Page 129 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 129
๒) ปัญหาด้านแรงงาน
ในวันแรงงานแห่งชาติ วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ สภาองค์การ
ลูกจ้างสภาลูกจ้างแห่งชาติ (สสช.) ในฐานะประธานจัดงานวันแรงงานชาติ
ปี ๒๕๕๙ ได้ยื่นข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติต่อรัฐบาลทั้งสิ้น ๑๕ ข้อ
อาทิ ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗
และ ๙๘ เร่งปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต�่า ปฏิรูปส�านักงานประกันสังคม ด�าเนินการ
น�าร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
เข้าสู่ สนช. การตรากฎหมายตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้กับลูกจ้างฯ ยกเว้นการเก็บภาษีเงินได้กรณีค่าชดเชยของลูกจ้าง
ภาคเอกชนฯ ตราพระราชกฤษฎีกาการจัดเก็บเงินสะสม และเงินสมทบ เพื่อเป็นกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างฯ สนับสนุนและ
ผลักดันกฎหมายพัฒนารัฐวิสาหกิจฯ ยกระดับส�านักความปลอดภัยแรงงานเป็นหน่วยงานระดับกรม สนับสนุนมูลนิธิพิพิธภัณฑ์
แรงงานไทย บังคับให้สถานประกอบการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑/๑ อย่างเคร่งครัด
๒๓๑
จัดตั้งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ จัดสรรงบประมาณดูแลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของแรงงาน จัดระบบบ�านาญ
๒๓๒
พื้นฐาน และแต่งตั้งคณะท�างานติดตามข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติปี ๒๕๕๙
๒๓๓
องค์กรต่างประเทศ ๒๗ องค์กร ได้มีจดหมายถึงคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปว่าด้วยการประมง กิจการในทะเล
และสิ่งแวดล้อม คณะกรรมาธิการยุโรป และผู้แทนสหภาพยุโรปประจ�าประเทศไทย เพื่อเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการสหภาพ
ยุโรปฯ ยังคงให้ใบเหลืองกับประเทศไทยต่อไปอีก ๖ เดือน เพื่อให้รัฐบาลไทยมีแนวนโยบายในการแก้ไขปัญหาการละเมิด
สิทธิแรงงานในอุตสาหกรรมประมงทะเลอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในมาตรการส�าคัญที่ ๒๗ องค์กรดังกล่าวนี้เรียกร้อง
คือ การที่รัฐบาลไทยต้องให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ เพื่อให้เกิดการคุ้มครองการจ้างงาน
๒๓๔
ในอุตสาหกรรมดังกล่าวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างแท้จริง
ค�าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๕๘/๒๕๕๙ ก�าหนดให้นอกจากคนพิการที่เป็นผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิคนพิการตาม
พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ แล้ว ยังได้รับสิทธิบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐาน
และมีประสิทธิภาพตามที่ก�าหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และก�าหนดให้กองทุนประกันสังคมตามกฎหมาย
ว่าด้วยการประกันสังคมเป็นผู้จ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าว ส่งผลให้ผู้พิการที่บาดเจ็บที่ไม่เนื่องจากการท�างาน และเป็นผู้ประกันตน
ตามมาตรา ๓๓ ในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตั้งแต่ต้น และไม่เคยใช้สิทธิ
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาก่อนหน้านี้ ต้องถูกย้ายสิทธิไปใช้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแทน ซึ่งอาจท�าให้ไม่ได้รับ
ความสะดวก ในการรักษาพยาบาล โดยเฉพาะกลุ่มที่เคยรับบริการในโรงพยาบาลเอกชนที่ใกล้สถานประกอบการ ตลอดจน
๒๓๕
อาจท�าให้ได้รับบริการการรักษาพยาบาลที่ต่างไปจากเดิม
นอกจากนี้ ส�านักงานประกันสังคมได้มีหนังสือที่ รง ๐๖๐๓ /ว๑๕๙๕ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ขอความร่วมมือ
ช�าระเงินสมทบกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทนผ่านระบบธนาคารหรือหน่วยบริการ มีผลท�าให้ผู้ประกันตน
ไม่สามารถช�าระเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ณ ที่ท�าการส�านักงานประกันสังคมสาขาต่าง ๆ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม
ยกเว้นเฉพาะกรณีที่ผู้ประกันตนขาดส่งเงินสมทบย้อนหลังไป ๒ เดือน จึงจะสามารถช�าระที่ส�านักงานประกันสังคมสาขาต่าง ๆ ได้
๒๓๑ มาตรา ๑๑/๑ ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาคนมาท�างานอันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน โดยการท�างานนั้นเป็น
ส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการ และโดยบุคคลนั้นจะเป็นผู้ควบคุมดูแลการท�างานหรือรับผิดชอบในการจ่ายค่าจ้างให้แก่คน
ที่มาท�างานนั้นหรือไม่ก็ตาม ให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของคนที่มาท�างานดังกล่าว ให้ผู้ประกอบกิจการด�าเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ท�างานในลักษณะเดียวกัน
กับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ
๒๓๒ วันแรงงาน ๒๕๕๙ เรียกร้อง ‘ขึ้นค่าแรงขั้นต�่า-ให้ คสช. คืนประชาธิปไตย’ https://prachatai.com/journal/2016/05/65558
๒๓๓ เช่น American Federation of Labor-Congress of Industrial Organizations (AFL-CIO) Greenpeace, Human Rights Watch, International Labor Rights Forum เป็นต้น
๒๓๔ จาก ย้อนปี ๕๙ กับ ๑๐ แพ็กเกจ ก. แรงงาน ‘สร้างความทุกข์ สกัดความสุข ไม่หยุดยั้งการละเมิดสิทธิ’, โดยบุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์, ๒๕๖๐
๒๓๕ แหล่งเดิม.
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 128 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙