Page 118 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 118

กับสถานการณ์ที่จะส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพของประเทศในระยะเวลา ๑๐ ปี รวมถึงยังได้เพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต
            สุขภาพทางปัญญา การอภิบาลระบบสุขภาพ และธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ นอกจากนี้ ยังพบปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพที่ส่งผลกระทบ

            ต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาวะโดยรวมของประเทศ จากข้อมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๙ ซึ่งเป็นข้อมติเกี่ยวกับการ
            จัดการและการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนและเมืองเพื่อสุขภาวะ น�้าดื่มที่ปลอดภัยส�าหรับประชาชน การสร้างเสริมสุขภาวะเด็ก
                                                                                      ๑๘๖
            ปฐมวัยด้วยการบูรณการอย่างมีส่วนร่วม และการสานพลังปราบยุงลายโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน  และยังให้ความส�าคัญในการ
            พัฒนาระบบการบริหารจัดการด้านการบริการสาธารณสุขโดยเน้นให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน
            และพัฒนาการจัดการด้านสุขภาพของประชาชนตามกลุ่มวัย ในเดือนตุลาคม ๒๕๕๙ มีประกาศระเบียบส�านักนายกรัฐมนตรี

                                                           ๑๘๗
            ว่าด้วยการจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน พ.ศ. ๒๕๕๙  ภายใต้ระเบียบดังกล่าวน�าไปสู่การจัดตั้งเขตสุภาพ (health
            area) เพื่อประชาชน โดยหนึ่งเขตสุขภาพจะประกอบด้วย กลุ่มจังหวัดซึ่งรวมแล้วมีประชากรประมาณ ๓ - ๖ ล้านคน
            รวมทั้งสิ้น ๑๓ เขตพื้นที่ ครอบคลุมทั้งประเทศ การจัดตั้งเขตสุขภาพและการจัดตั้งคณะกรรมการเขตสุขภาพถือเป็นกลไกที่ส�าคัญ

            ของกระทรวงสาธารณสุขในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีการด�าเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการบริหารและ
            ใช้งบประมาณ ตลอดจนบุคลากรด้านสาธารณสุขร่วมกันระหว่างหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข ส�านักงานหลักประกันสุขภาพ
            และคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพเขต  และกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดท�าแผนยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสุขภาพระยะ ๓ ปี
                                               ๑๘๘
            ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๑ เพื่อน�าเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพมาพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการเชื่อมโยง
            และแลกเปลี่ยนข้อมูลในระบบข้อมูลสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ โดยการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวมาบริหารจัดการระบบสุขภาพ

            จะท�าให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงระบบบริการสุขภาพที่สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ๑๘๙


                     นอกจากนี้ การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่มีงบประมาณรายจ่ายในการด�าเนินการ

            เพิ่มขึ้นทุกปี คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงได้พิจารณาแนวทางการบริหารจัดการให้กองทุนฯ มีความยั่งยืน
            ภายใต้ข้อกฎหมายของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยที่ยังไม่มีข้อสรุปทางกฎหมายที่ชัดเจน   สถานการณ์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
                                                                                                              ๑๙๐
            เพื่อแก้ไขปัญหาบริหารจัดการกองทุน เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ประกาศค�าสั่ง
            หัวหน้า คสช. ที่ ๓๗/๒๕๕๙ เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและจ�าเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขและ
            ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งผลของค�าสั่งฉบับดังกล่าว ท�าให้เงินในกองทุนหลักประกัน

            สุขภาพแห่งชาติสามารถน�าไปจ่ายให้กับหน่วยงานอื่น ๆ ที่ท�าหน้าที่สนับสนุนและส่งเสริมการจัดการบริการสาธารณสุข และ
            สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น การล้างไตผ่านทางช่องท้อง และการช่วยเหลือเงินเบื้องต้นแก่
            ผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข ของหน่วยบริการของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จนกว่าจะมี   บทที่

                                                                                                ๑๙๑
            การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่าย  แต่อย่างไรก็ตาม    ๔
            นักวิชาการมีข้อคิดเห็นที่แตกต่างจากของกระทรวงสาธารณสุข ในการแยกเงินเดือนบุคลากรออกจากงบประมาณเหมาจ่าย
            รายหัว นอกจากนี้ ยังมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ควรมีการปรับองค์ประกอบคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อให้
            สะท้อนถึงสัดส่วนตัวแทนผู้ให้บริการและผู้รับบริการที่เหมาะสม และควรหาแนวทางในอนาคตเพื่อบริหารกองทุน
            ในกรณีที่การให้บริการสาธารณสุขมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าความสามารถของงบประมาณแผ่นดินจะรองรับได้ ๑๙๒



                     จากข้อมูลในปี ๒๕๕๙ พบว่า การเข้าถึงสิทธิในการรับบริการสาธารณสุขของรัฐมีการพัฒนาโดยล�าดับ ประชากร
            เกือบทั้งหมดของประเทศเข้าถึงสิทธิผ่านระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามสิทธิของตนเอง ได้แก่ ระบบหลักประกัน

            สุขภาพแห่งชาติ ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ และระบบประกันสังคม รวมถึงสิทธิในการรับบริการในกรณี


                     ๑๘๖  การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๙
                     ๑๘๗  ระเบียบส�านักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน พ.ศ. ๒๕๕๙
                     ๑๘๘  จาก เขตสุขภาพคืออะไร ท�าไม? เพื่อ? HSRI vs AH, โดย ฐิติมา ,๒๕๕๗, สืบค้นจาก https://www.hsri.or.th/researcher/classroom/detail/5179
                     ๑๘๙  http://www.innews.co.th/shownews/show?newscode=708898
                     ๑๙๐  https://www.isranews.org/2017-03-07-04-25-21/43840-25491.html
                     ๑๙๑  ค�าสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่  ๓๗/๒๕๕๙
                     ๑๙๒  จาก แก้ กม. ๓๐ บาท ต้องไม่ลืมเจตนารมณ์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://www.matichon.co.th/news/224393


                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  117  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123