Page 110 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 110

ขนาดเล็กจ�านวน ๑๐,๙๗๑ แห่งทั่วประเทศในสังกัดส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยอาจควบรวมบางส่วนหรือ
            ทั้งโรงเรียนก็ได้ และเร่งบริหารจัดการให้มีครูครบทุกชั้นเรียน และมีจ�านวนนักเรียนต่อห้องที่เหมาะสม ส�าหรับโรงเรียนขนาดเล็ก

            ที่มีที่ตั้งสภาพภูมิศาสตร์เป็นข้อจ�ากัด ได้แก่ โรงเรียนพื้นที่พิเศษ ห่างไกล พื้นที่สูงหรือเกาะ ๓๓๖ แห่ง และโรงเรียนที่มีระยะห่าง
            จากโรงเรียนใกล้เคียงเกิน ๖ กิโลเมตร ๓,๒๙๕ แห่ง ยังให้คงในสภาพเดิมไปก่อน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ
                                 ๑๕๙
            โรงเรียนขนาดเล็กให้ดีขึ้น  นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้ใช้วิธีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยเทคโนโลยีทางไกล
            ผ่านดาวเทียม (Digital Learning Television: DLTV) แทนการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก หรือโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล และ
            โรงเรียนที่ขาดแคลนครู จ�านวน ๑๕,๓๖๙ แห่ง ส�าหรับโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่ จ�านวน ๑๕,๕๕๓ แห่ง

            กระทรวงศึกษาธิการยังได้พัฒนาคุณภาพทางการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Distance Learning Information
            Technology: DLIT) และให้เครือข่ายอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ๙ แห่ง ทั่วประเทศ ประกอบด้วย ภาคเหนือตอนบน /ตอนล่าง
            ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน/ตอนล่าง ภาคกลางตอนบน/ตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน/ตอนล่าง ซึ่ง

            โครงการการใช้เครือข่ายอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเป็นหนึ่งในนโยบายส�าคัญเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการในการส่งเสริมพัฒนา
            ศักยภาพการสอนของครู ในปี ๒๕๕๙ มีโรงเรียนสังกัดส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จ�านวน ๑๐,๙๔๗ แห่ง
            เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ๑๖๐


                     กรณีความเหลื่อมล�้าในการเข้าถึงสิทธิในการศึกษา

            โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเยาวชนที่เปราะบาง อาทิ เด็กเยาวชนที่มี
            เชื้อเอชไอวี หรือสงสัยว่ามีเชื้อเอชไอวี พบว่า ในเดือน มกราคม
            ๒๕๖๐ คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขโรคเอดส์

            ได้ประกาศนโยบายการไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้มีเชื้อเอชไอวี
            ในการสมัคร การคัดเลือก และการเรียนต่อในสถานศึกษา                                                         สถานการณ์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
            โดยก�าหนดว่า นโยบายและแนวปฏิบัติของสถานศึกษา
            ต้องไม่เป็นการกีดกันและการเลือกปฏิบัติต่อผู้มีเชื้อเอชไอวี
            หรือสงสัยว่ามีเชื้อเอชไอวี และห้ามเรียกร้องหรือบังคับให้มีการ

            ตรวจหาการติดเชื้อหรือ อ้างการมีเชื้อเอชไอวีเป็นเงื่อนไขในการ
                      ๑๖๑
            รับเข้าเรียน  นอกจากนี้ เพื่อมิให้กลุ่มเด็กที่มีความต้องการ
            จ�าเป็นพิเศษ ประกอบด้วย เด็กที่มีความสามารถพิเศษ เด็กพิการ                                             บทที่

            และเด็กด้อยโอกาส รวมทั้งสิ้น ๓๔๑,๐๐๐ คน ถูกรอนสิทธิ                                                     ๔
            ทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้จัดการศึกษาในรูปแบบ
            โรงเรียนเฉพาะ ๔๘ แห่งให้กับเด็ก ๑๕,๐๐๐ คน รูปแบบ
            การเรียนรวมให้กับเด็กจ�านวน ๓๐๐,๐๐๐ คน และ ศูนย์การเรียน
            ๗๗ แห่งให้กับเด็กจ�านวน ๑๕,๐๐๐ คน รวมทั้งสิ้น ๓๔๑,๐๐๐

            คน รวมถึงได้พยายามในการจัดการแก้ปัญหาเด็กด้อยโอกาส
            ซึ่งต้องออกจากโรงเรียนกลางคันและเด็กตกหล่น โดยมีโครงการจะจัดท�าฐานข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาเด็กออกกลางคัน
            และเด็กตกหล่นอย่างเป็นระบบ โดยบูรณการฐานข้อมูลกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และฐานข้อมูลคณะกรรมการ

            ศึกษาธิการจังหวัดเพื่อที่จะประเมินจ�านวนเด็กกลุ่มนี้ ๑๖๒




                     ๑๕๙  จาก เอาจริง สพฐ.ชงควบ ร.ร.เล็กรวม ๑๐,๙๗๑ โรง ปี’๕๙-๖๐ เร่งท�าความเข้าใจ ‘พ่อแม่-ชุมชน’, ๒๕๕๙ สืบค้นจาก http://www.matichon.co.th/news/164424
                     ๑๖๐  แหล่งเดิม.
                     ๑๖๑  ประกาศคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ เรื่อง นโยบายการไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้มีเชื้อเอชไอวี ในการสมัคร การคัดเลือก และการเรียน
            หรือศึกษาต่อในสถานศึกษา ลงวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๐
                     ๑๖๒  จาก เอาจริง สพฐ.ชงควบ ร.ร.เล็กรวม ๑๐,๙๗๑ โรง ปี’๕๙-๖๐ เร่งท�าความเข้าใจ ‘พ่อแม่-ชุมชน’, งานเดิม.


                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  109  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115