Page 111 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 111

นอกจากนี้ สถานการณ์เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งท�าให้
        อาจลดโอกาสในการเข้าถึงสิทธิในการศึกษาของรัฐ ข้อมูลจากกรมการปกครอง พบว่า มีเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยจ�านวนประมาณ

        ๘๐,๐๐๐ คน ที่ศึกษาอยู่ในสถานศึกษาทั่วประเทศ และเมื่อตรวจสอบคุณสมบัติแล้ว พบว่าอาจจะได้รับสัญชาติไทยตาม
        กฎหมายสัญชาติได้ถึง ๒๐,๐๐๐ คน ซึ่งได้มายื่นค�าร้องขอมีสัญชาติไทยแล้วจ�านวน ๙,๒๗๒ คน และได้รับอนุมัติสัญชาติถึง
                  ๑๖๓
        ๕,๗๒๘ คน กระทรวงศึกษาธิการได้ประสานกับกระทรวงมหาดไทยเพื่อท�าบัตรประจ�าตัวให้กับเด็กและเยาวชนกลุ่มดังกล่าว
        เพื่อให้เข้าถึงสิทธิในการศึกษาของรัฐได้ โดยมีตัวอย่างกรณี “แม่สอดโมเดล” ซึ่งส�านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
        (สพป.) ตาก เขต ๒ พร้อมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดตาก ได้ด�าเนินการท�าบัตรประจ�าตัวให้กับเด็กและเยาวชน

        ข้ามชาติและไร้สัญชาติ ซึ่งเป็นนักเรียนในโรงเรียนเอกชนพื้นที่อ�าเภอแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อน�าไปขออนุมัติงบประมาณ
        สนับสนุนด้านการศึกษาจากส�านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) เพื่อให้เด็กและเยาวชนกลุ่มดังกล่าวได้
        เข้าถึงสิทธิในการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่มีค่าใช้จ่ายอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่คนทุกคนในประเทศไทยพึงจะได้รับ นอกจากนี้
                                                                                                  ๑๖๔
        กระทรวงมหาดไทยได้แก้ไขปัญหานักเรียนในระบบและนอกระบบที่ไม่มีสัญชาติหรือสถานะทางทะเบียน เพื่อให้เด็กและ
        เยาวชนเหล่านั้นเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานต่าง ๆ ได้ โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๙ ได้อนุมัติข้อเสนอ
        ของกระทรวงมหาดไทยในการแก้ไขปัญหาเรื่องสัญชาติและสถานะบุคคลของเด็กนักเรียนนักศึกษาและบุคคลไร้สัญชาติที่เกิด
        ในประเทศไทย โดยอนุมัติให้เด็กและบุคคลไร้สัญชาติที่เกิดในประเทศไทยโดยมีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าวอื่นที่ไม่ใช่ชนกลุ่มน้อย
        หรือกลุ่มชาติพันธุ์ หรือไม่ปรากฏบิดามารดาเข้ามาอยู่ในประเทศไทยไม่น้อยกว่า ๑๕ ปี และก�าลังศึกษาเล่าเรียนในสถาบัน

        การศึกษา หรือส�าเร็จการศึกษาโดยเฉพาะระดับปริญญาตรีแล้วสามารถที่จะขอสัญชาติไทยเป็นการทั่วไปได้ ๑๖๕


        ๔.๑.๔ การประเมินสถานการณ์

                 สถานการณ์ด้านสิทธิทางการศึกษาโดยรวมแล้ว อาจกล่าวได้ว่า รัฐได้มีนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ในการประกัน
        การเข้าถึงสิทธิทางการศึกษาภาคบังคับโดยไม่มีค่าใช้จ่ายขั้นพื้นฐาน และมีความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะด�าเนินการเพื่อ
        บรรลุสิทธิทางการศึกษาโดยล�าดับ ซึ่งสอดคล้องกับข้อ ๑๓ ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ
        วัฒนธรรม (International Covenant on Economics, Social and Cultural Rights- ICESCR) โดยในปี ๒๕๕๙ รัฐได้มีการ
        ด�าเนินการให้เกิดความก้าวหน้าในสิทธิทางการศึกษาที่ส�าคัญหลายประการ อาทิ

                    รัฐสนับสนุนงบประมาณด้านการศึกษา คิดเป็นร้อยละ ๒๐ ของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดอย่างต่อเนื่อง
        มาเป็นระยะเวลา ๑๐ ปี ซึ่งการลงทุนด้านการศึกษาของประเทศไทย คิดเป็นร้อยละ ๔.๑ ต่อจ�านวนผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน
        ประเทศ (Gross Domestic Product: GDP)

                    รัฐประกันการเข้าถึงการศึกษาภาคบังคับโดยไม่มีการเก็บค่าใช้จ่าย และมีการพัฒนาการเข้าถึงสิทธิทางศึกษา
        โดยขยายให้ครอบคลุมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๕ ปี
                    รัฐมีนโยบายในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในระดับภูมิภาค โดยค�านึงถึงการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม
                    รัฐได้ก�าหนดมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อประกันคุณภาพของสถานศึกษา
                    รัฐสนับสนุนโดยเพิ่มงบประมาณให้กับเด็กและเยาวชนที่ยากจนในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา

        ตอนต้นและปลาย และโรงเรียนขนาดเล็กในการจัดการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล�้าอันเนื่องจากปัจจัยการเข้าถึงทางกายภาพ
        และทางเศรษฐกิจ
                    รัฐแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๑ เพื่อลดข้อจ�ากัดการเข้าถึงกองทุนกู้ยืมเพื่อการ

        ศึกษาโดยไม่จ�ากัดเฉพาะเยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์เท่านั้น แต่ได้เพิ่มโอกาสให้เยาวชนที่เรียนดีอีกด้วย รวมทั้งเด็กที่ต้องการศึกษา
        สาขาวิชาขาดแคลนหรือสาขาที่เป็นความต้องการเพื่อพัฒนาประเทศ ได้เข้าถึงสิทธิทางการศึกษาในขั้นอุดมศึกษาหรือขั้นวิชาชีพมากขึ้น

                 ๑๖๓  จาก รัฐบาลสั่งเร่งให้สัญชาติเด็กที่เข้าเกณฑ์ ลดเหลื่อมล�้าเข้าสิทธิรัฐสวัสดิการ, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://www.thaitribune.org/contents/detail/304?content_
        id=21855&rand=1484147999
                 ๑๖๔  จาก แม่สอดโมเดล: ทางการมอบบัตรประจ�าตัว เพื่อสิทธิทางการศึกษาของเยาวชนข้ามชาติในไทย, โดย บีบีซี, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก https://www.facebook.com/
        BBCThai/posts/1756397447914621
                 ๑๖๕  จาก แพร่ทางการมติครม.! บุตรหลานต่างด้าว เกิดไทยเกิน ๑๕ ปี-จบป.ตรี ขอสัญชาติได้, โดย อิสรานิวส์, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://www.isranews.org/
        isranews-news/item/52373-newsooooo.html

                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  110  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116