Page 130 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 130
ซึ่งในกรณีนี้ได้มีการฟ้องต่อศาลปกครองกลางคดีหมายเลขด�าที่ ๑๒๒๔/๒๕๕๙ เมื่อสิงหาคม ๒๕๕๙ โดยเห็นว่าเป็นการท�าให้
ผู้ประกันตนเกิดภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จากการที่ธนาคารพาณิชย์ เคาน์เตอร์เซอร์วิส
หรือที่ท�าการไปรษณีย์ เรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ประกันตนที่น�าเงินไปช�าระผ่านช่องทางดังกล่าวในอัตรา ๑๐ บาท
๒๓๖
ต่อรายการ (ต่อครั้ง) ในแต่ละช่องทาง ถือเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายแก่ผู้ประกันตนเพิ่มขึ้น
ส�าหรับแรงงานไทยที่ไปท�างานในต่างประเทศ กรมการจัดหางานระบุว่า ตลอดปี ๒๕๕๙ มีจ�านวนแรงงานไทย
ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานให้เดินทางไปท�างานต่างประเทศและยังคงท�างานอยู่ทั้งสิ้น ๑๑๔,๔๓๗ คน
โดยท�างานที่ไต้หวัน เกาหลีใต้ และอิสราเอลมากเป็นสามอันดับแรก อย่างไรก็ตามพบว่า พฤติกรรมการหลอกลวง
ของนายหน้าหางานเปลี่ยนไปจากเดิม โดยเปลี่ยนจากการเข้าไปตามหมู่บ้านเป็นการลงค�าโฆษณาออนไลน์ ทั้งนี้ สถิติการร้องทุกข์
ของคนหางานและการได้รับการช่วยเหลือกรณีจัดหางานต่างประเทศทั่วประเทศ เมื่อเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน ๒๕๕๙
มีผู้ร้องทุกข์ จ�านวน ๑๒๑ ราย ในจ�านวนนี้ได้รับการช่วยเหลือทั้งสิ้น ๑๑๙ ราย
๒๓๗
๔.๓.๔ การประเมินสถานการณ์
โดยที่ลักษณะทั่วไปของสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมมีลักษณะเป็นสิทธิเชิงบวกหรือสิทธิที่รัฐจะต้อง
ด�าเนินการให้เกิดความก้าวหน้า (Positive Rights/Progressive Realization of Rights) เป็นล�าดับ และใช้เวลาในการที่
จะท�าให้สิทธิดังกล่าวเกิดขึ้นจริง โดยรัฐมีพันธกรณีที่จะต้องจัดสรรทรัพยากรที่มีเพื่อให้สิทธิได้เกิดความก้าวหน้าเป็นล�าดับ
รัฐจึงมีหน้าที่และพันธกิจหลายประการที่ต้องด�าเนินการให้สอดคล้องกับสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ไทย
เป็นภาคี ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประจ�ากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รัฐธรรมนูญ
และกฎหมายไทย ตลอดจนข้อเสนอแนะจากกระบวนการ UPR รวมทั้งการให้ค�ามั่นโดยสมัครใจ (Pledge) ต่อที่ประชุม UPR
ซึ่งจากการติดตามสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับแรงงานไทย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) สถานการณ์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
เห็นว่า รัฐได้มีมาตรการ/กฎหมาย/นโยบายหลายอย่างเพื่อช่วยส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในการท�างานของแรงงานไทย
อย่างไรก็ดี ยังพบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับแรงงานซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา ที่รัฐบาลควรน�าไปพิจารณา
ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
๑. รัฐควรพิจารณาเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ โดยเร็ว
เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิแรงงานอย่างแท้จริง และเพื่อป้องกันการถูกน�าเงื่อนไขการเข้าเป็นภาคีดังกล่าวมาเป็นเครื่องมือ
กีดกันทางการค้าของคู่ค้าต่างชาติ นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของไทยต่อสังคมโลกด้วยเนื่องจากเป็นเรื่องที่รัฐ บทที่
ให้ค�ามั่นต่อที่ประชุม UPR ทั้งสองรอบ ๔
๒. รัฐไม่ควรสร้างเงื่อนไขที่เป็นการเพิ่มภาระให้คนท�างาน
ในการเข้าถึงระบบประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน เช่น ในกรณี
ของหนังสือส�านักงานประกันสังคมที่ รง ๐๖๐๓/ว๑๕๙๕ ลงวันที่ ๓๑
มีนาคม ๒๕๕๙ แต่ควรส่งเสริมให้มีช่องทางการเข้าถึงที่หลากหลาย
สะดวก และไม่เพิ่มภาระค่าใช้จ่าย และควรเปิดโอกาสให้มีผู้ท�างาน
ที่เป็นกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้พิการ สามารถใช้สิทธิในการรับบริการ
สาธารณสุขได้ทั้งตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพและกฎหมาย
ว่าด้วยประกันสังคม เป็นต้น
๓. รัฐควรสนับสนุนให้มีกลไก/มาตรการจูงใจในการผลักดัน
ให้ผู้ประกอบการน�ามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่าง ๆ มาใช้ เช่น
Good Labour Practices หลักการ UNGP เป็นต้น เพื่อลดปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงาน
๒๓๖ แหล่งเดิม.
๒๓๗ จาก คนไทยแห่ขุดทอง ไต้หวัน เกาหลี อิสราเอล ญี่ปุ่น ขนเงินกลับบ้าน ๑.๑ แสน., โดย ไทยรัฐออนไลน์, ๒๕๖๐, สืบค้นจาก http://www.thairath.co.th/
content/829473
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 129 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙