Page 109 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 109
ในกรุงเทพมหานคร และในภูมิภาคแต่อย่างใด แต่กลับพบว่า สถานศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีจ�านวนครู
๑๕๐
๕๑ คนต่อหนึ่งแห่ง ในขณะที่สถานศึกษาในภูมิภาค มีจ�านวนครู ๑๖ คนต่อหนึ่งแห่ง ซึ่งเป็นสัดส่วนที่แตกต่างกันถึง ๓ เท่า
นอกจากนี้ ยังพบว่า การศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนสังกัดส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับประถมศึกษา
และระดับมัธยมศึกษา พบว่า มีอัตราเฉลี่ยนักเรียน ๑๗ คน และ ๒๐ คนต่อครูหนึ่งคน ตามล�าดับ ครึ่งหนึ่งของโรงเรียนประถม
เป็นโรงเรียนขนาดเล็กซึ่งมีนักเรียนน้อยกว่า ๑๒๐ คนซึ่งเฉลี่ยมีครูไม่ครบทุกห้องเรียน และมีเด็กนักเรียนร้อยละ ๒๐
๑๕๑
ของเด็กประถมทั้งหมด
นอกจากนี้ สานักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีนโยบายส่งเสริมการเรียน
การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยมีการเพิ่มชั่วโมงเรียน
๑๕๒
วิชาภาษาอังกฤษของชั้นประถมศึกษาตอนต้นเป็นสัปดาห์ละ
๕ ชั่วโมง ซึ่งคาดว่าจะเริ่มน�าร่องกับโรงเรียนกว่า ๒๐,๐๐๐
แห่งทั่วประเทศในภาคเรียนที่ ๒ ของปีการศึกษา ๒๕๕๙
และมีการปรับหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนให้
๑๕๓
เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยกระทรวงศึกษาธิการยังได้พัฒนา
๑๕๔
แอพพลิเคชั่น Echo English เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อดังกล่าวได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งนี้
เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ
ในปี ๒๕๕๙ มีการเสนอขอแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๑ โดยต่อมาในเดือนมกราคม
๑๕๕
๒๕๖๐ มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยผลของพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว
ท�าให้นักเรียน นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือศึกษาสาขาวิชาที่เป็นความต้องการเพื่อพัฒนาประเทศ หรือศึกษา
๑๕๖
สาขาขาดแคลน หรือเป็นนักเรียนที่เรียนดี เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสิทธิในการศึกษามากขึ้น เมื่อเทียบกับพระราชบัญญัติ
ฉบับปี ๒๕๔๑ ที่สนับสนุนการกู้ยืมในกรณีนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์เท่านั้น ๑๕๗ แต่อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติ
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๑ และ พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้สิทธิในการกู้ยืมกับนักเรียนนักศึกษาผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้น
การลดความเหลื่อมล�้าในการเข้าถึงสิทธิทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้ลดความเหลื่อมล�้าในการเข้าถึง
สิทธิในการศึกษาอันเนื่องจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจ โดยเพิ่มการสนับสนุนให้เด็กยากจนในระดับประถมศึกษาและระดับ
มัธยมศึกษา คนละ ๕๐๐ บาทต่อปี และ ๓,๐๐๐ บาทต่อปี ตามล�าดับ และปัจจัยด้านกายภาพ โดยสนับสนุนนักเรียนใน
โรงเรียนขนาดเล็กในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น อีกปีละ ๕๐๐ บาท และ ๑,๐๐๐ บาท ต่อคน แต่อย่างไรก็ดี
๑๕๘
การสนับสนุนโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการเพิ่มโอกาสการเข้าถึง
การศึกษาและลดความเหลื่อมล�้าในปัจจัยการเข้าถึงทางกายภาพได้ แต่อาจน�าไปสู่ความเหลื่อล�้าในคุณภาพการศึกษาได้
ดังนั้น คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้ก�าหนดนโยบายในการบริหารจัดการโรงเรียน
๑๕๐ จาก สถิติการศึกษาประจ�าปี ๒๕๕๘ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ (ตารางที่ ๑) (น. ๓๒), โดย ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ส�านักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
๑๕๑ จาก ตารางที่ ๖ จ�านวนโรงเรียน นักเรียน ครู และห้องเรียน จ�าแนกตามจ�านวนนักเรียนสังกัดส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา ๒๕๕๔
– ๒๕๕๘, โดย กระทรวงการพัฒนาและสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://m-ociety.go.th/more_news.phd?cid=72
๑๕๒ นโยบายส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙
๑๕๓ จาก สพฐ. สั่งเพิ่มชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษชั้น ป.๑-๓ จาก ๑ คาบ เป็น ๕ คาบต่อสัปดาห์ เริ่มภาคเรียนที่ ๒/๒๕๕๙, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://www.thaitribune.org/
contents/detail/305?content_id=21793&rand=1469676071
๑๕๔ จาก Echo English พร้อมให้ดาวน์โหลดแล้ว, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=44747&Key=news_act
๑๕๕ จาก กฎหมายใหม่ กยศ. เพิ่มอัตราดอกเบี้ย-หักเงินเดือนช�าระหนี้-เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวผู้กู้, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก https://ilaw.or.th/node/4355
๑๕๖ พระราชบัญญัติกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๖
๑๕๗ พระราชบัญญัติกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๔๕
๑๕๘ จาก การประชุมการวิจัยและพัฒนาการวิจัยตามนโยบาย ของ ศธ. และ สพฐ., งานเดิม.
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 108 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙