Page 107 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 107

และอายุ ๑๕ - ๒๔ ปี มีอัตราการรู้หนังสือร้อยละ ๙๔
                                                                               ๑๓๙
                                                           และ ๙๘.๑ ตามล�าดับ  และยังสอดคล้องกับอัตราการ
                                                           อ่านออกเขียนได้ ซึ่งพบว่า เยาวชนอายุ ๑๕ - ๒๔ ปี มีอัตราการ
                                                           อ่านออกเขียนได้ร้อยละ ๙๖.๓๔ ๑๔๐


                                                                    อย่างไรก็ตาม ยังพบว่ามีเด็กและเยาวชนกลุ่ม
                                                           เปราะบาง เช่น เด็กที่อยู่อาศัยในชนบท เด็กที่ติดตามแรงงาน

                                                           ข้ามชาติและเด็กไร้สัญชาติ ยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธิทางการศึกษา
        ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนทุกคนในประเทศ โดยพบว่า ร้อยละ ๓๘ ของเด็กในชนบท และร้อยละ ๗๘ ของเด็กที่เป็นลูกหลาน
        แรงงานข้ามชาติ ไม่รู้หนังสือและการค�านวณขั้นพื้นฐาน ทั้ง ๆ ที่มีนโยบายของรัฐในการจัดการศึกษาให้กับกลุ่มคนที่ไม่มีหลักฐานทาง

        ทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทยเช่นเดียวกับเด็กไทยก็ตาม  นอกจากนี้ ยังพบว่ามีเด็กอพยพ (Migrant Children) ประมาณ
                                                       ๑๔๑
        สองแสนคนที่อยู่นอกระบบการศึกษาไทย หรือมากกว่าร้อยละ ๖๐ ของเด็กอพยพที่อาศัยในประเทศไทย โดยมีเพียงร้อยละ
        ๓๔ ของเด็กอพยพเท่านั้นที่เข้าถึงสิทธิในทางศึกษาของรัฐ และร้อยละ ๓๐ ของเด็กเยาวชนที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย
        ยังไม่สามารถอ่านหนังสือได้ แม้จะเรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ ๒ เนื่องจากการขาดข้อมูลการศึกษาและระบบสารสนเทศ
        ที่มีประสิทธิภาพ ๑๔๒



        ๔.๑.๓ สถานการณ์ปี ๒๕๕๙
                 กระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายเร่งด่วนที่จะท�าให้

        เด็กทุกคนเข้าถึงการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพและเท่าเทียมกัน
        โดยได้วางแนวทางการปฏิรูปการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพ
        การศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลที่ดีขึ้น  โดย
                                                   ๑๔๓
        ภาพรวมเกี่ยวกับการเข้าถึงสิทธิทางการศึกษาของประเทศไทย
        ในปี ๒๕๕๙ มีประชากรในวัยเรียนกลุ่มอายุระหว่าง ๓ - ๒๑ ปี

        จ�านวนประมาณ ๑๐ ล้านคน คิดเป็นร้อยละ ๑๕ ของประชากร
        ทั้งหมด ซึ่งเมื่อจ�าแนกแล้วประกอบด้วย ประชากรกลุ่มอายุ
        ระหว่าง ๓ - ๑๗ ปี จ�านวนประมาณ ๙.๗ ล้านคน คิดเป็นร้อยละ

        ๑๔.๕ ของประชากรทั้งหมด  ซึ่งประชากรกลุ่มดังกล่าวนี้
                                ๑๔๔
        จะต้องเข้าถึงสิทธิในการศึกษาโดยได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
        ไม่น้อยกว่า ๑๒ ปีจากรัฐโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ๑๔๕


                 การจัดการการศึกษาเพื่อให้เด็กและเยาวชนทั้งประเทศเข้าถึงการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ในเดือนมีนาคม ๒๕๕๙

        มีค�าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๑๐/๒๕๕๙ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
        ในภูมิภาค และที่ ๑๑/๒๕๕๙ เรื่อง การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ซึ่งผลของค�าสั่งทั้งสองฉบับท�าให้



                 ๑๓๙  From Global Education Digest 2012, by UIS, 2011, retrieved from http://stat-ed.onecapps.org/StatDetail.aspx?MenuID=10&SubID=3&MainID=1
                 ๑๔๐  จาก สถิติทางการศึกษา ส�านักงานสถิติแห่งชาติ อัตราการอ่านออกเขียนได้, สืบค้นจาก http://164.115.22.198/statv2/bipage/Education.html
                 ๑๔๑  ยุทธศาสตร์และการด�าเนินงานปี ๒๕๕๙ - ๒๕๖๑ องค์กรช่วยเหลือเด็กประจ�าประเทศไทย การศึกษา หน้า ๓
                 ๑๔๒  จดหมายถึงเพื่อนสมาชิก ฉบับที่ ๒๐๙ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙ ส�านักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน
                 ๑๔๓  จาก ข่าวส�านักงานรัฐมนตรี ๓๒๔/๒๕๕๙ การประชุมชี้แจงนโยบายการปฏิรูปการศึกษา, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก   http://www.moe.go.th/2016/aug/324.html
                 ๑๔๔  หน้า ๑๐๙ ตารางที่ ๖๘ สถิติการศึกษาของประเทศไทย ปีการศึกษา ๒๕๕๗ - ๒๕๕๘ ส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ หน้า ๑๐๙ ตาราง
        ที่ ๖๘ จ�านวนประชากรของประเทศไทยจ�าแนกตามรายอายุและเพศ พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๖๓
                 ๑๔๕  มาตรา ๔ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ประกอบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และมาตรา ๑๐
        พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และ(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓


                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  106  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112