Page 112 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 112
ถึงแม้ว่ารัฐจะได้ประกันการเข้าถึงสิทธิทางการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่มีค่าใช้จ่ายก็ตาม แต่ยังมีเด็กและเยาวชนกลุ่ม
เปราะบางที่ยังเข้าไม่ถึงการศึกษาภาคบังคับ และยังไม่สามารถบรรลุการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพได้ทั้งประเทศ ซึ่งรัฐต้อง
ด�าเนินการปฏิรูประบบการศึกษาอย่างจริงจังเพื่อพัฒนาคุณภาพโดยรวม การให้เด็กกลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้ด้อยโอกาส กลุ่มคน
ที่อยู่ในชนบท กลุ่มเด็กไร้สัญชาติ กลุ่มชาติพันธุ์และผู้ลี้ภัย รวมถึงกลุ่มเด็กที่ติดตามแรงงานข้ามชาติได้เข้าถึงสิทธิทางการศึกษา
ที่สอดคล้องกับความต้องการ ทั้งนี้ การบรรลุผลสิทธิทางการศึกษาได้อย่างสัมฤทธิ์ผล เป็นฐานที่ส�าคัญในการส่งเสริมและ
สนับสนุนการบรรลุสิทธิมนุษยชนประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิด้านสุขภาพ สิทธิแรงงาน สิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง
๔.๒ สิทธิด้านสุขภาพ
๔.๒.๑ หลักการสิทธิมนุษยชน
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทาง
เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International
Covenant on Economics, Social and Cultural
Rights: ICESCR) ที่ประเทศไทยเป็นภาคี ข้อ ๑๒ ก�าหนด
ให้รัฐภาคีรับรองสิทธิของทุกคนที่จะมีสุขภาพกายและ
สุขภาพจิตตามมาตรฐานสูงสุดที่เป็นไปได้ โดยมีขั้นตอน
ในการด�าเนินการเพื่อบรรลุผลในการท�าให้สิทธิเป็นจริง
อย่างสมบรูณ์ อาทิ การลดอัตราการตายของทารก
ก่อนคลอดและของเด็กแรกเกิด การพัฒนาสุขภาพ
ของเด็ก การปรับปรุงสุขลักษณะทางสิ่งแวดล้อมและ สถานการณ์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
อุตสาหกรรม การป้องกัน การรักษา และการควบคุมโรคระบาด ตลอดจนโรคจากการประกอบอาชีพและโรคอื่น ๆ รวมถึง
การสร้างหลักประกันการบริการทางการแพทย์ และการดูแลรักษาพยาบาลแก่ทุกคนในกรณีที่เจ็บป่วย
นอกจากนี้ คณะกรรมการประจ�ากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ได้มีข้อสังเกตทั่วไป
(General Comment) เกี่ยวกับสิทธิด้านสุขภาพตามมาตรฐานสูงสุดที่เป็นไปได้ คือ “มาตรฐานสูงสุดที่สามารถบรรลุได้
ด้านสุขภาพ (the highest attainable standard of health)” โดยสิทธิด้านสุขภาพมิได้ถูกจ�ากัดเป็นเพียงสิทธิในการ บทที่
รักษาพยาบาลเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่หลากหลายอันจะส่งเสริมสภาวะการมีสุขภาพที่ดี ๔
ของประชาชน และขยายไปถึงปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ (health determinants) ซึ่งได้แก่ อาหารและโภชนาการ ที่อยู่อาศัย
การเข้าถึงน�้าดื่มที่สะอาดและปลอดภัย และการสุขาภิบาลที่เหมาะสม สภาพการท�างานที่ปลอดภัยและถูกสุขอนามัย รวมถึง
สิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ และในมิติของสิทธิด้านสุขภาพยังประกอบด้วยเสรีภาพ (freedom) ในการควบคุมสุขภาพและ
ร่างกาย รวมถึงสิทธิต่าง ๆ อันพึงได้รับ (entitlements) ในการคุ้มครองด้านสุขภาพอย่างเท่าเทียมกัน โดยมีการให้ความหมาย
ของสิทธิด้านสุขภาพ (right to health) คือ สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขที่เหมาะสมกับเวลา โดยครอบคลุมไปถึงปัจจัย
ที่มีผลต่อสุขภาพ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายด้านสาธารณสุขทั้งในระดับชุมชน ประเทศ
และระหว่างประเทศ โดยสิทธิด้านสุขภาพนั้น มีองค์ประกอบที่ส�าคัญ ๔ ประการ คือ ความมีอยู่ (availability) โดยรัฐมีหน้าที่
ในการจัดให้บริการอย่างเพียงพอ ตามระดับการพัฒนาประเทศของตน การเข้าถึงได้ (accessibility) โดยให้ทุกคนได้เข้าถึง
การบริการด้านสาธารณสุขโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ การยอมรับได้ (acceptability) การบริการด้านสาธารณสุขที่เหมาะ
สมกับวัฒนธรรม และคุณภาพ (quality) ของการบริการด้านสาธารณสุขที่ดีและมีความเหมาะสมทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 111 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙