Page 126 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 126

๒๑๓
            ต่อรอง ค.ศ. ๑๙๔๙ ซึ่งถือเป็น ๒ ใน ๘ อนุสัญญาหลัก  ซึ่งเรื่องนี้
            กระทรวงแรงงานได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นถึงผลกระทบ ข้อดี

            ข้อเสีย เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาสาระส�าคัญก่อนน�าเสนอ
            ต่อคณะรัฐมนตรี


                     ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานระบุว่า มีจ�านวนองค์การด้านแรงงาน
            ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ ทั้งสิ้น ๑,๘๑๔ แห่ง จากสถานประกอบการ

            ทั้งหมด ๓๖๔,๐๘๑ แห่ง จ�าแนกเป็นองค์การนายจ้างทั้งสิ้น ๓๓๔ แห่ง
            และองค์การลูกจ้าง ๑,๔๘๐ แห่ง โดยมีอัตราสหภาพแรงงานต่อ
            สถานประกอบการ ๑๐๐,๐๐๐ แห่ง อยู่ที่ ๓๙๖.๓๔ ลดลงจากปีที่แล้ว

            อยู่ที่ ๔๓๒.๐๑ อัตราสหพันธ์แรงงานต่อสหภาพแรงงานทั้งหมดอยู่ที่
            ร้อยละ ๑.๕๒ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อยอยู่ที่ ร้อยละ ๑.๓๒ และ
            อัตราการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานต่อจ�านวนลูกจ้างทั้งหมดอยู่ที่
            ร้อยละ ๖.๙๙ ลดลงจากปีที่ผ่านมา อยู่ที่ร้อยละ ๗.๔๗



                     ๓) การได้รับสวัสดิการและประกันสังคม
                        ข้อมูลจากส�านักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน พบว่า ในปี  ๒๕๕๗ – ๒๕๕๙ มีจ�านวนผู้ประกันตน ตามมาตรา ๓๓
                                                                                                              ๒๑๔
            มาตรา ๓๙  และมาตรา ๔๐  รวมทั้งสิ้น ๑๓.๖๒ ล้านคน ๑๓.๗๙ ล้านคน และ ๑๔.๐๓ ล้านคน ตามล�าดับ เห็นได้ว่า จ�านวน
                                    ๒๑๖
                     ๒๑๕
            ก�าลังแรงงานที่มีสิทธิได้รับการคุ้มครองในระบบประกันสังคมมีจ�านวนเพิ่มขึ้นทุกปี อย่างไรก็ตาม แม้อัตราแรงงานที่เป็นผู้ประกันตน
            (คิดจากจ�านวนผู้ประกันตนของกองทุน ประกันสังคมตามมาตรา ๓๓, ๓๙ และ ๔๐) ต่อจ�านวนผู้มีงานท�า  คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๒๕  สถานการณ์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
                                                                                            ๒๑๗
                                                                                                            ๒๑๘
            ขยายตัวจากปีที่แล้วร้อยละ ๒.๗๐ แต่ก็ยังมีแรงงานที่เข้าสู่ระบบประกันสังคมไม่ถึงร้อยละ ๕๐ ของผู้มีงานท�าในประเทศไทย

                     ๔) ข้อเรียกร้องด้านแรงงาน

                        องค์กรด้านแรงงานได้มีความพยายามเรียกร้องสิทธิด้านแรงงานต่อรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในวันแรงงานแห่งชาติ
            โดยตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ – ๒๕๕๙ มีข้อเรียกร้องร่วมที่องค์กรด้านแรงงานต้องการให้รัฐบาลเข้าแก้ไขปัญหาของผู้ใช้แรงงาน ได้แก่ (๑) การให้
            รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง   บทที่

            (๒) ให้มีการปฏิรูปส�านักงานประกันสังคม (สปส.) เป็นองค์กรอิสระ แก้ไขกฎกระทรวงเกี่ยวกับบัตรรับรองสิทธิรักษาพยาบาล   ๔
            ใบเดียวใช้ได้ทุกโรงพยาบาลในระบบประกันสังคม (๓) เร่งด�าเนินการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ฉบับแก้ไข
            เพิ่มเติมของผู้ใช้แรงงาน เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร (๔) ตรากฎหมายตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้กับ
            ลูกจ้างในกรณีที่สถานประกอบกิจการ เลิกจ้าง ไม่จ่ายค่าตอบแทน เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงในการท�างาน (๕) ยกเว้น
            การเก็บภาษีเงินได้กรณีค่าชดเชยของลูกจ้างภาคเอกชนและเงินตอบแทนความชอบของพนักงานรัฐวิสาหกิจ รวมถึงเงินได้อื่น ๆ

            ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายของลูกจ้าง (๖) ให้รัฐบาลสนับสนุนและผลักดันกฎหมายพัฒนารัฐวิสาหกิจ และยุตินโยบายการแปรรูป
            หรือแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทเอกชนหรือยุบเลิกรัฐวิสาหกิจ (๗) ตราพระราชกฤษฎีกาการจัดเก็บเงินสะสมและ
            เงินสมทบเพื่อเป็นกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ตามบทบัญญัติว่าด้วยเงินกองทุนสงเคราะห์ ในหมวด ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติ


                     ๒๑๓  ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาที่เป็นกรอบมาตรฐานแรงงานและเป็นอนุสัญญาพื้นฐาน ๓ ฉบับ ได้แก่ อนุสัญญาฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคม
            และการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว ฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง และฉบับที่ ๑๑๑ ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติ (การจ้างแรงงานและการประกอบอาชีพ)
                     ๒๑๔  ผู้ประกันตนมาตรา ๓๓ ได้แก่ ผู้ประกันตนภาคบังคับ ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓.
                     ๒๑๕  ผู้ประกันตนมาตรา ๓๙ ได้แก่ ผู้ที่เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ จ่ายเงินสมทบมาแล้วตามที่กฎหมายก�าหนด ลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนมาตรา ๓๓
            แล้วมาแสดงความจ�านงโดยสมัครใจขอเป็นผู้ประกันตนต่อไป
                     ๒๑๖  ผู้ประกันตนตามมาตรา ๔๐ ได้แก่ บุคคลทั่วไปที่มีอายุไม่ต�่ากว่า ๑๕ ปีบริบูรณ์และไม่เกิน ๖๐ ปีบริบูรณ์ และไม่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา ๓๓ หรือ มาตรา ๓๙
            และมาแสดงความจ�านงสมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ
                     ๒๑๗  อ้างอิงจ�านวนผู้มีงานท�าจากส�านักงานสถิติแห่งชาติ
                     ๒๑๘  จาก สถานการณ์และการเตือนภัยด้านแรงงานปี ๒๕๕๙, เล่มเดิม.


                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  125  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131