Page 123 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 123

ประเทศไทยได้เข้าร่วมก่อตั้งองค์การแรงงาน
                                                           ระหว่างประเทศ (ILO) ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๒ โดยปฏิญญาว่าด้วย

                                                           หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการท�างาน (ILO Declaration
                                                           on Fundamental Principles and Rights at Work) ก�าหนดให้
                                                           ประเทศสมาชิกเคารพและปฏิบัติตามสิทธิในการท�างาน
                                                           ขั้นพื้นฐานครอบคลุมทั้งหมด ๔ ประเด็น คือ (๑) เสรีภาพ
                                                           ในการสมาคมและการรับรองที่มีผลจริงส�าหรับสิทธิในการ

                                                           ต่อรองรวม (๒) การขจัดการใช้แรงงานบังคับในทุกรูปแบบ
                                                           (๓) การยกเลิกอย่างได้ผลต่อการใช้แรงงานเด็ก และ (๔) การขจัด
        การเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและประกอบอาชีพ  ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ILO จ�านวน ๑๔ ฉบับ ได้แก่ (๑)
                                                ๒๐๗
        อนุสัญญาฉบับที่ ๑๔ ว่าด้วยการหยุดพักผ่อนประจ�าสัปดาห์ในงานอุตสาหกรรม ค.ศ. ๑๙๒๑ (๒) อนุสัญญาฉบับที่ ๑๙ ว่าด้วย
        การปฏิบัติที่เท่าเทียมกันในเรื่องค่าทดแทนส�าหรับคนงานชาติในบังคับ และคนต่างชาติ ค.ศ. ๑๙๒๕ (๓) อนุสัญญาฉบับที่ ๒๙
        ว่าด้วยการเกณฑ์แรงงาน หรือแรงงานบังคับ ค.ศ. ๑๙๓๐ (๔) อนุสัญญาฉบับที่ ๘๐ ว่าด้วยการแก้ไขบางส่วนของอนุสัญญา
        ค.ศ. ๑๙๔๖ (๕) อนุสัญญาฉบับที่ ๘๘ ว่าด้วยการจัดตั้งบริการจัดหางาน ค.ศ. ๑๙๔๘ (๖) อนุสัญญาฉบับที่ ๑๐๐ ว่าด้วย
        ค่าตอบแทนที่เท่ากัน ค.ศ. ๑๙๕๑ (๗) อนุสัญญาฉบับที่ ๑๐๔ ว่าด้วยการเลิกบังคับทางอาญาแก่กรรมกรพื้นเมืองที่ละเมิด

        สัญญาจ้าง ค.ศ. ๑๙๕๕ (๘) อนุสัญญาฉบับที่ ๑๐๕ ว่าด้วยการยกเลิกแรงงานบังคับ ค.ศ. ๑๙๕๗ (๙) อนุสัญญาฉบับที่ ๑๑๖
        ว่าด้วยการแก้ไขบางส่วนของอนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๖๑ (๑๐) อนุสัญญาฉบับที่ ๑๒๒ ว่าด้วยนโยบายการท�างาน ค.ศ. ๑๙๖๔
        (๑๑) อนุสัญญาฉบับที่ ๑๒๗ ว่าด้วยน�้าหนักสูงสุดที่อนุญาตให้คนงานคนหนึ่งแบกหามได้ ค.ศ. ๑๙๖๗ (๑๒) อนุสัญญาฉบับที่

        ๑๓๘ ว่าด้วยอายุขั้นต�่าที่อนุญาตให้จ้างงานได้ ค.ศ. ๑๙๗๓ (๑๓) อนุสัญญาฉบับที่ ๑๕๙ ว่าด้วยการฟื้นฟูด้านการฝึกอาชีพและ
        การจ้างงาน (คนพิการ) ค.ศ. ๑๙๘๓ (๑๔) อนุสัญญาฉบับที่ ๑๘๒ ว่าด้วยการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย ค.ศ. ๑๙๙๙
                                                                                                          ๒๐๘

                 ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ได้ให้การรับรองสิทธิและเสรีภาพ
        ของบรรดาชนชาวไทยไว้ตามบทบัญญัติมาตรา ๔ โดยประกันว่า บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณี

        การปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
        ที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้ นอกจากนี้ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับผ่าน
        การลงประชามติ เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ ได้มีบทบัญญัติที่มีสาระเกี่ยวกับสิทธิในการท�างานในส่วนของการรับรองเสรีภาพ

        ในการประกอบอาชีพอย่างชัดเจนในมาตรา ๔๐ กล่าวคือ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ การตรากฎหมายต้อง
                                   ๒๐๙
        ไม่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติ

        ๔.๓.๒ สถานการณ์ทั่วไป
                 จากข้อมูลการส�ารวจแรงงานของประเทศไทย (เฉพาะที่ถูกกฎหมาย) ของส�านักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ปี ๒๕๕๗

        มีผู้มีงานท�า ๓๘.๔ ล้านคน จ�าแนกเป็นแรงงานในระบบ ๑๖.๓ ล้านคน และแรงงานนอกระบบ ๒๒.๑ ล้านคน ปี ๒๕๕๘ มี
        ผู้มีงานท�า ๓๘.๓ ล้านคน จ�าแนกเป็นแรงงานในระบบ ๑๖.๙ ล้านคน และแรงงานนอกระบบ ๒๑.๔ ล้านคน และปี ๒๕๕๙
                                                                                                          ๒๑๐
        มีผู้มีงานท�า ๓๘.๓ ล้านคน จ�าแนกเป็นแรงงานในระบบ ๑๗.๐ ล้านคน และแรงงานนอกระบบ ๒๑.๓ ล้านคน ตามล�าดับ
        ข้อมูลจากส�านักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า ในปี ๒๕๕๙ แรงงานนอกระบบมีจ�านวน ๒๑.๓ ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานใน
        ภาคเกษตรกรรมร้อยละ ๕๔.๘ รองลงมาเป็นแรงงานในภาคการค้าและบริการร้อยละ ๓๔.๐ และภาคการผลิตร้อยละ ๑๑.๒
        ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลแรงงานนอกระบบช่วงตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ – ๒๕๕๙ พบว่า ในช่วงปี ๒๕๕๔ – ๒๕๕๖ แรงงานนอก


                 ๒๐๗  จาก สหภาพแรงงานเอสโซ่แห่งประเทศไทย, สืบค้นจาก http://www.unionesso.org/
                 ๒๐๘  ปัจจุบันเป็นภาคี ๑๕ ฉบับ โดยอนุสัญญาฉบับที่ ๑๘๗ ว่าด้วยกรอบเชิงส่งเสริมการด�าเนินงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ค.ศ. ๒๐๐๖ เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐
                 ๒๐๙  ปัจจุบันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐
                 ๒๑๐  แรงงานนอกระบบ หมายถึง ผู้มีงานท�าที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง หรือไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการท�างาน

                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  122  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128