Page 120 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 120

ประชากรไทยที่ก�าลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุนั้น กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ศึกษาแนวทางใหม่ในการบริหารงบประมาณ
            ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการและครอบครัวเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งอาจจะพิจารณาแนวทาง

                                                                                             ๑๙๘
            การท�าประกันสุขภาพให้กับกลุ่มข้าราชการและครอบครัว โดยรัฐจะเป็นผู้จ่ายเบี้ยประกันสุขภาพให้  อย่างไรก็ดี ประเด็น
            ดังกล่าวยังเป็นที่โต้แย้งในกลุ่มนักวิชาการและยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่า ใช้แนวทางการท�าประกันสุขภาพหรือไม่ โดยนักวิชาการ
            กลุ่มหนึ่งยังเห็นว่ารัฐควรบริหารงบประมาณเองด้วยการพัฒนาระบบการติดตามค่าใช้จ่ายมากกว่าการเปลี่ยนระบบบริหาร
                                                ๑๙๙
            โดยให้ภาคเอกชนมาด�าเนินการจัดการแทน


                     นอกจากนี้ รัฐได้ด�าเนินการลดความ
            เหลื่อมล�้าเกี่ยวกับสิทธิในการเข้าถึงการรับบริการ
            สาธารณสุขในกรณีฉุกเฉิน  ภายใต้โครงการ

            “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ” โดย
            ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติสถานพยาบาล
            (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕ เพื่อประกันสิทธิในการ
            เข้าถึงการบริการสาธารณสุข ในกรณีเหตุเจ็บป่วย
            ฉุกเฉิน และต่อมา ในเดือนธันวาคม ๒๕๕๙

            กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติ
            สถานพยาบาล (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๙ ซึ่งมีผลท�าให้
            โรงพยาบาลของรัฐหรือของเอกชนจะต้องดูแล

            ผู้ป่วย หากเข้ากลุ่มอาการกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน
            ในช่วง ๗๒ ชั่วโมงแรก โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย                                                                สถานการณ์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
                                                  ๒๐๐
            ต่อมาในเดือนมีนาคม  ๒๕๖๐  ได้มีประกาศ
            กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ก�าหนดผู้ป่วยฉุกเฉิน
            โดยประกาศฉบับนี้ให้น�าประกาศของคณะกรรมการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่อง หลักเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดแยกระดับความฉุกเฉิน

            และมาตรฐานการปฏิบัติการฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๔ ตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาใช้ในการก�าหนด
            กลุ่มอาการกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน นอกจากนี้ ในเบื้องต้นกระทรวงสาธารณสุขได้เสนอของบประมาณเพื่อสนับสนุนโครงการ
            “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ” เป็นเงินจ�านวน ๑,๐๐๐ ล้านบาท  โดยประชาชนสามารถเข้าถึงสิทธิในการรับบริการ   บทที่
                                                                      ๒๐๑
            สาธารณสุขภายใต้ โครงการ “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ” ได้ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๐ เป็นต้นไป   ๔


                     อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพไม่เพียงแต่จะเป็นการเข้าถึงสิทธิในระบบสุขภาพ แต่ยังต้องเข้าถึง
            ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ ซึ่งขยายมิติการเข้าถึงไปยังสิทธิในอาหารซึ่งเชื่อมโยงกับสิทธิด้านสุขภาพได้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
                                                                                                              ๒๐๒
            ได้รับร่างพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารส�าหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. ….
            เพื่อปกป้อง ส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาและประกันการเข้าถึงข้อมูลที่ครบถ้วนให้กับมารดาในการเลือก
                               ๒๐๓
            อาหารแก่บุตรแรกเกิด  การตรากฎหมายดังกล่าวเป็นความพยายามของรัฐในการสร้างความตระหนักให้ภาคอุสาหกรรม
            ค�านึงถึงการเคารพสิทธิด้านสุขภาพ






                     ๑๙๘  จาก คลังเตรียมจัดแพคเกจคุมเบิกค่ารักษา “ข้าราชการ” ดึงบริษัทประกันบริหารงบ ๖ หมื่นล้าน-ยันไม่กระทบสิทธิเดิม, งานเดิม.
                     ๑๙๙  จาก “ประกันเอกชน” ดูแลข้าราชการ ต้องคิดให้ดี, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://www.komchadluek.net/news/scoop/252069
                     ๒๐๐  พระราชบัญญัติ สถานพยาบาล (ฉบับที่  ๔) พ.ศ. ๒๕๕๙
                     ๒๐๑  จาก ๖ อาการฉุกเฉินวิกฤติ เข้ารักษาในโรงพยาบาลฟรี ๗๒ ชม., ๒๕๖๐, สืบค้นจาก http://health.sanook.com/5937/
                     ๒๐๒  ร่าง พระราชบัญญัติ ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารส�าหรับทารกและเด็กเล็ก และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. ....
                     ๒๐๓  จาก สนช.ผ่านกฎหมายโค้ดมิลค์ ห้ามโฆษณา อาหารเสริมเด็ก ๑ ปี, ๒๕๖๐, สืบค้นจาก https://www.hfocus.org/content/2017/04/13737


                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  119  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125