Page 108 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 108
เกิดการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค และให้มี
ส�านักงานศึกษาธิการภาค จ�านวน ๑๘ ภาค เพื่อก�าหนดยุทธศาสตร์และนโยบายของกระทรวงศึกษาในการปฏิรูปการศึกษา
ให้เชื่อมโยงกันทั้งประเทศอย่างมีเอกภาพ รวมถึงให้มีผู้แทนท้องถิ่นจากภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูป
๑๔๖
การศึกษาในพื้นที่ของตนเองอีก ต่อมา ในเดือนมิถุนายน ๒๕๕๙ ยังมีประกาศ ค�าสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ ๒๘/๒๕๕๙
เรื่อง ให้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๕ ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งผลของค�าสั่งดังกล่าวท�าให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงสิทธิทาง
การศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๖ หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
(ปวช. ๓) หรือเทียบเท่า รวมถึงการศึกษาพิเศษและการศึกษาสงเคราะห์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ๑๔๗
ในส่วนของการประกันคุณภาพของสถานศึกษา
ในเดือนตุลาคม ๒๕๕๙ กระทรวงศึกษาธิการได้ ออกประกาศ
กระทรวงศึกษาธิการ ฉบับลงวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ เรื่อง
ให้ใช้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพ
ภายในของสถานศึกษา และยกเลิกประกาศฉบับลงวันที่
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ โดยประกาศฉบับดังกล่าว ให้สถานศึกษา
เปิดเผยผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
ในรายงานประจ�าปีและเผยแพร่ต่อสาธารณชน และใช้กับ
สถานศึกษาที่เปิดสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกสังกัด
โดยมีการก�าหนดมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน จ�านวน ๔ มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานคุณภาพของผู้เรียน มาตรฐานกระบวนการ
บริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา มาตรฐานกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นส�าคัญ และ
มาตรฐานระบบประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล ซึ่งมาตรฐานการศึกษาโดยมาตรฐานเหล่านี้จะน�าไปใช้เป็นเกณฑ์ สถานการณ์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
ในการประเมินคุณภาพรอบที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๓)
ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ลงทุนด้านงบประมาณเกี่ยวกับการศึกษาถึงร้อยละ ๒๐ ของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดเป็นเวลา ๑๐ ปี
๑๔๘
อย่างต่อเนื่อง โดยในปี ๒๕๕๙ รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณด้านการศึกษาเป็นเงิน ๕๕๒,๙๑๑.๖ ล้านบาท จากงบประมาณ
รายจ่ายทั้งหมด ๒,๗๒๐,๐๐๐ ล้านบาท ให้กับกระทรวงศึกษาธิการ คิดเป็นร้อยละ ๒๐.๓ ของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด
ซึ่งการลงทุนด้านการศึกษาของประเทศไทยคิดเป็นร้อยละ ๔.๑ ต่อจ�านวนผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic บทที่
Product: GDP) โดยรัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายรายหัวส�าหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๒ ปี โดยระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา ๔
มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ในอัตราปีละ ๒,๘๓๐ บาท ๓,๖๓๐ บาท ๕,๙๗๑ บาท และ
๕,๗๙๑ บาท ตามล�าดับ นอกจากนี้ จากข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า ภาพรวมปีการศึกษา ๒๕๕๘ อัตราส่วน
๑๔๙
จ�านวนนักเรียน นักศึกษา ต่อครู คือ ๒๐ ต่อ ๑ คน และไม่พบความแตกต่างในอัตราส่วนจ�านวนนักเรียน นักศึกษาต่อครู
๑๔๖ ค�าสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐/๒๕๕๙ ณ วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๙ แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวง
ศึกษาธิการในภูมิภาค ซึ่งมีอ�านาจหน้าที่หลักในการก�าหนดทิศทางในการด�าเนินงาน วางแผนงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของและพิจารณาการจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วย
งานของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคหรือจังหวัด รวมถึงให้มีคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด ในแต่ละจังหวัดซึ่งมีองค์ประกอบของผู้แทนท้องถิ่นจากภาคประชาสังคมเข้า
มามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในพื้นที่ของตน ทั้งนี้ เพื่อการขับเคลื่อนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศ และค�าสั่งหัวหน้า
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑/๒๕๕๙ ณ วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ให้มีส�านักงานศึกษาธิการภาค จ�านวน ๑๘ ภาค สังกัดส�านักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ
เพื่อขับเคลื่อนการศึกษาในระดับภาค และจังหวัด โดยมีอ�านาจหน้าที่หลักในการก�าหนดยุทธศาสตร์และบทบาทการพัฒนาให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ นโยบายและ
ยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ ประสานการบริหารงานระหว่างราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้เกิดการพัฒนาอย่างบูรณการ ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาและ
การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาในภูมิภาคมีเอกภาพ และสามารถประสานเชื่อมโยงและบูรณาการภารกิจในเรื่องการศึกษาของประเทศ
๑๔๗ เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๙ ค�าสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๒๘/๒๕๕๙ เรื่อง ให้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๕ ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
๑๔๘ จาก สถิติการศึกษาของประเทศไทยปีการศึกษา ๒๕๕๗ – ๒๕๕๘, เล่มเดิม.
๑๔๙ จาก การประชุมการวิจัยและพัฒนาการวิจัยตามนโยบาย ของ ศธ. และ สพฐ. เมื่อวันที่ ๑๓ - ๑๕ ก.ค.๒๕๕๙ ณ โรงแรมแกรนด์ไชน่า กรุงเทพฯ, โดย ดร.พิธาน
พื้นทอง, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก https://sites.google.com/a/esdc.go.th/sesao3/home/khawsar-wngkar-suksa/srupnyobaysakhaykhxngkrathrwngsuksathikarpi 2560
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 107 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙