ๔
๒๐๖
ผู้ท�างาน สภาพการท�างานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ
โอกาสที่เท่าเทียมกันที่จะได้รับการส่งเสริมให้มีความก้าวหน้า
ในการท�างานของตนในระดับที่สูงขึ้นโดยไม่ขึ้นอยู่กับข้อพิจารณาใด นอกจากเรื่องอาวุโสและความสามารถ และการพักผ่อน
เวลาว่างและข้อจ�ากัดที่สมเหตุสมผลในเรื่องเวลาท�างานและวันหยุดเป็นครั้งคราว โดยได้รับค่าตอบแทน ตลอดจนค่าตอบแทน
ส�าหรับวันหยุดทางการ (๓) สิทธิที่จะก่อตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน อาทิ สิทธิของทุกคนที่จะก่อตั้งสหภาพแรงงานและเข้าร่วม
สหภาพแรงงานตามที่ตนเลือก เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของตน ทั้งนี้ โดยขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์
ขององค์การที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ห้ามจ�ากัด การใช้สิทธินี้ นอกจากที่ได้ก�าหนดโดยกฎหมายและที่จ�าเป็นในสังคมประชาธิปไตย
เพื่อประโยชน์ของความมั่นคงแห่งชาติ หรือความสงบเรียบร้อยของส่วนรวม หรือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น
สิทธิที่จะนัดหยุดงาน หากใช้สิทธิโดยสอดคล้องกับกฎหมายของประเทศนั้น
๒๐๕ ในที่นี้จะเน้นไปที่สภาพปัญหาแรงงานทั่วไป ส่วนแรงงานข้ามชาติเป็นกลุ่มที่อยู่ในความห่วงกังวลเฉพาะ โปรดดูหัวข้อ ๖.๗
๒๐๖ ประกอบด้วย (๑) ค่าจ้างที่เป็นธรรมและค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกันส�าหรับงานที่มีคุณค่าเท่ากัน โดยปราศจากความแตกต่างในเรื่องใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีจะได้รับ
ประกันสภาพการท�างานที่ไม่ด้อยกว่าบุรุษ โดยได้รับค่าจ้างที่เท่าเทียมกันส�าหรับงานที่เท่าเทียมกัน (๒) ความเป็นอยู่ที่เหมาะสมส�าหรับตนและครอบครัวตามบทบัญญัติแห่งกติกานี้
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 121 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙