Page 128 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 128
๒๒๕
ที่เป็นธรรม การคุ้มครองสุขภาพและสวัสดิการสังคม และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ โดยอนุสัญญาทั้งสองฉบับสอดคล้องกับหลักการ
งานที่มีคุณค่า (Decent Work) และสะท้อนอยู่ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs)
ข้อที่ ๘ เรื่อง การส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและทั่วถึง การมีงานท�าอย่างมีผลิตภาพและเต็มที่
มีประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตรา
๒๒๖
ค่าจ้างขั้นต�่า (ฉบับที่ ๘) ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๙
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๐ จ�านวน ๔
๒๒๗
อัตรา คือ วันละ ๓๐๐ บาท ๘ จังหวัด วันละ ๓๐๕
บาท จ�านวน ๔๗ จังหวัดวันละ ๓๐๘ บาท จ�านวน ๑๓
๒๒๙
๒๒๘
จังหวัด และวันละ ๓๑๐ บาท จ�านวน ๗ จังหวัด ซึ่ง
คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ มีมติ
รับทราบประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้าง
ขั้นต�่า (ฉบับที่ ๘) ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ ก�าหนด
อัตราค่าจ้างขั้นต�่า ปี ๒๕๖๐ โดยเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต�่าขึ้น
๕ - ๑๐ บาท/วัน จ�านวน ๖๙ จังหวัด ครอบคลุมทุกภูมิภาค และคงอัตราค่าจ้างขั้นต�่าไว้ที่ ๓๐๐ บาท/วัน จ�านวน ๘ จังหวัด
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๐ เป็นต้นไป โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๙
มีประกาศคณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปท�าที่บ้าน เรื่อง อัตราค่าตอบแทนในงานที่รับไปท�าที่บ้าน ลงวันที่
๓๐ กันยายน ๒๕๕๙ โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ โดยมีสาระส�าคัญ เพื่อให้อัตราค่าตอบแทนของงาน
ที่รับไปท�าที่บ้านในงานที่มีการจ้างงานกันในสถานประกอบกิจการต้องไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างในสถาน
ประกอบกิจการ ส่วนอัตราค่าตอบแทนของงานที่รับไปท�าที่บ้านในงานที่ไม่มีการจ้างงานกันในสถานประกอบกิจการ
ให้เป็นไปตามที่ผู้จ้างงานและผู้รับงานไปท�าที่บ้านตกลงกันข้อ ๔ ทั้งนี้ ต้องไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต�่าตามกฎหมายว่าด้วย สถานการณ์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
การคุ้มครองแรงงานก�าหนด และให้พนักงานตรวจแรงงานมีอ�านาจวินิจฉัยกรณีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอัตราค่าตอบแทน
จัดท�า MOU ร่วมกับผู้ประกอบกิจการประมง สิ่งทอ อ้อย/น�้าตาล สนับสนุนให้สถานประกอบกิจการน�ามาตรฐาน
แรงงานไทย และแนวทางปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices: GLP) มาใช้รวมถึงการเรียกร้องสิทธิประโยชน์
ให้แรงงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
จัดท�าแผนปฏิรูปและพัฒนาประสิทธิภาพงานประกันสังคม โดยก�าหนด Road Map ขั้นตอนการด�าเนินการ
ระยะเวลา เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์แต่ละขั้นตอน บทที่
๔
ในส่วนของแรงงานนอกระบบ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ เห็นชอบและอนุมัติเห็นชอบ
ร่างเอกสารอาเซียนที่จะรับรองในการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน ครั้งที่ ๒๔ ระหว่างวันที่ ๑๐ - ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙
ณ กรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประกอบด้วย ร่างปฏิญญาเวียงจันทน์ว่าด้วยการเปลี่ยนผ่าน
จากการจ้างงานนอกระบบไปสู่การจ้างงานในระบบเพื่อมุ่งสู่การส่งเสริมงานที่มีคุณค่าในอาเซียน โดยร่างปฏิญญาฯ เป็นเอกสาร
แสดงเจตนารมณ์ของผู้น�าอาเซียนเพื่อส่งเสริมให้มีการเปลี่ยนผ่านจากการจ้างงานนอกระบบไปสู่การจ้างงานในระบบ
๒๓๐
ซึ่งที่ประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนบวก ๓ ครั้งที่ ๙ เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ได้ให้ความเห็นชอบร่างดังกล่าว
๒๒๕ จาก ไทยยื่นสัตยาบันสารอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๑๘๗ ว่าด้วยกรอบเชิงส่งเสริมการด�าเนินงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ค.ศ. ๒๐๐๖
อย่างเป็นทางการ, งานเดิม.
๒๒๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๙
๒๒๗ ได้แก่ จังหวัดชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี ยะลา ระนอง และสิงห์บุรี
๒๒๘ ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา ชลบุรี เชียงใหม่ นครราชสีมา ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา พังงา ระยอง สงขลา สระบุรี และสุราษฎร์ธานี
๒๒๙ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ภูเก็ต สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
๒๓๐ ประกอบด้วยหลักการส�าคัญ คือ (๑) ส่งเสริมนโยบายการจ้างงานที่ทุกคนมีส่วนร่วมโดยเฉพาะในชนบท โดยการเปลี่ยนผ่านจากการจ้างงานนอกระบบไปสู่การจ้างงาน
ในระบบ (๒) สร้างและขยายการจ้างงานที่ได้รับการคุ้มครองทางสังคมอย่างเท่าเทียม (๓) อ�านวยความสะดวกในการเปลี่ยนผ่านจากการจ้างงานนอกระบบไปสู่การจ้างงานในระบบ
โดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การวิจัยและการแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวปฏิบัติที่ดี (๔) ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนผ่านดังกล่าว และ (๕) การด�าเนินการตาม
ร่างเอกสารฉบับนี้เป็นไปตามกฎระเบียบ นโยบาย และแผนงานระดับชาติของแต่ละประเทศสมาชิก
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 127 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙