Page 114 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 114
การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสุขภาพโดยให้กระทรวงสาธารณสุข ก�าหนดนโยบายในการน�าแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบ
ประกันสังคมโดยกระทรวงแรงงาน รวมถึงการบูรณการฐานข้อมูลแรงงานต่างด้าวให้เชื่อมโยงกับหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ
ที่เกี่ยวข้องการขับเคลื่อนสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์โดยกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน และกระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยเข้าถึงสิทธิด้านอนามัยเจริญพันธุ์ได้มีคุณภาพตามมาตรฐานอย่างเหมาะสม
การลดอัตราการตายของทารกและปรับปรุงสุขภาพของมารดา การลดอันตรายจากการใช้ยาของกลุ่มผู้ใช้สารเสพติด และ
การลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี และไวรัสตับอักเสบ โดยกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น ๑๖๘
นอกจากนี้ ภายใต้วาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๓๐ (The 2030 Agenda
for Sustainable Development) โดยหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
(Sustainable Development Goals –SDGs) ที่เกี่ยวกับสิทธิด้านสุขภาพ คือ
เป้าหมายในการมีสุขภาพที่ดีในทุกช่วงอายุ (good health and well-being) ซึ่ง
ประเทศภาคีต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยต้องท�าให้บรรลุผลภายในปี ๒๕๗๓ ในการสร้าง
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage: UHC) ส�าหรับ
เป้าประสงค์สิทธิด้านสุขภาพ เช่น การเข้าถึงการบริการด้านสาธารณสุขอย่างเป็นธรรม
โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรเปราะบาง เด็ก สตรี ผู้พิการและผู้สูงอายุ การ
ลดอัตราการตายของทารกแรกเกิด การลดอัตราการตายจากโรคไม่ติดต่อ
เรื้อรัง อุบัติเหตุ และสารเคมี การหยุดยั้งการระบาดของไวรัสเอดส์ วัณโรค มาเลเรีย และโรคติดต่ออื่น ๆ
การเฝ้าระวังโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้ออุบัติใหม่ การป้องกันและบ�าบัดรักษาผู้ใช้ยาเสพติด และการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา
ในการผลิตวัคซีน ยา เวชภัณฑ์ และเทคโนโลยีสุขภาพส�าหรับโรคติดต่อ เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลได้ก�าหนดกรอบยุทธศาสตร์ชาติ
ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ว่าด้วยการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของคนไทยที่มุ่งสร้างให้คนไทยเป็นผู้มีสุขภาวะที่ดี สถานการณ์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
ประกอบกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ที่มียุทธศาสตร์ส�าคัญในการส่งเสริม
ให้คนไทยมีสุขภาวะและสุขภาพที่ดีตลอดช่วงชีวิต ลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ สร้างความตระหนักให้ทุกภาคส่วนค�านึงถึง
ผลกระทบด้านสุขภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบสุขภาพของภาครัฐ รวมถึงระบบการเงินการคลัง
ด้านสุขภาพ ๑๖๙
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งเป็นกฎหมายหลักที่ส�าคัญในการใช้วางกรอบและแนวทางการ บทที่
ก�าหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการด�าเนินงานด้านสุขภาพของประเทศ และได้ก�าหนดให้มีการจัดท�าธรรมนูญว่าด้วยระบบ ๔
สุขภาพแห่งชาติและมีการทบทวนธรรมนูญฯ อย่างน้อยทุกห้าปี โดยน�าข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
ซึ่งเป็นเครื่องมือพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสุขภาพที่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
มาประกอบการจัดท�าธรรมนูญฯ โดยรัฐบาลมีหน้าที่หลักในการส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพซึ่งเป็น
สิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคน โดยการจัดระบบบริการสุขภาพอย่างมีคุณภาพและเหมาะสมตามความจ�าเป็นกับประชาชนทุกกลุ่ม
เพศวัย เช่น การมีหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ และระบบการส่งต่อผู้ป่วยที่เหมาะสม ตลอดจนสนับสนุนให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการริเริ่มให้ภาค
เอกชนและภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐที่เกี่ยวข้องซึ่งได้แก่ ส�านักงานหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ส�านักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
ส�านักงบประมาณ ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้ร่างแผนยุทธศาสตร์ระบบบริการสุขภาพเขตเมือง
พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๓ ๑๗๐
๑๖๘ จาก แผนการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ไทยได้รับ และค�ามั่นโดยสมัครใจของไทยภายใต้กลไก UPR รอบที่ ๒, งานเดิม.
๑๖๙ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) มีผลบังคับวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ (หน้า ๖๓ - ๖๔ และหน้า ๖๕ – ๗๔)
๑๗๐ จาก คมส.ไฟเขียวคณะกรรมการระดับชาติ ร่างยุทธศาสตร์ระบบบริการสุขภาพเขตเมือง, โดย ส�านักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก
https://www.nationalhealth.or.th/taxonomy/term/322
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 113 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙