Page 117 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 117
ถูกทอดทิ้ง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการทางกาย ผู้พิการทางจิตเวช
ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น โดยพิจารณาถึงความ
ต้องการเพื่อจัดระบบบริการที่เหมาะสมอันเป็นแนวทาง
การพัฒนานโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้เกิดความยั่งยืน
มากยิ่งขึ้น และการเข้าถึงสิทธิในการรับบริการสาธารณสุข
ตามระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี
ท�าให้ประเทศไทยได้บรรลุเป้าหมายการลดอัตราการถ่ายทอด
เชื้อเอชไอวีและซิฟิลิสจากมารดาสู่ลูกเหลือต�่ากว่าร้อยละ ๒
นอกจากนี้ ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๙ รัฐบาลประกาศใช้พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
พ.ศ. ๒๕๕๙ จัดตั้งคลินิกวัยรุ่นในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการ
ตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๗ และจัดท�าร่างแผนปฏิบัติการตามยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์
ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๗ เพื่อด�าเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้กลุ่มวัยรุ่นสามารถเข้าถึงสิทธิอนามัย
เจริญพันธุ์ผ่านสิทธิตามระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้มากขึ้น โดยมีเป้าหมายในปี ๒๕๖๗ ว่า อัตราการตั้งครรภ์
จะไม่เกิน ๒๕.๖ คน ต่อประชากรหญิงอายุ ๑๕ - ๑๙ ปี ๑,๐๐๐ คน โดยที่ผ่านมา มีคลินิกวัยรุ่นที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานใน
๑๘๑
โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจ�านวน ๔๒๙ แห่ง คิดเป็นร้อยละ ๕๑ ของโรงพยาบาลที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งหมดที่ให้บริการด้านอนามัยเจริญพันธ์ และคาดว่าในปี ๒๕๖๐ จะสามารถจัดตั้งคลินิกวัยรุ่นในโรงพยาบาลที่สังกัด
กระทรวงสาธารณสุขได้ครบทุกแห่งทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในปี ๒๕๕๙
อัตราการตั้งครรภ์ของ กลุ่มวัยรุ่นไทยอายุ ๑๕ - ๑๙ ปี คือ ๔๓.๘ คนต่อประชากร ๑,๐๐๐ คนในวัยเดียวกัน ซึ่งสูงกว่า
ค่าเฉลี่ยอัตราการตั้งครรภ์ และคลอดบุตรของวัยรุ่นในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกคือ ๓๕ คนต่อประชากร ๑,๐๐๐ คน
ในวัยเดียวกัน (UNFPA State of World Population)
๑๘๒
นอกจากนี้ การดูแลด้านสาธารณสุขขั้นพื้นฐานในกลุ่มเด็กนักเรียนไร้สัญชาติ และไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร
และกลุ่มคนดั้งเดิมที่ไม่มีสัญชาติไทย แต่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และ
กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขให้คนกลุ่มดังกล่าวจ�านวน
๕๕๒,๔๙๓ คน ภายในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๓ และวันที่ ๒๐ เมษายน
๑๘๓
๒๕๕๘ คืนสิทธิให้กับนักเรียนไม่มีสัญชาติไทยและไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร รวมทั้งสิ้นจ�านวน ๖๗,๔๓๓ คนแล้ว
และมีเด็กนักเรียนที่ไม่ได้รับการคืนสิทธิ ซึ่งภาคประชาสังคมได้เรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณาแนวทางในการท�าให้เข้าถึงสิทธิ
๑๘๔
ในการรับบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยอาจจะอยู่ในรูปแบบการท�าประกันสุขภาพในราคาที่สามารถจ่ายได้
๔.๒.๒ สถานการณ์ปี ๒๕๕๙
ในเดือนธันวาคม ๒๕๕๙ กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศใช้ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ พ.ศ.
๒๕๕๙ โดยธรรมนูญฉบับดังกล่าว ได้ก�าหนดหลักการที่ส�าคัญ ได้แก่ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการระบบสุขภาพ
๑๘๕
การจัดบริการสุขภาพให้เข้าถึงกลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ การป้องกัน ควบคุมและจัดการโรคติดต่อ หรือ
โรคอุบัติใหม่ อันเนื่องจากการเคลื่อนย้ายประชากรแบบไร้พรมแดน การจัดการเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้นอย่าง
รวดเร็วเนื่องจากการเข้าถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์ รวมถึงการจัดการปัญหาสังคม ไม่ว่าจะเป็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น หรือ
ปัญหายาเสพติด ตลอดจนการจัดการปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพอื่น ๆ เพื่อที่จะน�าไปใช้ในการบริหารจัดการระบบสุขภาพให้สอดคล้อง
๑๘๑ ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๗
๑๘๒ ภาคผนวก แม่วัยใส ความท้าทายการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ส�านักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจ�าประเทศไทย
๑๘๓ เอกสารข้อเสนอเชิงนโยบาย เรื่อง การเพิ่มกลุ่มที่มีปัญหาสถานะและสิทธิเข้าสู่กองทุนให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ครั้งที่
๓ (น. ๑๔), โดยมูลนิธิพัฒนาชนกลุ่มน้อยและชาติพันธุ์ สนับสนุนโดยกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ.
๑๘๔ จาก สถานการณ์-นโยบายสิทธิขั้นพื้นฐาน ด้านสาธารณสุข ส�าหรับ “เด็ก G”, โดย อัครวิท ระบิน, ๒๕๖๐, สืบค้นจาก http://www.chiangmainews.co.th/page/archives/565262
๑๘๕ ประกาศคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่องธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๙ หน้า ๑๑ เล่ม ๑๑๓ ตอนพิเศษ ๒๘๔ ง ราชกิจจานุเบกษา ๗ ธันวาคม ๒๕๕๙
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 116 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙