Page 115 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 115
ประชาชนวัยแรงงานอีกจ�านวน ๑๓.๖ ล้านคน
สามารถเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพผ่านระบบประกันสังคม ซึ่ง
ประกอบด้วย ผู้ประกันตนภาคบังคับตามกฎหมาย ๑๐ ล้านคน
และภาคสมัครใจ ๓.๖ ล้านคน การเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพใน
ระบบประกันสังคม มีสถานพยาบาลจ�านวนทั้งสิ้น ๒,๕๖๕ แห่ง ทั่ว
ประเทศ ประกอบด้วย สถานพยาบาลหลักของรัฐ ๑๕๘ แห่ง สถาน
พยาบาลหลักของเอกชน ๘๒ แห่ง และสถานพยาบาลเครือ
ข่าย ๒,๓๒๕ แห่ง โดยมีผู้ประกันตนใช้สิทธิการรักษาพยาบาล
คิดเป็นร้อยละ ๙๔ ของผู้มีสิทธิทั้งหมด และเข้ารับการรักษาพยาบาลรวมทั้งสิ้น ๓๓.๑ ล้านครั้ง/ปี คิดเป็นอัตราการใช้บริการ
๒.๔ ครั้ง/คน/ปี นอกจากสิทธิในการรักษาพยาบาลในกรณีเจ็บป่วยทั่วไป กรณีฉุกเฉิน และกรณีอุบัติเหตุแล้ว ผู้ประกันตนยังมี
สิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นในกรณีได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ และกรณีคลอดบุตรมี
สิทธิที่ไม่จ�ากัดจ�านวนครั้งในวงเงินครั้งละ ๑๓,๐๐๐ บาท อีกด้วย แต่การเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพผ่านระบบประกันสังคมนั้น
๑๗๑
ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ อย่างไรก็ตาม
กลับพบว่ารัฐได้ค้างจ่ายเงินสมทบในกองทุนประกันสังคมเป็นจ�านวนกว่า ๖๕,๐๐๐ ล้าน นับตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ เป็นต้นมา
๑๗๒
นอกจากนี้ ยังมีข้าราชการและครอบครัวอีกจ�านวนกว่า ๖ ล้านคนเข้าถึงสิทธิในการรับบริการสาธารณสุขผ่านระบบ
สวัสดิการรักษาพยาบาล โดยรัฐได้จัดสรรงบประมาณในการให้สวัสดิการกับข้าราชการ ๖๕,๐๐๐ ล้านบาทต่อปี ในปี ๒๕๕๙
กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้รายงานว่า มีการเบิกจ่ายงบประมาณในส่วนนี้กว่า ๖๘,๐๐๐ ล้านบาท และภายใต้งบประมาณ
ที่มีอัตราคงที่ทุกปีประกอบกับค่าใช้จ่ายจริงที่มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ท�าให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังต้องศึกษา
รูปแบบการบริการสวัสดิการข้าราชการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยไม่กระทบสิทธิและสวัสดิการที่เคยได้รับเดิม ๑๗๓
นอกจากนี้ ผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ายังสามารถเข้าถึงสิทธิในการรับบริการสาธารณสุขของรัฐ
ในกรณีฉุกเฉิน และกรณีอุบัติเหตุ ผ่านระบบการแพทย์ฉุกเฉินตามนโยบายรักษาดีทุกสิทธิ (Emergency Claim Online:
EMCO) โดยแจ้งเหตุผ่านสายด่วน ๑๖๖๙ ภายใต้เงื่อนไขอาการฉุกเฉินวิกฤต ตามที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กระทรวง
สาธารณสุขได้ก�าหนดไว้ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายกับผู้ป่วยใน ๗๒ ชั่วโมงแรกในโรงพยาบาลของรัฐหรือของเอกชน รวมถึงจะน�าส่ง
ผู้ป่วยฉุกเฉินไปยังโรงพยาบาลตามสิทธิ์เมื่อพ้นวิกฤต หรืออยู่จนครบ ๗๒ ชั่วโมง โดยส�านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
จะเป็นคนกลางในการจ่ายเงินให้โรงพยาบาลที่เข้าร่วมระบบ EMCO เรียกเก็บเงินคืนจากกองทุนตามสิทธิของผู้ป่วยในภายหลัง ๑๗๔
ทั้งนี้ ตามหลักการชี้แนะเรื่องสิทธิมนุษยชนส�าหรับธุรกิจ ตามกรอบงานองค์การสหประชาชาติในการคุ้มครอง เคารพ และ
เยียวยา การเข้าร่วมระบบ EMCO ของโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งเป็นภาคธุรกิจควรต้องค�านึงถึงความรับผิดชอบในการเคารพ
สิทธิด้านสุขภาพซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนประเภทหนึ่ง
จากสถานการณ์ด้านสิทธิสุขภาพ พบว่า มีความแตกต่างกันในการเข้าถึงสิทธิในการรับบริการสาธารณสุขของรัฐ
ทั้งสามระบบ อาทิ การเข้าถึงบริการของสถานพยาบาลของรัฐ ผู้มีสิทธิตามระบบสวัสดิการข้าราชการสามารถใช้บริการ
สถานพยาบาลของรัฐได้ทุกแห่ง ในขณะที่ผู้มีสิทธิตามระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และผู้ประกันตนตามระบบประกันสังคม
เข้าถึงสถานพยาบาลที่ได้ลงทะเบียนไว้เท่านั้น ระบบการเบิกจ่าย ระบบสวัสดิการข้าราชการเป็นระบบการเบิกจ่ายแบบปลายเปิด
หรือจ่ายตามบริการ (fee-for-service) ในขณะที่ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและประกันสังคมเป็นการจ่ายเงินแก่ผู้มีสิทธิ
แบบเหมาจ่ายต่อหัว มีความเหลื่อมล�้าในการเข้าถึงได้ทางเศรษฐกิจ (economic accessibility) ซึ่งเห็นได้จาก อัตราค่ารักษาพยาบาล
๑๗๑ จาก พ.ร.บ.ประกันสังคมใหม่ มีผลบังคับใช้แล้ว ๒๐ ต.ค.นี้ , ๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://bkpho.moph.go.th/bungkanpho/index.php?page=article-view-detail&id=26
๑๗๒ จาก รัฐค้างจ่ายเงินสมทบ ๖๕,๐๐๐ ล้าน ชี้สมาชิก สปส.เสียโอกาสการลงทุน, โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://www.manager.co.th/
iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000074396
๑๗๓ จาก คลังเตรียมจัดแพคเกจคุมเบิกค่ารักษา “ข้าราชการ” ดึงบริษัทประกันบริหารงบ ๖ หมื่นล้าน-ยันไม่กระทบสิทธิเดิม,๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://thaipublica.
org/2016/09/medical-welfare-officials-1/
๑๗๔ จาก สพฉ.ยันฉุกเฉินวิกฤตเข้ารักษา รพ.ใกล้สุด รพ.ไม่เก็บเงินจากผู้ป่วย, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก https://www.hfocus.org/content/2016/05/12140
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 114 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙