Page 113 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 113
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔ บัญญัติให้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของคนไทยยังคงได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองของประเทศไทย โดยรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้ประกันสิทธิในการได้รับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน
โดยรัฐต้องบริการอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ สิทธิในการรับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสม
และทันต่อเหตุการณ์ และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๙ (ฉบับลงประชามติ) ได้บัญญัติให้รัฐมีหน้าที่ต้องด�าเนินการให้
บริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง ซึ่งครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค การรักษา
พยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ โดยรัฐจะต้องพัฒนาการบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
รวมถึงต้องไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลโดยอาศัยเหตุความแตกต่างเรื่องสุขภาพอีกด้วย ๑๖๖
๔.๒.๒ สถานการณ์ทั่วไป
สิทธิด้านสุขภาพเป็นสิทธิซึ่งรัฐมีหน้าที่ด�าเนินการ เพื่อสร้างความมั่นคงทางสุขภาพให้กับประชาชน โดยประเทศไทย
ได้ตราพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการก�าหนดนโยบายด้านสาธารณสุข และ
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ รวมถึงประกาศการใช้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health
Coverage: UHC) เพื่อให้สิทธิด้านสุขภาพสามารถบรรลุผลตามมาตรฐานสูงสุดที่เป็นไปได้ ท�าให้ประชาชนทุกกลุ่มทุกเพศวัย
สามารถเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพ รวมถึงการลดความเหลื่อมล�้าในการเข้าถึงสิทธิโดยไม่เลือกปฏิบัติ (non-discrimination)
การเข้าถึงทางกายภาพ (physical accessibility) และการเข้าถึงได้ทางเศรษฐกิจ (economic accessibility)
คณะกรรมการประจ�ากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มีข้อสังเกตโดยสรุป (concluding
observations) เกี่ยวกับสิทธิด้านสุขภาพของประเทศไทยถึงข้อกังวลเกี่ยวกับการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของกลุ่มคน
ที่ด้อยโอกาสและกลุ่มคนชายขอบ คุณภาพของการบริการสาธารณสุข โดยเฉพาะในโรงพยาบาลชนบท การเข้าถึงการรักษา
พยาบาลของผู้ใช้ยาเสพติดในสถานพยาบาล จ�านวนผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และไวรัสตับอักเสบที่เพิ่มขึ้น และอันตราย
อันเกิดจากมลพิษของอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบทางด้านสุขภาพ ทั้งนี้ ได้มีข้อเสนอแนะให้ประเทศไทยปรับปรุงแก้ไข เพื่อลด
อุปสรรคในการเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพของรัฐ การน�าแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนมาสนับสนุนการดูแลด้านสุขภาพของ
ผู้ใช้ยาเสพติด การบังคับใช้กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลกระทบในเชิงลบด้านสุขภาพ
ต่อประชาชน รวมถึงก�ากับดูแลสิ่งแวดล้อมโดยปรับปรุงสุขลักษณะทางสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรม ๑๖๗
จากรายงานสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน (Universal Periodic Review: UPR) รอบที่ ๒ เมื่อเดือน
พฤษภาคม ๒๕๕๙ ซึ่งเป็นการรายงานภาพรวมสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศในทุกด้านต่อคณะมนตรี
สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Right Council: HRC) และต่อมาในเดือน กันยายน
๒๕๕๙ รัฐบาลได้รับข้อเสนอแนะภายใต้กระบวนการ UPR ที่จะด�าเนินการแก้ไขสถานการณ์สิทธิด้านสุขภาพ เช่น การ
ประกันสิทธิในการมีสุขภาพที่ได้มาตรฐานสูงสุดภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ครอบคลุมประชากรทุกกลุ่ม
โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มคนที่อาศัยในเขตชนบท การพัฒนาปรับปรุงระบบสาธารณสุข
การเสริมสร้างมาตรการการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพที่เท่าเทียมกับส�าหรับทุกคน โดยเฉพาะกับเด็ก สตรี และผู้สูงอายุ
การลดอัตราการตายของทารก รวมถึงปรับปรุงสุขภาพของมารดา เป็นต้น จากการรับข้อเสนอแนะดังกล่าว ท�าให้หน่วยงาน
ของรัฐต่าง ๆ เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และหน่วยงานอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้อง ด�าเนินการปรับปรุงสถานการณ์สิทธิด้านสุขภาพโดยจัดท�าแผนปฏิบัติการในระหว่างปี ๒๕๕๙ - ๒๕๖๓ ซึ่งประกอบด้วย
๑๖๖ ปัจจุบันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐
๑๖๗ United Nations Economic and Social Council E/C.12/THA/CO/1-2, 19June 201, para 29-32.
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 112 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙